วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Work load evaluation of the school bag carrying of primary students based on biomechanical approach

Sutharin Suvarnaho and Phairoat ladavichitkul
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 Thailand
Tel. (662)218-6814

E-mail: jay_roung@hotmail.com

วัตถุประสงค์ :
The first objective of this research is to find the relationship between the primary student strength and their body weight.
The second objective is to evaluate the school bag carrying task based on a biomechanical static model.

วิธีการ :
This workload was evaluated based on a biomechanical static model. 346 primary students (178 boys and 168 girls) aged between 6 to 12 years old were recruited voluntarily for the research. Average school bags weight was 11.76% of the body weight (BW).

ผลการศึกษา :
The results showed that the body weight is not significantly relate to the body strength (R<0.5), then student weight should not be used as an indicator to set safe of the school bag weight. The compressive force on the lower back while carrying the school bag was about 18% of maximum voluntary compressive force on the lower back calculated from the composite strength test.

Credit : RESEARCH AND DEVELOPMENT JOURNAL VOLUME 23 NO.2, 2012
            วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การประเมินการทำงานขณะใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในการวิเคราะห์งานทางการยศาสตร์โดยใช้ RULA

Ergonomics risk assessment using RULA method during computer notebook  operation

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินท่าทางในการทำงานขณะนั่งทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา

วิธีวิเคราะห์ :
1. ใช้เทคนิค Rapid Upper Limb Assessment (RULA) ทำการประเมินการทำงานขณะใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 50 คน
2. ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการอธิบายวัตถุประสงค์ของงานวิจัยและจะได้รับการประเมินท่าทางขณะนั่งทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาด้วยเทคนิค RULA
3. ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางในการนั่งทำงาน และปรับปรุงสถานีงานคอมพิวเตอร์แบบพกพาให้เหมาะสม
4. ผู้เข้าร่วมวิจัย จะได้รับการประเมินท่าทางขณะนั่งทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

ผลการศึกษา :
ก่อนการให้คำแนะนำและแก้ไขปรับปรุงสถานีงาน ผู้เข้าร่วมวิจัย มีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนจากการประเมินด้วยเทคนิค RULAอยู่ในระดับที่ 3 (4.70 ± 1.21 คะแนน) หมายถึงงานนั้นเริ่มเป็นปัญหาควรทำการศึกษาเพิ่มเติมและรีบดำเนินการปรับปรุงลักษณะงานดังกล่าว
เมื่อได้รับคำแนะนำและแก้ไขปรับปรุงสถานีงานพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัย มีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนหลังจากได้รับการประเมินด้วยเทคนิค RULAอยู่ในระดับที่ 2 (2.96 ± 0.35 คะแนน )
แสดงว่าภายหลังจากได้รับคำแนะนำและปรับปรุงสถานีงานผู้เข้าร่วมวิจัยมีลักษณะท่าทางขณะปฏิบัติงานอยู่ในท่าที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น สถานีงานมีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : Rapid Upper Limb Assessment, การยศาสตร์, การวิเคราะห์งาน

Credit : ศิริวรรณ ศรีทอง ,ทิวาพร แก้วโบราณ, เบญจมาศ วาสพนม, ปริศนา ยิ่งยืน, ฝนทิพย์ ดีวัน, อรรถพล พนอมศาสตร์, โครงการวิจัยภาคนิพนธ์ ,คณะกายภาพบำบัด  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555.

เก้าอี้การยศาสตร์

Ergonomic Chair

นงค์นุช กลิ่นพิกุล
Nongnuch Klinpikul
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Lecture, Program in Industrail Product Design, Faculty of Scince and Technology, Rajamunagala Krungthep University
Corresponing author E-mail: nongnuch.k@rmutk.ac.th

วัตถุประสงค์ : ศึกษาแนวโน้มการออกแบบเก้าอี้ที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคโดยพิจารณาสุขภาพความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงาน

เนื้อหา :
1) ความรู้ทั่วไปและประโยชน์ของเก้าอี้การยศาสตร์
2) สาเหตุที่ต้องมีการออกแบบเก้าอี้การยศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคคือการนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้องหรือนั่งโค้งงอเป็นเวลานานๆโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถซึ่งจะนำไปสู่อาการปวดหลังไหล่และคอการปวดหลังเกิดจากการที่กระดูกสันหลังเกิดการกดทับเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดแรงดันภายในกระดูกสันหลังเมื่อเจลระหว่างข้อต่อถูกกดทับเวลานานๆ ก็จะนำไปสู่การเสื่อมของกระดูกสันหลังตามมา
3) การออกแบบและพัฒนาที่มุ่งเน้นในเรื่องของการตอบสนองความต้องการและ ปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้บริโภคในเรื่องสุขภาพความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงานโดยการออกแบบเก้าอี้การยศาสตร์ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้ให้มีความสะดวกสบายในการใช้งานซึ่งในการออกแบบผลิตภัณฑ์ควรแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยนำหลักการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการออกแบบและผลิต

คำสำคัญ : การออกแบบและพัฒนา, เก้าอี้การยศาสตร์, การปวดหลัง

Credit : วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2555 – มีนาคม 2556

การลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานด้วยหลักพฤติกรรมความปลอดภัย กรณีศึกษา โรงงานผลิตอะไหล่และประกอบนาฬิกา

Reduction of Risk Behavior for Operators by Using Behavior Based Safety (BBS) Technique: A Case Study of Watch-Part Manufacturing and Assembly Factory

ศิริพร เข็มทอง สิทธิพร พิมพ์สกุล

สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วัตถุประสงค์ : เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ด้วยหลักพฤติกรรมความปลอดภัยในแผนกประกอบชิ้นส่วนย่อยของโรงงานผลิตอะไหล่และประกอบนาฬิกา

กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานที่ปฏิบัติงานในแผนกซึ่งมีจำนวน 43 คน

วิธีการ :
1. งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงานอย่างปลอดภัย
2. นำหลักพฤติกรรมความปลอดภัยมาใช้กับพนักงานในแผนกดังกล่าว
3. หัวหน้างานและตัวแทนแผนกจะดำเนินการกำหนดพฤติกรรมปลอดภัยเป้าหมายโดยพิจารณาจากตัวเลขประเมินลำดับก่อนหลังของความเสี่ยง
4. ผู้วิจัยได้ทำการฝึกอบรมเรื่องหลักพฤติกรรมความปลอดภัย การสังเกตพฤติกรรมปลอดภัยเป้าหมาย และการดำเนินงานและการติดตามผลให้แก่หัวหน้างานและตัวแทนแผนก

ผลการศึกษา :
พนักงานในแผนกตัวอย่างสามารถปฏิบัติตามพฤติกรรมปลอดภัยเป้าหมาย เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ครบ 100% ภายใน 14 สัปดาห์
ผลการประเมินจากแบบสอบถามเพื่อวัดระดับทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงานอย่างปลอดภัยของพนักงานพบว่าอยู่ในระดับดีโดยมีการปรับปรุงจาก 83.7% เป็น 100.0% และ 69.8% เป็น 100.0% ตามลำดับ

คำสำคัญ : หลักพฤติกรรมความปลอดภัย, ตัวเลขประเมินลำดับก่อนหลังของความเสี่ยง, อุบัติเหตุ, ทัศนคติ, พฤติกรรม

Credit : วิศวสารลาดกระบัง ปีที่ 28 ฉบับ ที่ 1 มีนาคม 2554

การบาดเจ็บซ้ำซากในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี

Repetitive Strain Injuries among Workers of the Stone Sculpture Industry, Chonburi Province

วัชรากร เรียบร้อย (1) และสุนิสา ชายเกลี้ยง (2)
Watcharakorn Riabroi (1) and Sunisa Chaiklieng (2)
 (1) ผู้นิพนธ์หลัก : นักศึกษาหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (โทรศัพท์ : 081-1693883 , E-mail address: riabroi.w@hotmail.com)
(2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น
(1) Corresponding author : Master student of Faculty of Public Health, Khon Kaen University
(Tel.081‐1693883 , E‐mail address : riabroi.w@hotmail.com)

(2) Assistant Professor, Department of Environmental Health Science, Faculty of Public Health, Khon Kaen University

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราความชุกและความรุนแรงของ RSIs ในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี จำนวน 82 คน

กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี จำนวน 82 คน

การเก็บข้อมูล : โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสังเกตการณ์ทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายคุณลักษณะประชากร และสภาพแวดล้อมการทำงาน และแสดงค่าอัตราความชุกกับช่วงความเชื่อมั่นที่ 95%

ผลการวิจัย :
1. พนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหินส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 64.6 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 40.2 (Mean=40.8, S.D.=8.8) อายุการทำงาน 6-10 ปี ร้อยละ 32.9 (Median=14, Min=1, Max=40)
2. ด้านลักษณะงาน : พบว่า ส่วนใหญ่เป็นงานทำครก (ร้อยละ 79.3) และปฏิบัติงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน ร้อยละ 79.3 (Median=8, Min=8, Max=12)
3. ด้านสภาพแวดล้อม : พบว่า ระดับหน้างานต่ำกว่าข้อศอก (ร้อยละ 78.1) ทำงานซ้ำซาก (ร้อยละ 85.4) ต้องใช้สายตาเพ่งชิ้นงาน (ร้อยละ 87.8) โดยพบว่า มีสิ่งแวดล้อมการทำงาน คือ ฝุ่นละออง/สารเคมี และอากาศร้อนอบอ้าว แสงสว่างไม่เพียงพอ และสัมผัสแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องมือ คือ ค้อน และเครื่องเจียร ร้อยละ 96.3 และร้อยละ 65.9 ตามลำดับ โดยน้ำหนักหินที่ยกเฉลี่ยต่อครั้ง >10 กิโลกรัม ร้อยละ 47.9 ( Median=9, Min=3, Max=20)
4. ความชุกของ RSIs :
พิจารณาทุกตำแหน่ง ในรอบ 7 วัน และ 6 เดือน ที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 37.8 (95%CI=27.32–49.19) และร้อยละ 51.2 (95%CI=39.92– 62.42) ตามลำดับ
ตำแหน่งที่มีระดับความชุกของ RSIs สูงสุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 26.2) มือ/ข้อมือ (ร้อยละ 20.2) และไหล่ (ร้อยละ 13.7)
โดยตำแหน่งที่มีอาการ ปวดรุนแรงตั้งแต่ระดับมากขึ้นไปสูงสุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 19.5) รองลงมามือ/ข้อมือ (ร้อยละ 11.0) และแขนท่อนบน (ร้อยละ 7.3)
ส่วนความถี่ของการมีอาการปวดตั้งแต่บ่อยครั้งขึ้นไปสูงสุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่าง รองลงมามือ/ข้อมือ และ ไหล่ ร้อยละ 31.7, 17.1 และ 9.8 ตามลำดับ

คำสำคัญ: การบาดเจ็บซ้ำซาก, พนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน, ความชุก

Credit : วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน ธันวาคม 2554

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

Factors Related to Computer Game Addiction among Elementary School Students

ประกายเพชร สุภะเกษ* สุธรรม นันทมงคลชัย** มัณฑนา ดำรงศักดิ์ *
Prakaipetch Supaket* Sutham Nanthamongkolchai** Mantana Damrongsak*
* กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* Department of Community Health Nursing, Faculty of Nursing, Thammasat University.
** Department of Family Health, Faculty of Public Health, Mahidol Unversity

