วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Publications


วชิระ เพ็ชรราม และ กลางเดือนโพชนา
"ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงาน
กรณีศึกษาฐานผลิตแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่ง อ่าวไทย"
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 2559

จุฑาทิพย์ วิญญูเจริญกุล และ กลางเดือน โพชนา
"การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยวิธี ROSA"
วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558)

กลางเดือน โพชนาและองุ่น สังขพงศ์
"การประมาณค่าขนาดสัดส่วนร่างกายเพื่อการออกแบบโต๊ะเก้าอี้เรียน"
วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีที่ 23 ฉบับที่ 2
ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2558






กลางเดือน โพชนา และ องุ่น สังขพงศ์, "ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กกรณีศึกษา นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์," วารสารสาธารณสุขศาสตร์, vol. 44, no. 2, พฤษภาคม-สิงหาคม2557. 

รัตนา กูเล็ม, กลางเดือน โพชนา, และ องุ่น สังขพงศ์, "ความสอดคล้องของขนาดโต๊ะเก้าอี้นักเรียนกับขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา," วิศวกรรมสาร มข.,vol. 41, no. 4, ตุลาคม-ธันวาคม 2557. 

ณัชยา แซ่เจิ้น, กลางเดือน โพชนา, และ องุ่น สังขพงศ์, "ความชุกและปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง: กรณีศึกษา สถานีขนส่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา," วารสารวิจัยมข., vol. 19, no. 1, pp. 107-118, มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557. 

กลางเดือน โพชนา และ องุ่น สังขพงศ์, "ความเหมาะสมของโต๊ะและเก้าอี้ในห้องเรียนกับขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1,"วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, pp. 18-27, มกราคม-เมษายน 2556. 

องุ่น สังขพงศ์, กลางเดือน โพชนา, และ วรพล เอื้อสุจริตวงศ์, "การปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่า:กรณีศึกษาโรงงานอาหารทะเลแปรรูปแห่งหนึ่ง,"วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, vol. 23, no.3, pp. 654-663, 2556.

International Publications:
Chatree Homkhiew, ThanateRatanawilai, and Klangduen Pochana, "Application of a quality functiondeployment technique to design and develop furniture products," SongklanakarinJournal of Science and Technology, vol. 34, no. 6, pp. 663-668,November-December 2012.

Klangduen Pochana and Keller Jurg., "Study of factors affecting simultaneous nitrification and denitrification (SND)," Wat. Sci. Tech., vol. 39, no. 6, pp. 61-68, 1999.

Klangduen Pochana, Keller Jurg, and Lant Paul, "Model development for simultaneous nitrification and denitrification," Wat. Sci. Tech., vol. 39, no. 1, pp. 235-243, 1999.

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (พระนครเหนือ)

ตั้งแต่ พ.ศ. 2549-2556




  1. กณพ วัฒนา, กุสุมา ผลาพรม, สุทิติ ขัตติยะ, และ สมิตร ส่งพิริยะกิจ. (2556). การพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (TABLET) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจงานก่อสร้าง. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 9(2).
  2. ตรีเนตร ยิ่งสัมพันธ์เจริญ, ชิระ เด่นแสงอรุณ, และ วัลลภ พัฒนพงศ์. (2556). แนวทางการปรับปรุงการผลิตกระบวนการลากขึ้นรูปลึกชิ้นงานไส้กรองอากาศ โดยวิธีไฟน์เอลิเมนต์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 9(1),103-110.
  3. วีรชัย มัฎฐารักษ์และ วิมล จันนินวงศ์. (2553). การเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร : กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารสัตว์วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 18-24.
  4. มานพ ชูนิล, พิสมัย รักจรรยา, และ ชวนีย์ พงศาพิชณ์. (2550). วิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 3(2),42-51.
  5. วัลลภ พัฒนพงศ์, ไพรัตน เสียงดัง, และ ธนพัฒน์ ไชยแสน. (2549). การศึกษาการจัดระบบความปลอดภัยในโรงงานการผลิตใน บริษัท อะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 2, 71-76.
  6. นราธิป แสงซ้ายและ จีรศักดิ์ ซ้ายสุวรรณ. (2549). การจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถวอย่างเหมาะสม โดยวิธีการผสมผสานด้วยการจำลองสถานการณ์ และวิธีประมาณการ โดยการสุ่มหาคำตอบวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 2.



การจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถวอย่างเหมาะสม โดยวิธีการผสมผสานด้วยการจำลองสถานการณ์ และวิธีประมาณการ โดยการสุ่มหาคำตอบ

นราธิป แสงซ้าย, จีรศักดิ์ ซ้ายสุวรรณ

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยครั้งนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมสำหรับการแก้ปัญหาการจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถว

วิธีการ : โดยใช้วิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm: GA) ร่วมกับการใช้การจำลองสถานการณ์ (Simulation) เพื่อให้ผลคำตอบของการจัดวางผังเครื่องจักรสามารถตอบสนองสมการเป้าหมายหลายด้านได้ (Multi-objective functions) ซึ่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการขนส่งระหว่างเครื่องจักรต่ำ สัดส่วนการทำงานของเครื่องจักร (Utilization Of Machine) ระยะเวลาเฉลี่ยของชิ้นงานในระบบ(Mean Flow Time) เวลาการรอคอยที่เกิดขึ้นในระบบ (Waiting time) จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ และงานที่กำลังทำอยู่ในระบบ(Work In Process)

