วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การลดอาการปวดหลังส่วนล่างของพนักงานสาวผ้า : กรณีศึกษาโรงงานย้อมผ้าถักตัวอย่าง


วัตถุประสงค์ : เพื่อลดระดับอาการปวดหลังอันเนื่องมาจากการทำงานของพนักงานในโรงงานย้อมผ้าถักตัวอย่าง

การเก็บข้อมูล : ใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์พนักงานในแผนกต่างๆ

วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ 3 ตัวแปร คือ RULA, EMG และแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1

ผลการศึกษา : พนักงานที่มีอาการปวดหลังส่วนใหญ่มาจากแผนกโกดังผ้าดิบ และมีค่าดัชนีความไม่ปกติ (AI) สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ คือมีค่าเฉลี่ย 3.4 ซึ่งหมายถึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข จากนั้นสุ่มตัวอย่างพนักงานในแผนกโกดังผ้าดิบ 5 คน มาทำการวิเคราะห์ 3 ตัวแปร คือ RULA, EMG และแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 ในขณะทำงานปกติ คือยกม้วนผ้าหนัก 40 กก.
-คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 7
-การวิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ(EMG) ได้ค่าเฉลี่ยของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างด้านซ้ายและขวาคือ 91.4 และ 90.4 μV.ตามลำดับ คิดเป็น 68.8% และ 59.1% ของสัญญาณไฟฟ้าสูงสุดของกล้ามเนื้อ ตามลำดับ
-การคำนวณค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 ได้ค่าสูงสุดเท่ากับ 6,025.5 N.
ซึ่งเกินขีดจำกัดของความปลอดภัย มีสาเหตุมาจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมจำเป็นต้องปรับปรุงการทำงานโดยการใช้โต๊ะปรับระดับทำการทดลอง 2 วิธี คือ
(1) ให้อาสาสมัครดึงม้วนผ้าออกจากพาลเล็ทแทนการก้มยก
(2) ให้อาสาสมัครดึงม้วนผ้าออกจากพาลเล็ทและใช้แผ่นพลาสติกรองระหว่างม้วนผ้า
ผลการทดลองวิธีแรกได้สัญญาณ EMG ที่กล้ามเนื้อทั้งสองเฉลี่ยคือ 77.0 และ 75.0 μV.ตามลำดับ คิดเป็น 58.2% และ 49.1% ตามลำดับ คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6 ค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 มากที่สุดเท่ากับ 5,835.9 N.
ผลการทดลองวิธีหลังได้สัญญาณ EMGที่กล้ามเนื้อทั้งสองเฉลี่ย คือ 47.4 และ 41.2 μV. ตามลำดับ คิดเป็น 34.9% และ 27.8%ตามลำดับ คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6 ค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 มากสุดเท่ากับ3,748.8 N.
จากข้อมูลดังกล่าวสรุปได้ว่า การเปลี่ยนท่าทางการทำงานใหม่และนำแผ่นพลาสติกมารองระหว่างม้วนผ้าทำให้ทุกปัจจัยที่พิจารณามีค่าลดลง

คำสำคัญ : สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG), หมอนรองกระดูก L5/S1, RULA

Credit : นางสาวนิธิดา จิรโชคนุเคราะห์ ,วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2549