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน256 คน

การเก็บข้อมูล : การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำแนกตามโรงเรียนและระดับชั้น เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบทดสอบการติดเกม ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2554

วิธีวิเคราะห์ : โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยแบบโลจีสติก

ผลการศึกษา :
1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาติดเกมคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 52.7
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ การคล้อยตามกลุ่มเพื่อน สัมพันธภาพในครอบครัว และการเห็นคุณค่าในตนเอง
3. โดยตัวอย่างที่มีการคล้อยตามกลุ่มเพื่อนมากมีโอกาสที่จะติดเกมคอมพิวเตอร์เป็น 2.44 เท่า ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการคล้อยตามกลุ่มเพื่อนน้อย
4. กลุ่มตัวอย่างที่มีสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดีมีโอกาสที่จะติดเกมคอมพิวเตอร์มากขึ้น 0.56 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีสัมพันธภาพในครอบครัวดี
5. กลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ มีโอกาสที่จะติดเกมคอมพิวเตอร์มากขึ้น 0.35 เท่า ของกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูง

ข้อเสนอแนะ : ให้ครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วม สังเกตการเล่นคอมพิวเตอร์ของนักเรียนเพื่อป้องกันการติดเกมคอมพิวเตอร์ มีการติดตามทำความรู้จักกับเพื่อนของนักเรียน เสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองรวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว เพื่อนำไปสู่การดูแลเรื่องการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อไป

คำสำคัญ: การติดเกมคอมพิวเตอร์, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง/การคล้อยตามกลุ่มเพื่อน, สัมพันธภาพในครอบครัว, นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2555)


การประเมินการออกแบบภายในรถพยาบาลฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเครือข่ายโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่ง

An Assessment of Ambulance Interior Design for Safety Work in a Provincial Hospital Network

พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล* สิริกุล พิพิธแสงจันทร์**
ดุสิต สุจิรารัตน์*** พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์****
Pipat Luksamijarulkul* Sirikun Pipitsangjan**
Dusit Sujirarat*** Pisit Vatanasomboon****
* ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
** โรงพยาบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
*** ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
**** ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* Department of Microbiology, Faculty of Public Health, Mahidol University .
** Surin Hospital, Amphoe Maeng, Surin Province .
*** Department of Epidemiology, Faculty of Public Health, Mahidol University

**** Department of Environmental Health Science, Faculty of Public Health, Mahidol University

วัตถุประสงค์ : ประเมินความเหมาะสมของการออกแบบภายในรถและความพร้อมของอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน

วิธีการ : 
  1. ประเมินความเหมาะสมของการออกแบบภายในรถและความพร้อมของอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน จำนวน 47 คัน ของโรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่งและโรงพยาบาลเครือข่าย 
  2. สัมภาษณ์บุคลากรที่ปฏิบัติงานจำนวน 35 คน ถึงความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการออกแบบภายในรถ 
  3. ติดตามสังเกตในขณะที่มีการปฏิบัติการจริงจำนวน 30 คันๆ ละ 1 เที่ยวรอบวิ่ง

 ผลการศึกษา :
ร้อยละ 74.5 เป็นรถพยาบาลฉุกเฉินรุ่นใหม่ มีส่วนกั้นแยกช่วงหน้าห้องคนขับรถออกจากช่วงหลังซึ่งจัดเป็นห้องพยาบาลรวมทั้งช่องหน้าต่างที่เปิดเลื่อนได้เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ร้อยละ 83 มีระบบระบายอากาศไฟฟ้า
ร้อยละ 93.6 มีตู้เก็บอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่มิดชิด
ร้อยละ 97.9 มีเตียงผู้ป่วยแบบมีล้อเลื่อน
ร้อยละ 91.5 มีเวชภัณฑ์ยาอย่างพอเพียงแต่มากกว่า
ร้อยละ 50 ยังขาดอุปกรณ์กู้ภัยฉุกเฉินประจำในรถ
-เมื่อพิจารณาถึงอุปกรณ์มาตรฐานเพื่อการป้องกันการติดเชื้อและการบาดเจ็บในขณะปฏิบัติงาน พบว่า ร้อยละ 25.5 มีอุปกรณ์ป้องกันตา ร้อยละ 53.2 มีอุปกรณ์สำหรับรัดเพื่อความปลอดภัยขณะรถวิ่งหรือหยุดกะทันหัน
-ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรที่ปฏิบัติงาน พบว่า ร้อยละ 80 มีความเห็นด้วยกับการมีส่วนกั้นแยกระหว่างส่วนคนขับกับส่วนผู้ป่วย ร้อยละ 91.4 มีความเห็นว่าในส่วนผู้ป่วยควรสามารถรองรับผู้ป่วยและบุคลากรได้อย่างน้อย 3 คน เป็นต้น
-ข้อมูลจากการสังเกตขณะปฏิบัติงาน พบว่า รถพยาบาลฉุกเฉินเกือบทุกคัน (27/30 คัน) ภาชนะใส่ของมีคมและถังขยะติดเชื้อไม่มีการติดตั้งที่มั่นคง อาจทำให้เกิดอันตรายได้รถทุกคันผู้ปฏิบัติงานไม่มีการเปิดระบบระบายอากาศและไม่ได้ปรับอุณหภูมิภายในรถตามเกณฑ์

ข้อเสนอแนะ : ควรมีการปรับปรุงการออกแบบภายในรถพยาบาลฉุกเฉินให้มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานนอกจากนี้ต้องมีการดูแลและการเตรียมความพร้อมการใช้รถเพื่อความปลอดภัยและการลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานด้วย

