The
Effect of Seat Height on Maximal Oxygen Uptake (VO2 max) during
Bicycil Ergometer Work
พิสิษฐ์
ตัณมุขยกุล
จักรกริช
กล้าผจญ
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Pisith
Tanmukayakul
Jakkrit
Klaphajone
Department
of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiangmai University
วัตถุประสงค์ : ศึกษาเพื่อดูผลของการปรับความสูงของเบาะนั่งของจักรยานวัดงานที่มีผลต่อค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด
โดยถีบจักรยานวัดงานตามวิธีของ Per-o-lof Astrand
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้เข้ารับการทดสอบ 12 คนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 14-17
ปี
วิธีการ :
1. กำหนดความสูงของเบาะนั่งที่เหมาะสม
(เข่างอ 20-30 องศาขณะถีบบันไดจักรยานลงสุด)
สำหรับผู้เข้ารับการทดสอบ 12 คนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 14-17
ปี
2. วัดสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด
โดยถีบจักรยานวัดงาน CATEYE ตามวิธีของ Per-o-lof
Astrand ที่ความสูง 3 ระดับ ได้แก่
ที่ความสูงปกติ ที่ความสูงเพิ่มและลดจากปกติ 4.6 ซม. (2
ช่องของระยะปรับเบาะนั่ง)
3. เปรียบเทียบค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดโดยใช้ค่าสถิติ
one-way repeated ANOVA
ผลการศึกษา :
1. ผู้เข้ารับการทดสอบมีความยาวของขา
(วัดจาก ischial tuberosity ถึง ส้นเท้า) เท่ากับ 71.0±3.7
เซนติเมตร ใช้ความสูงปกติของเบาะนั่งเท่ากับ 65.4±2.1 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 92.2±2.5 ของความยาวขา
2. ค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด
(VO2 max) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการทดสอบที่ความสูงของเบาะนั่งเพิ่มขึ้น
(37.5±7.1 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที), ที่ความสูงปกติ (37.5±6.2
มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที) และที่ความสูงของเบาะนั่งลดลง (38.8±8.6
มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.64)
เมื่อวัดด้วยวิธีของ per-o-lof Astrand
Credit : เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2543; ปีที่10
ฉบับ 1 หน้า 37-41