วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2555




  1. สุนิสา ชายเกลี้ยง, พีรพงษ์ จันทราเทพ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และ รุ้งทิทย์ พันธุเมธากุล. (2555). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 24(1),97-109.
  2. รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วัณทนา ศิริธาราธิวัตร, ยอดชาย บุญประกอบ, วิชัย อึงพินิจพงศ์, และ มณเฑียร พันธุเมธากุล. (2554). ความชุกของภาวะความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในชาวนา : กรณีศึกษาตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 23(3), 297-303.
  3. เพชรรัตน์ แก้วดวงดี, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, ยอดชาย บุญประกอบ, สาวิตรี วันเพ็ญ, และ วัณทนา ศิริธาราธิวัตร. (2553). ความชุกของความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดขอนแก่น. เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 22(3), 292-301.

ความชุกและปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู


Prevalence and ergonomic risk factors of low back pain among solid waste collectors of local administrative organizations in Nong Bua Lam
Phu province.
สุนิสา ชายเกลี้ยง1,4*, พีรพงษ์ จันทราเทพ2, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ3, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล4
Sunisa Chaiklieng1,4* , Peerapong Juntratep2 , Pornnapa Suggaravetsiri3 , Rungthip Puntumetakul4

1ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม และ 3ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์
2กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู
4กลุ่มวิจัยปวดหลัง ปวดคอ และปวดข้ออื่นๆ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*ผู้รับผิดชอบบทความ
1Department of Environmental Health Sciences and 3Department of Epidemiology Faculty of Public Health,
2Naklang municipality, Naklang district, Nong Bua Lam Phu Province.
4Back, Neck and Joint Pain Research Group, Khon Kaen University
*Corresponding author: (e-mail: csunis@kku.ac.th)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของการปวดหลังและปัจจัยเสี่ยงที่มีสัมพันธ์ กับการปวดหลังในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู

กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภูจำนวน 160 คน

วิธีการ : เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน สถิติเชิงพรรณนาใช้อธิบายคุณลักษณะทั่วไปของประชากร การทำงาน และความชุก สถิติเชิงอนุมานใช้วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปวดหลังส่วนล่างคือ Chi-squared test และ Multiple logistic regression analysis นำเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Odds ratio (OR) และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95 % CI) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัย : พบความชุกของการปวดหลังส่วนล่างในรอบ 7 วันที่ผ่านมาและในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 62.50 (95% CI = 54.51 – 70.01) และร้อยละ 77.50 (95% CI = 70.23 – 83.71) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์แบบพหุลอจิสติก พบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) คือ อายุการทำงานตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป (OR = 3.37, 95 % CI =1.11 – 10.17) การไม่หยุดพักระหว่างปฏิบัติงาน (OR = 10.19, 95 % CI = 3.09 – 33.55) จำนวนครั้งที่ยกมากกว่า 150 ครั้งต่อวัน (OR = 5.14,95 % CI = 1.54 – 17.05) การทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ (OR = 5.10, 95 % CI = 1.53 – 16.96) และการประคองถังขยะระหว่างยกห่างลำตัว (OR = 3.07, 95 % CI = 1.04 – 9.06) พบปัจจัยเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงาน
เสนอแนะ : จึงให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการปรับปรุงลักษณะการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ในการทำงานของพนักงาน การอบรมพนักงานด้านท่าทางการยกและเคลื่อนย้ายถังขยะที่ถูกวิธีและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่พนักงาน เพื่อป้องกันการปวดหลังส่วนล่างที่เกิดจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะต่อไป

คำสำคัญ: ความชุก, การปวดหลังส่วนล่าง, พนักงานเก็บขนขยะ, การยศาสตร์


Creditวารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 • มกราคม-เมษายน 2555

วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ตั้งแต่ปี 2553-2556



  1. องุ่น สังขพงศ์, กลางเดือน โพชนา และ วรพล เอื้อสุจริตวงศ์.(2556). การปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่า: กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปอาหารทะเลแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 23(3),654-663
  2. ชนัดดา เพ็ชรประยูรชูศรี เลิศรัตน์เดชากุล และ นนทิรัตน์ พัฒนภักดี. (2554). ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยของรัฐวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(1), 157-166.
  3. รัทพล จิตตะวิกุล และ ศจีมาจ ณ วิเชียร. (2553). การรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานและความสัมพันธ์กับหัวหน้างานที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 20(3), 562-570.

การปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิด ความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่า: กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปอาหารทะเลแห่งหนึ่ง

Workstation Improvement for Risk Reduction of Muscular Fatigue Among Production Workers in Tuna Manufacturing Process: A Case Study of a Seafood Processing Factory

องุ่น สังขพงศ์1* กลางเดือน โพชนา1 และ วรพล เอื้อสุจริตวงศ์2
Angoon Sungkhapong1* Klangduen Pochana2 and Worapon Auesujaridwong2

1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2 นักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
* ผู้นิพนธ์ประสานงาน โทรศัพท์ 0-7428-7111 อีเมล: angoon.s@psu.ac.th
1 Assistant Professor, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University.
2 Student, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University.
* Corresponding Author, Tel. 0-7428-7111, E-mail: angoon.s@psu.ac.th

วัตถุประสงค์ : เพื่อปรับปรุงสภาพการปฏิบัติงานในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลาจากกระบวนการผลิตปลาทูน่าเพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงาน

วิธีการ :
1) การสำรวจอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงานของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่าด้วยแบบสำรวจสุขภาพเบื้องต้น
2) การวัดขนาดสัดส่วนร่างกายของแรงงาน
3) การประเมินผลกระทบทางกายภาพต่อร่างกายในสภาพการปฏิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุงเพื่อเปรียบเทียบผลทางสถิติด้วยคะแนนท่าทางการทำงานด้วย RULA แรงกดและแรงเฉือนต่อหมอนรองกระดูก L5/S1 และค่าสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อด้วย EMG

ผลการศึกษา : ผลสำรวจสุขภาพแรงงานซึ่งพบว่าแรงงานในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลาเกิดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 92 โดยตำแหน่งบนร่างกายซึ่งเกิดอาการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ ตำแหน่งหัวไหล่ซ้ายและขวาตำแหน่งสะโพก ตำแหน่งหลังส่วนล่างและตำแหน่งขาส่วนล่างซ้ายและขวาหลัง
จากนำเสนอแนวทางปรับปรุงสภาพการ ปฏิบัติงานในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลาเป็นการปฏิบัติงานแบบงานนั่งด้วยการสร้างเก้าอี้และชั้นวางถาด พร้อมกับประเมินผลกระทบทางกายภาพต่อร่างกายของแรงงานในสภาพการปฏิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุง ซึ่งพบว่าคะแนนการประเมิน ท่าทางการทำงานด้วย RULA มีคะแนนเฉลี่ยลดลง ผลการวิเคราะห์แรงกดและแรงเฉือนตรงบริเวณหมอนรองกระดูก L5/S1 นั้นมีค่าของแรงกดและแรงเฉือนลดลง
สุดท้ายคือ ผลการประเมิน ค่าสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อด้วยค่าความถี่เฉลี่ยของกล้ามเนื้อ Erector Spinae กล้ามเนื้อTrapezius และกล้ามเนื้อ Anterior Deltoid นั้นพบว่าค่าความถี่เฉลี่ยของกลุ่มกล้ามเนื้อทั้งหมดในสภาพการปฏิบัติงานหลังปรับปรุงมีค่าน้อยกว่า สภาพการปฏิบัติงานก่อนปรับปรุงและเมื่อประเมินผลอัตราผลิตภาพ พบว่าอัตราผลิตภาพในสภาพการปฏิบัติงานหลังปรับปรุงเพิ่มขึ้น 1.17 กิโลกรัมต่อคน-วัน โดยมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 6 เดือน

สรุป : การปรับปรุงสภาพการปฏิบัติงานแบบงานนั่งด้วยการสร้างเก้าอี้และชั้นวางถาด สามารถลดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของแรงงานอีกทั้งเพิ่มผลผลิตด้วย

คำสำคัญ : อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล EMGความเมื่อยล้าจากการทำงาน  สถานีทำงานชีวกลศาสตร์

Creditวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 ก.ย. - ธ.ค. 2556

วารสารสาธารณสุข มข.

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2554



สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และ เบญจา มุกต. (2553). การประเมินภาวะเสี่ยงของการปวดไหล่จากการทำงานของบุคลากรในสำนักงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น3(1)1-10.

ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก กรณีศึกษา นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Prevalence and Related Factors Affecting Musculoskeletal Disorders
(MSDs) in Notebook Computer Users: A case study of Engineering
Students, Prince of Songkla University, Hat Yai Campus
กลางเดือน โพชนา* องุ่น สังขพงศ์*
Klangduen Pochana* Angoon Sungkhapong*
* ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
* Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University


วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (MSDs) และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการ MSDs ของกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

กลุ่มตัวอย่าง : นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 316 คน
วิธีการ : การสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะการใช้งาน และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยวิธี Chi-Square และ Odds ratio