คำสำคัญ: รถพยาบาลฉุกเฉิน, การออกแบบภายในรถ, ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน, การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2554; 41(3): 209 – 218

ความชุกของกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในบุคลากรโรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี

Prevalence of Metabolic Syndrome in personnel at Royal Irrigation Hospital, Nonthaburi Province

สมชาย สุขอารีย์ชัย*
Somchai Sukareechai*

*แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ประจำโรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของกลุ่มอาการอ้วนลงพุง หรือภาวะ Metabolic syndrome ในบุคลากรโรงพยาบาลที่มารับการตรวจสุขภาพประจำปี

การเก็บข้อมูล : เก็บข้อมูลในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 ที่โรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี บุคลากรที่มารับการตรวจสุขภาพประจำปี จำนวนทั้งสิ้น 719 คน สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ 474 คน คิดเป็นร้อยละ 65.92

วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติไค-สแควร์

ผลการศึกษา :
อัตราความชุกของกลุ่มอาการอ้วนลงพุงมีค่าร้อยละ 15.2 เพศหญิง มีอัตราความชุกมากกว่าเพศชายเล็กน้อย (ร้อยละ 15.4 เทียบกับ 14.1)
เมื่อแบ่งบุคลากรโรงพยาบาลเป็นกลุ่มพยาบาลและกลุ่มที่ไม่ใช่พยาบาล พบว่า กลุ่มที่ไม่ใช่พยาบาล มีอัตราความชุกร้อยละ 17.5 ซึ่งมากกว่ากลุ่มพยาบาลที่มีอัตราความชุกเพียงร้อยละ 9.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระยะ 0.05 ดังนั้น

ข้อเสนอแนะ : ควรเร่งให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการเกิดกลุ่มอาการอ้วนลงพุง การป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุง ผลเสียที่ตามมาของกลุ่มอาการอ้วนลงพุง ตลอดจนถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและป้องกันการเกิดกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในบุคลากรโรงพยาบาลชลประทานต่อไป

คำสำคัญ : ความชุก, กลุ่มอาการอ้วนลงพุง, บุคลากรโรงพยาบาล

Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ประจำเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2553 ปีที่ 40 ฉบับที่ 2

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล

Factors Effected to the Quality of Work Life among Staff at Bumrungrad International Hospital

บุรัสกร เตจ๊ะมาสุคนธา คงศีล**  สมชาติ โตรักษา**  กิติพงษ์ หาญเจริญ***
Burassakorn Tajama* Sukhontha KongsinÛ** Somchart Torugsa** Kitiphong Harncharoen***
* นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการบริหารโรงพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์
และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
** ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
*** ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* Graduate Student in Master of Science (Public Health) major in Hospital Administration, Faculty of
Public Health and Faculty of Graduate Studies, Mahidol University
** Department of Public Health Administration, Faculty of Public Health, Mahidol University
*** Department of Epidemiology, Faculty of Public Health, Mahidol University

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะงานวัฒนธรรมองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล

กลุ่มตัวอย่าง : คือพนักงานระดับปฏิบัติการจำนวน 252 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบมีระบบโดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่แทนที่ ใช้แบบสอบถาม

การเก็บข้อมูล : เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม ได้คืนมาร้อยละ 94.44

วิธีวิเคราะห์ : สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะงาน บรรยากาศองค์การ และคุณภาพชีวิตการทำงานโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัย :
1. พนักงานมีระดับคุณภาพชีวิตและคุณลักษณะงานอยู่ในระดับปานกลาง
2. บรรยากาศองค์การอยู่ในระดับมาก
3. คุณลักษณะงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อเสนอแนะ : ผู้บริหารควรพิจารณาสนับสนุนปัจจัยต่าง ๆโดยการให้รางวัลเมื่อพนักงานปฏิบัติงานได้ดีและส่งเสริมให้พนักงานมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการมีระดับที่สูงขึ้น

คำสำคัญ : คุณภาพชีวิตการทำงาน, คุณลักษณะงาน, บรรยากาศองค์การ

Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่42 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2555)

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิต และความพึงพอใจในงานของพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่

Psychosocial Work Environment Factors Relating to Psychological Health Problems and Job Satisfaction of Thai Workers in large-sized Garment Factories

อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์ * สุรินธร กลัมพากร** สุนีย์ ละกำปั่น**
Aporntip Buapetch* Surintorn Kalampakorn** Sunee Lagampan**
* ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
** ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* Department of Public Health Nursing, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University (Hat Yai Campus)

** Department of Public Health Nursing, Faculty of Public Health, Mahidol University

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตและความพึงพอใจในงาน โดยใช้กรอบแนวคิดการทุ่มเทในการทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล

กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานที่ทำงานเต็มเวลา โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 417 คน จากโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่ 3 แห่ง ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครสมุทรปราการ และสมุทรสาคร

การเก็บข้อมูล : โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง

ผลการวิจัย :
1) กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดทางจิตใจจนเกิดอาการเจ็บป่วยทางกาย ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับเสี่ยงและระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 24.9, 23.7, และ 18.2 ตามลำดับ และมีความพึงพอใจในงานในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 39.0
2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ พบว่า ผลตอบแทนจากงานเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดปัญหาสุขภาพจิตทั้งหมด และความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปัจจัยด้านจิตสังคมในการทำงานทุกตัวแปร (การทุ่มเทในการทำงาน ผลตอบแทนจากงาน และความมุ่งมั่นที่มากเกินไปต่องานที่รับผิดชอบ) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการเกิดภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อเสนอแนะ : บุคลากรที่ร่วมรับผิดชอบดูแลสุขภาพของพนักงานควรตระหนักและคำนึงถึงการจัดให้พนักงานได้รับผลตอบแทนจากการทำงานในรูปแบบต่างๆ โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ

คำสำคัญ: ปัญหาสุขภาพจิต , ความพึงพอใจในงาน,แนวคิดการทุ่มเทในการทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล

Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2555)


ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองของเกษตรกรสวนยางพารา

Factors Affecting Self-care among Rubber Farmers

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ตั้ม บุญรอด
คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
Bhunyabhadh Chaimay, Tum Boonrod
Faculty of Health and Sports Science, Thaksin University


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองของเกษตรกรสวนยางพารา ในตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

การเก็บข้อมูล : เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 ราย แบบสัมภาษณ์ได้รับตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้เท่ากับ 0.805

วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพหุคูณถดถอยเชิงเส้น

ผลการวิจัย :
การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมีผลในเชิงบวกต่อการดูแลสุขภาพตนเอง (5.39; 95%CI: 0.10 ถึง 10.67)
ประวัติการได้รับอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพสวนยางพารามีผลในเชิงลบต่อการดูแลสุขภาพตนเอง (-6.29; 95%CI: -11.17 ถึง -1.41)
ประวัติการได้รับความรู้ การฝึกอบรมมีผลในเชิงลบต่อการดูแลสุขภาพตนเอง (-9.66; 95%CI: -16.41ถึง -2.92)

ข้อเสนอแนะ : ควรมีการให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยเฉพาะในเกษตรสวนยางพาราที่มีการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองให้เพิ่มมากขึ้น

คำสำคัญ : การดูแลสุขภาพตนเอง อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เกษตรกรสวนยางพารา

Credit : วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2555

ที่มา : http://digital_collect.lib.buu.ac.th/ojs/index.php/health/issue/view/357

การรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานและความสัมพันธ์กับหัวหน้างานที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ

Perceptions of Safety in Working and Relationship with Supervisor Affecting Work Happiness of Operational Employees

รัทพล จิตตะวิกุล1 และ ศจีมาจ ณ วิเชียร2*
1 นักศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 อาจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

* ผู้นิพนธ์ประสาน โทรศัพท์ 0-2913-2500 ต่อ 2705 Email: sageemas@gmail.com

วัตถุประสงค์ :
1) ศึกษาระดับการรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานความสัมพันธ์ต่อหัวหน้างาน และความสุขในการทำงานของพนักงาน
2) เปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
3) เปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานจำแนกตามการรับรู้ความปลอดภัยในการทำงาน
4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ต่อหัวหน้างานกับความสุขในการทำงานของพนักงานและ
5) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานกับความสัมพันธ์ต่อหัวหน้างานที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน

กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานบริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส จำกัด (มหาชน) และบริษัท มหาจักร เกียวโด จำกัด จำนวน 223 คน

การเก็บข้อมูล : แบบสอบถาม

วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย : พบว่า
-พนักงานมีการรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานระดับสูง ความสัมพันธ์ต่อหัวหน้างานและความสุขในการทำงานระดับปานกลาง
-พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอายุการทำงานแตกต่างกัน มีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน
-พนักงานที่มีการรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานต่างกัน มีความสุขในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
-ความสัมพันธ์ต่อหัวหน้างาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
-ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานกับความสัมพันธ์ต่อหัวหน้างานที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน
คำสำคัญ: การรับรู้ความปลอดภัยในการทำงาน ความสัมพันธ์ต่อหัวหน้างาน ความสุขในการทำงาน

Credit : วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 ก.ย. - ธ.ค. 2553

ที่มา : http://www.journal.kmutnb.ac.th

การลดอาการปวดหลังส่วนล่างของพนักงานสาวผ้า : กรณีศึกษาโรงงานย้อมผ้าถักตัวอย่าง


วัตถุประสงค์ : เพื่อลดระดับอาการปวดหลังอันเนื่องมาจากการทำงานของพนักงานในโรงงานย้อมผ้าถักตัวอย่าง

การเก็บข้อมูล : ใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์พนักงานในแผนกต่างๆ

วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ 3 ตัวแปร คือ RULA, EMG และแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1

ผลการศึกษา : พนักงานที่มีอาการปวดหลังส่วนใหญ่มาจากแผนกโกดังผ้าดิบ และมีค่าดัชนีความไม่ปกติ (AI) สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ คือมีค่าเฉลี่ย 3.4 ซึ่งหมายถึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข จากนั้นสุ่มตัวอย่างพนักงานในแผนกโกดังผ้าดิบ 5 คน มาทำการวิเคราะห์ 3 ตัวแปร คือ RULA, EMG และแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 ในขณะทำงานปกติ คือยกม้วนผ้าหนัก 40 กก.
-คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 7
-การวิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ(EMG) ได้ค่าเฉลี่ยของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างด้านซ้ายและขวาคือ 91.4 และ 90.4 μV.ตามลำดับ คิดเป็น 68.8% และ 59.1% ของสัญญาณไฟฟ้าสูงสุดของกล้ามเนื้อ ตามลำดับ
-การคำนวณค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 ได้ค่าสูงสุดเท่ากับ 6,025.5 N.
ซึ่งเกินขีดจำกัดของความปลอดภัย มีสาเหตุมาจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมจำเป็นต้องปรับปรุงการทำงานโดยการใช้โต๊ะปรับระดับทำการทดลอง 2 วิธี คือ
(1) ให้อาสาสมัครดึงม้วนผ้าออกจากพาลเล็ทแทนการก้มยก
(2) ให้อาสาสมัครดึงม้วนผ้าออกจากพาลเล็ทและใช้แผ่นพลาสติกรองระหว่างม้วนผ้า
ผลการทดลองวิธีแรกได้สัญญาณ EMG ที่กล้ามเนื้อทั้งสองเฉลี่ยคือ 77.0 และ 75.0 μV.ตามลำดับ คิดเป็น 58.2% และ 49.1% ตามลำดับ คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6 ค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 มากที่สุดเท่ากับ 5,835.9 N.
ผลการทดลองวิธีหลังได้สัญญาณ EMGที่กล้ามเนื้อทั้งสองเฉลี่ย คือ 47.4 และ 41.2 μV. ตามลำดับ คิดเป็น 34.9% และ 27.8%ตามลำดับ คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6 ค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 มากสุดเท่ากับ3,748.8 N.
จากข้อมูลดังกล่าวสรุปได้ว่า การเปลี่ยนท่าทางการทำงานใหม่และนำแผ่นพลาสติกมารองระหว่างม้วนผ้าทำให้ทุกปัจจัยที่พิจารณามีค่าลดลง