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 69 และเพศหญิง ร้อยละ 31 อายุ 20.7+0.95 ปี ส่วนสูง 168.4+8.2 ซม. น้ำหนัก 61.5+11.9 กก. ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในช่วงเวลากลางคืน (ร้อยละ 92.4) ระหว่างการใช้งานไม่ใช้แป้นพิมพ์ต่อพ่วง (ร้อยละ 66.5) ไม่ใช้ที่พักเท้า (ร้อยละ 86.1) และ ไม่ใช้ที่รองข้อมือ(ร้อยละ 58.5) อย่างไรก็ตามพบว่าส่วนใหญ่ใช้เม้าส์ต่อพ่วงภายนอก (ร้อยละ 75.6) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.5 มีอาการปวดเมื่อยบางส่วนของร่างกาย โดยพบว่ามีอาการปวดเมื่อยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ คอ (52.2%, 95% CI: 46.8-57.8), หลังส่วนล่าง (39.9%, 95% CI: 34.5-45.3) และ ไหล่ (32.6%, 95% CI: 27.5-37.8)
ผลของการศึกษาพบว่า ปัจจัยเพศ ช่วงเวลาที่ใช้งาน การใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกและ ขนาดของหน้าจอมีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกายของผู้ใช้งาน โดยพบปัจจัยที่สำคัญได้แก่ ผู้ที่ใช้งานโน้ตบุ๊กในตอนกลางคืนจะมีความเสี่ยงในการปวดเมื่อยโดยรวม มากกว่าผู้ใช้งานกลางวัน ถึง 2.53 เท่าและมีความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนบน มากกว่า ผู้ใช้งานกลางวัน ถึง 8.53 เท่า

เสนอแนะ : จากผลของการศึกษาสามารถเสนอแนะได้ว่าผู้ใช้งานควรลดเวลาการใช้งานในช่วงกลางคืนควรมีการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น แป้นพิมพ์ เม้าส์ เป็นต้น และควรเลือกใช้โน้ตบุ๊กที่มีขนาดเหมาะสมจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้ใช้ได้

คำสำคัญ: ความชุก อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2557; 44(2): 162-173

ที่มา : http://www.ph.mahidol.ac.th/journal/44_2/index.html

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2557

  1. กลางเดือน โพชนา และ องุ่น สังขพงศ์. (2557). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก กรณีศึกษา นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(2), 162-173.
  2. เหมือนแพร รัตนศิริ , วราภรณ์ เสถียรนพเก้า , รัชดา เกษมทรัพย์ และ มธุรส ทิพยมงคลกุล. (2556). รูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์และความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในนักเรียนหญิงมัธยมศึกษา ปีที่ 4-6. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(1), 17-29.
  3. ถาวร มาต้น และ ปัทมา สุพรรณกุล. (2555). ผลของโครงการคนไทยไร้พุงต่อการลดค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่างวารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(3), 83-94.
  4. บุรัสกร เตจ๊ะมา, สุคนธา คงศีล, สมชาติ โตรักษา และ กิติพงษ์ หาญเจริญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั้นแนล. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(2).
  5. อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์, สุรินธร กลัมพากร และ สุนีย์ ละกำปั่น. (2555). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิต และความพึงพอใจในงานของพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(1),5-17.
  6. ประกายเพชร สุภะเกษสุธรรม นันทมงคลชัย และ มัณฑนา ดำรงศักดิ์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาสาธารณสุขศาสตร์, 42(1), 66-77.
  7. นิพนธ์ เสริมพาณิชย์. (2554). ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในผู้สูงอายุ เขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(2),199-204.
  8. ไชยนันต์ แท่งทองสรา อาภรณ์ และ สุพัตรา ละอองนวล. (2554). การสำรวจอันจรายต่อสุขภาพจากการประกอบอาชีพช่างทำเล็บในตำบลบ้านเลือก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีวารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(1), 59-66.
  9. พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุลสิริกุล พิพิธแสงจันทร์ดุสิต สุจิรารัตน์ และ พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์. (2554). การประเมินการออกแบบภายในรถพยาบาลฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเครือข่ายโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่งวารสารสาธารณสุขศาสตร์, 40(3), 209-218.
  10. ถาวร มาต้น. (2553). โรคอ้วนภัยคุกคามสุขภาพคนไทยวารสารสาธารณสุขศาสตร์, 40(3), 356-365.
  11. สมชาย สุขอารีย์ชัย. (2553). ความชุกของกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในบุคลากรโรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรีวารสารสาธารณสุขศาสตร์, 40(2), 194-204.




วารสารวิจัย มข.

ตั้งแต่งปี 2555-2557

  1. ณัชยา แซ่เจิ้น, กลางเดือน โพชนา และ องุ่น สังขพงศ์. (2557). ความชุกและปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง: กรณีศึกษา สถานีขนส่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัย มข., 19(1), 107-118.
  2. รัชติญา นิธิธรรมธาดา, สุนิสา ชายเกลี้ยง, และ รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. (2556). ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของทันตบุคลากรในสถานบริการของรัฐ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข.18(5)869-879.
  3. นภานันท์ ดวงพรม, และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2556). การรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข.18(5)880-891.
  4. วิวัฒน์ สังฆะบุตร, และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2556).ความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในแรงงานนอกระบบกลุ่มดัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยกอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข., 13(1), 135-44.
  5. สุนิสา ชายเกลี้ยง, วัชรากร เรียบร้อย , และ รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. (2555). ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บซ้ำซากในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัย มข.17(2)325-337.