คำสำคัญ : สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG), หมอนรองกระดูก L5/S1, RULA

Credit : นางสาวนิธิดา จิรโชคนุเคราะห์ ,วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2549

การศึกษาผลของการปรับความสูงของเบาะนั่งของรถจักรยานวัดงานที่มีต่อการวัดค่าสมรรถภาพ การใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max)

The Effect of Seat Height on Maximal Oxygen Uptake (VO2 max) during Bicycil Ergometer Work

พิสิษฐ์ ตัณมุขยกุล
จักรกริช กล้าผจญ
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Pisith Tanmukayakul
Jakkrit Klaphajone

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiangmai University

วัตถุประสงค์ : ศึกษาเพื่อดูผลของการปรับความสูงของเบาะนั่งของจักรยานวัดงานที่มีผลต่อค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด โดยถีบจักรยานวัดงานตามวิธีของ Per-o-lof Astrand

กลุ่มตัวอย่าง : ผู้เข้ารับการทดสอบ 12 คนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 14-17 ปี

วิธีการ :
1. กำหนดความสูงของเบาะนั่งที่เหมาะสม (เข่างอ 20-30 องศาขณะถีบบันไดจักรยานลงสุด) สำหรับผู้เข้ารับการทดสอบ 12 คนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 14-17 ปี
2. วัดสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด โดยถีบจักรยานวัดงาน CATEYE ตามวิธีของ Per-o-lof Astrand ที่ความสูง 3 ระดับ ได้แก่ ที่ความสูงปกติ ที่ความสูงเพิ่มและลดจากปกติ 4.6 ซม. (2 ช่องของระยะปรับเบาะนั่ง)
3. เปรียบเทียบค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดโดยใช้ค่าสถิติ one-way repeated ANOVA

ผลการศึกษา :
1. ผู้เข้ารับการทดสอบมีความยาวของขา (วัดจาก ischial tuberosity ถึง ส้นเท้า) เท่ากับ 71.0±3.7 เซนติเมตร ใช้ความสูงปกติของเบาะนั่งเท่ากับ 65.4±2.1 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 92.2±2.5 ของความยาวขา
2. ค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการทดสอบที่ความสูงของเบาะนั่งเพิ่มขึ้น (37.5±7.1 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที), ที่ความสูงปกติ (37.5±6.2 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที) และที่ความสูงของเบาะนั่งลดลง (38.8±8.6 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.64) เมื่อวัดด้วยวิธีของ per-o-lof Astrand

Credit : เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2543; ปีที่10 ฉบับ 1 หน้า 37-41

การวัดสัดส่วนร่างกายเบื้องต้นของนักเรียนหญิงไทยระดับประถมศึกษา


วัตถุประสงค์ : เพื่อวัดขนาดร่างกายเด็กนักเรียนหญิงไทยระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในช่วงอายุ 7-13 ปี

กลุ่มตัวอย่าง : สุ่มวัดเด็กนักเรียนจำนวน 240 ใน 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในแต่ละภาคได้ทำการวัดเด็กนักเรียน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนที่อยู่ในเมืองและโรงเรียนที่อยู่นอกเมือง โรงเรียนละ 30 คน

วิธีวิเคราะห์ : สัดส่วนที่ทำการวัดทั้งหมด 37 สัดส่วน ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 5 และ 95

ผลการศึกษา :
เด็กนักเรียนหญิงช่วงอายุ 7-13 ปี มีความสูงเฉลี่ย คือ 120.8(±3.56), 125.6(±3.97), 131.7(±4.14), 139.7(±2.54), 143.8(±2.89), 148(±2.46) และ 151.4(±3.82) ซ.ม. ตามลำดับ นักเรียนในแต่ละระดับอายุมีความแตกต่างกันของทุกสัดส่วนร่างกายอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
เมื่อวิเคราะห์ขนาดของเด็กนักเรียนหญิงในแต่ละภาค พบว่า มีสัดส่วน 5 สัดส่วนที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) คือ ความสูงจากพื้นถึงปลายนิ้วกลาง ความหนาของท้อง ความกว้างศีรษะ ระยะกางศอกและความยาวของมือ
การวิเคราะห์ความแตกต่างของขนาดของเด็กนักเรียนในโรงเรียนนอกเมืองและในเมืองพบว่า มีสัดส่วน 21 สัดส่วน ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เช่น ความสูงขณะยืนและความสูงขณะนั่ง เป็นต้น
เมื่อเปรียบเทียบขนาดร่างกายของเด็กนักเรียนหญิงไทยกับเด็กนักเรียนหญิงเม็กซิโกจำนวน 21 สัดส่วน พบว่า ขนาดของเด็กนักเรียนหญิงไทยมีแนวโน้มของร่างกายที่เล็กกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในทุกสัดส่วน ยกเว้น ความสูงขณะยืน ความสูงขณะนั่ง ความยาวจากก้นถึงข้อพับเข่าและความยาวเท้า
เมื่อเปรียบเทียบขนาดร่างกายของเด็กนักเรียนหญิงไทยกับเด็กนักเรียนอิหร่านจำนวน 14 สัดส่วน พบว่า ขนาดของเด็กนักเรียนหญิงไทยมีแนวโน้มของร่างกายที่โตกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในทุกสัดส่วน ยกเว้น ความหนาของหน้าอก

Credit : นางสาววิลาส เชาวรักษ์,วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2546

การศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย

A Study of Anthropometry of Male and Female Elementary School Students in the South of Thailand

สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์1* พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์2
1,2สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
อ.เมือง จ.สงขลา 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*
Surasit Rawangwong1* Panyos Worachetwarawat2
1,2Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology
Srivijaya, Muang, Songkhla 90000

E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 36 สัดส่วน

วิธีการ : ใช้เครื่องมือวัด 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 ได้จัดสร้างขึ้นคือ เครื่องมือวัดความสูง
แบบที่ 2 คือเครื่องมือวัดคาลิปเปอร์

กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนชายและหญิง ช่วงอายุ 7-12 ปี จำนวน 700 คน เป็นนักเรียนชาย 350 คน และหญิง 350 คน

ผลการศึกษา : นักเรียนชายมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนหญิงเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้น ความสูงขณะยืน ความสูงระดับสายตาขณะยืน ความสูงระดับไหล่ขณะยืน ความสูงระดับสะโพก ความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวจากก้นถึงหัวเข่า ความยาวจากก้นถึงข้อพับเข่า ความสูงของเข่าขณะนั่ง ความกว้างของสะโพก ความหนาของหน้าอก ระยะจากไหล่ถึงข้อศอก ระยะจากต้นแขนถึงปลายนิ้ว ระยะจากไหล่ถึงจุดศูนย์กลางมือขณะกำ ระยะกางแขน ระยะกางศอก ระยะเอื้อมแขนขึ้นเหนือศีรษะในท่านั่ง และระยะเอื้อมแขนด้านหน้า ที่นักเรียนชายจะมีขนาดต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
การเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิง ที่ได้จากงานวิจัยนี้กับงานวิจัยใน
ต่างประเทศ ดังนี้
1)      เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศเม็กซิโกจำนวน 21 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนชายของประเทศเม็กซิโก เกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความสูงระดับนิ้วมือ ความกว้างของสะโพก ความยาวของศีรษะ ความกว้างของศีรษะ และความยาวของเท้า ที่งานวิจัยนี้จะมีขนาดต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05)
2)      เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนหญิงที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศเม็กซิโกจำนวน 21 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนหญิงของประเทศเม็กซิโก เกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวของศีรษะ ความกว้างของศีรษะ ความกว้างของสะโพก ความกว้างของมือ ความกว้างของเท้า และความยาวของเท้า ที่งานวิจัยนี้จะมีขนาดต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
3)      เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศอิหร่าน จำนวน 14 สัดส่วน สรุปได้ว่า งานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนชายของประเทศอิหร่านเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความลึกของอก
4)      เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนหญิงจากงานวิจัยนี้กับนักเรียนหญิงของประเทศอิหร่าน จำนวน 14 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของเด็กนักเรียนหญิงของประเทศอิหร่านทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

คำสำคัญ : การยศาสตร์ ขนาดสัดส่วนร่างกาย นักเรียนชายและหญิง

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551 20-22 ตุลาคม 2551

ระยะเวลาการทำงานและหยุดพักที่เหมาะสมเพื่อลดความล้าในพนักงานตรวจสอบคุณภาพขวดกะกลางคืนของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม

Appropriate working and rest period to relieve fatigue of night shift bottle inspection staff in beverage factory

ธนชิต ขันทราช นิวิท เจริญใจ
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
E-mail: Tan28516@rocketmail.com and Nivit@chiangmai.ac.th
Tanachit Khuntarat Nivit Charoenchai
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chiangmai University, Muang,
Chiangmai 50200

E-mail: Tan28516@rocketmail.com and Nivit@chiangmai.ac.th

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและคัดเลือกระยะเวลาทำงานและหยุดพักที่ทำให้ความล้าทางจิตใจลดลงมากที่สุดในพนักงานตรวจสอบคุณภาพสินค้าเครื่องดื่มในสายการบรรจุกะกลางคืนจากช่วงเวลาพักที่สามารถปฏิบัติได้จริง

วิธีการ : ทำการวัดความล้าทางจิตใจโดยใช้แบบสอบถามทางจิตพิสัยและวัดค่าเวลาตอบสนอง (Reaction time) ในพนักงานตรวจสอบคุณภาพขวดของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม โดยทำการวัดก่อนและหลังการพักของการทำงานของพนักงานกะกลางคืน 12 คน และทำการวิเคราะห์ผลโดยวิธีทางสถิติเพื่อหาระยะเวลาทำงานและหยุดพักที่ทำให้ความล้าลดลงมากที่สุด

ผลการศึกษา : ระยะเวลาทำงานและพักที่เหมาะสมที่สุดคือทำงาน 60 นาทีและหยุดพัก 60 นาที

ข้อจำกัดและเสนอแนะ : เนื่องจากระยะเวลาในการพักมีผลโดยตรงกับการลดความล้า ดังนั้น หากมีการวิจัยอื่นที่ดำเนินการเกี่ยวกับระยะเวลาทำงานและการพัก และไม่ติดข้อจำกัดในปัจจัยเวลาทำงานและการพัก ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากได้ทดลองใช้ระยะเวลาพักแบบอื่นที่ไม่ได้ใช้ในการวิจัยนี้หากโรงงานนั้นๆ อนุญาตให้ใช้ได้ ซึ่งอาจทำให้ได้รูปแบบการทำงานและการพักที่เหมาะสมยิ่งกว่าในการวิจัยนี้

คำสำคัญ : Ergonomics, mental fatigue, shift work, inspection, reaction time, work rest

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551 20-22 ตุลาคม 2551

การนำเทคนิค 5ส มาประยุกต์ใช้ในงานเคเบิลสายโทรศัพท์

The Application of 5S Technique in Telephone Cable Installation

ศิลปชัย วัฒนเสย
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

E-mail: sinlapachai@hotmail.com

วัตถุประสงค์ : การนำเทคนิค 5ส มาประยุกต์ใช้ในงานเคเบิลสายโทรศัพท์ เพื่อศึกษาแนวทางในการลดเวลาการทำงานของงานเคเบิลสายโทรศัพท์

ผลการศึกษา :
สาเหตุที่ทำให้เกิดการล่าช้า หรือใช้เวลาในการปฏิบัติงานมากเกินไปนั้น มาจากการจัดเก็บเครื่องจักร วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ไม่เป็นระเบียบ ไม่มีการกำหนดพื้นที่จัดเก็บ และไม่มีหมวดหมู่สำหรับจัดเก็บ
จากสาเหตุดังกล่าวทำให้ต้องสูญเสียเวลามากในการค้นหาและจัดเก็บจัดเครื่องจักร วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติงาน รวมไปถึงทำให้เกิดการชำ รุดเสียหาย และอุบัติเหตุ
วิธีการแก้ปัญหานั้นได้นำเทคนิค 5ส เป็นขั้นตอนหลักในการดำเนินการปรับปรุง และใช้หลักการของ การศึกษาการทำงานและการวางผังโรงงาน ดำเนินการปรับปรุงในรายละเอียด
ผลการปรับปรุง ปรากฏว่าสามารถลดเวลาในการทำงานลงได้คือ งานขยายข่ายสายเคเบิลลดเวลาลงได้ 47 นาที ต่องาน งานซ่อมและบำรุงรักษาสามารถลดเวลาลงได้ 31 นาทีต่องาน การจัดเก็บเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ มีสถานที่จัดเก็บ และเป็นหมวดหมู่ ทำให้ค้นหาและจัดเก็บได้สะดวก รวดเร็วขึ้น

คำสำคัญ : เทคนิค 5ส การออกแบบคลังพัสดุ การศึกษา การทำงาน

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551 20-22 ตุลาคม 2551

การศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนระดับอนุบาลชายและหญิงในภาคใต้ของประเทศไทย

A Study of Anthropometry of Male and Female Kindergarten in the South of Thailand

สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์1* จักรนรินทร์ ฉัตรทอง2
1,2สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
อ.เมือง จ.สงขลา 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*
Surasit Rawangwong1* Jaknarin Chatthong2
1,2Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology
Srivijaya, Muang, Songkhla 90000

E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนอนุบาลชายและหญิงในภาคใต้ จำนวน 36สัดส่วน

วิธีวิเคราะห์ : โดยใช้เครื่องมือวัด 2 แบบ คือแบบที่ 1 เป็นเครื่องมือที่จัดสร้างขึ้นคือ เครื่องมือวัดความสูง และแบบที่ 2 เป็นเครื่องมือวัดคาลิปเปอร์

กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนอนุบาลชายและหญิง ช่วงอายุ 4-6ปี จำนวน 600 คน เป็นนักเรียนอนุบาลชาย 300 คน และหญิง 300 คน

ผลการศึกษา :
วัดความสูงและชั่งน้ำหนักนักเรียนอนุบาลชาย มีความสูงเฉลี่ย 110.31(±3.87) 115.11(±1.95)120.61(±3.27) ซม. ตามลำดับ และน้ำหนักเฉลี่ย19.21(±3.11) 22.27(±3.83) 25.49(±5.44) กก.ตามลำดับ
วัดความสูงและชั่งน้ำหนักนักเรียนอนุบาลหญิง มีความสูงเฉลี่ย 109.12(±3.12) 114.80(±2.96) 121.00(±4.12) ซม.ตามลำดับ และน้ำหนักเฉลี่ย 18.46(±3.77) 21.26(±4.59)23.11(±3.84) กก. ตามลำดับ
          จากการเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนอนุบาลชายและหญิง ช่วงอายุ 4-6 ปี ในภาคใต้ ที่ได้จากงานวิจัยนี้ จำนวน 36 สัดส่วน สรุปได้ว่านักเรียนอนุบาลชายมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนอนุบาลหญิงเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้น ความสูงระดับสะโพกความสูงระดับข้อนิ้วมือ ความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวจากก้นถึงหัวเข่า และความยาวจากก้นถึงข้อพับเข่า
เมื่อเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายนักเรียนอนุบาล ชาย อายุ 6 ปี ในภาคใต้ของประเทศไทยกับนักเรียนอนุบาลชาย อายุ 6 ปี ของประเทศตุรกี จำนวน 15 สัดส่วน สรุปได้ว่า นักเรียนอนุบาลชายในภาคใต้ของประเทศไทยมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนอนุบาลชายของประเทศตุรกีเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นระยะจากข้อศอกถึงปลายนิ้วมือ ระยะจากต้นแขนถึงปลายนิ้ว ความหนาของหน้าอกความสูงขณะนั่ง และความสูงระดับสายตาขณะนั่ง

คำสำคัญ : การยศาสตร์ ขนาดสัดส่วนร่างกาย นักเรียนอนุบาลชายและหญิง

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551 20-22 ตุลาคม 2551