ผลการวิจัย : ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์หลักการวิธีเชิงพันธุกรรม และการใช้การจำลองสถานการณ์ สามารถช่วยในการจัดผังโรงงานให้ตอบสนองสมการเป้าหมายหลายด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : ปัญหาการจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถว, วิธีเชิงพันธุกรรม ,การจำลองสถานการณ์


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  ปที่ 2 ฉบับพิเศษ (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ป) สิงหาคม 2549

การศึกษาการจัดระบบความปลอดภัยในโรงงานการผลิตใน บริษัท อะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด

Case Study of Safety Management in Production Factory of Atom Manufacturing Co., Ltd.

วัลลภ พัฒนพงศ 1 ไพรัตน เสียงดัง 2 ธนพัฒน ไชยแสน 2
1 อาจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 นักศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วัตถุประสงค์ : การจัดระบบความปลอดภัยในโรงงานผลิต กรณีศึกษา บริษัทอะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความปลอดภัยในการ ทำงานลดการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ทำให้พนักงานมีความรู้ในเรื่องการดูแล และป้องกันอุบัติเหตุ และเพื่อหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้

วิธีการ : แบ่งลำดับการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักดังนี้คือ ศึกษาข้อมูลและวางแผน ในขั้นตอนนี้จะศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆในเรื่องความปลอดภัย ส่วนขั้นตอนในการดำเนินงานจะเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตใน บริษัท อะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่งจำกัด แล้วทำการเก็บข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดอันตราย และแนว ทางในการป้องกันอันตราย ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือ จัดทำสื่อความปลอดภัย ในการจัดทำสื่อความปลอดภัยนั้น ยังแบ่งย่อยดังนี้คือ การรณรงค์เกี่ยวกับความปลอดภัย การจัดกิจกรรม 5 ส. ในงานความปลอดภัย และการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในโรงงาน

ผลการดำเนินงาน : ผลที่ได้จากการดำเนินงานสามารถทำให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการใช้เครื่องจักร การส่งเสริมการทำงานที่ปลอดภัย และแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ

คำสำคัญ : ความปลอดภัย, กรณีศึกษา, แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปที่ 2 ฉบับพิเศษ (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ป) สิงหาคม 2549 

วิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Students’ Techniques in Managing Stress at King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok
มานพ ชูนิล 1 พิสมัย รักจรรยา 2 และ ชวนีย์ พงศาพิชณ์ 3

1 รองศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด วิธีการจัดการ ความเครียด และปัญหาที่ประสบในการจัดการความเครียดของนักศึกษา

วิธีการ : กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 478 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความเครียดของ กรมสุขภาพจิต

ผลการวิจัย : ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความเครียดอยู่ในระดับปกติร้อยละ 51.43 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดอันดับหนึ่ง คือ กลัวอ่านหนังสือไม่ทัน ร้อยละ 89.7 อันดับสอง คือ กลัวทำข้อสอบไม่ได้ ร้อยละ 89.5 วิธีการจัดการความเครียดที่ใช้กันมากอันดับ หนึ่ง คือ ดูหนัง ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ ร้อยละ 97.5 อันดับสองคือ ทำจิตใจให้สงบ ยอมรับสถานการณ์ ปล่อยวาง ปลงให้ได้ ร้อยละ 90.2 ปัญหาที่ประสบในการจัดการความเครียด อันดับหนึ่ง คือ ขี้เกียจและง่วงนอนอยู่เสมอ ร้อยละ 73.4
เมื่อเปรียบเทียบระดับ ความเครียดของนักศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาการจราจร ปัญหาสภาพแวดล้อม พบว่าไม่มีความ แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบระดับความเครียดของนักศึกษาจำแนกตามปัญหาการสอบ การคบเพื่อน ความรัก ครอบครัว สุขภาพ ด้านการเงิน และด้านการงาน พบว่า มีระดับความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ : ความเครียด, วิธีการจัดการความเครียด


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม ธันวาคม 2550

การเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร : กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารสัตว์

Productivity by Method of OEE Improvement : A Case study in Feed Mill Factory
วีรชัย มัฎฐารักษ์ 1 และ วิมล จันนินวงศ์ 2

1 อาจารย์, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
2 ผู้จัดการโรงงาน, โรงงานผลิตอาหารสัตว์.

วัตถุประสงค์ : เพื่อต้องการเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีการ OEE หรือการปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวม ของเครื่องจักรอัดเม็ดในโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ

วิธีการ : โดยทำการศึกษาถึงเหตุที่มีผลทำให้ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่อง อัดเม็ดมีค่าต่ำด้วยวิธีการแก้ปัญหาแบบคิวซี สตอรี่ ของ JUSE

ผลการวิจัย : การวิเคราะห์ข้อมูลก่อนปรับปรุงด้วยผังก้างปลาพบว่าตัว แปรที่มีค่าต่ำมีอยู่ 2 ตัวแปร คือ ค่าความพร้อมของเครื่องจักรและค่าสมรรถนะเครื่องจักร ดังนั้นจึงได้จัดทำมาตรการตอบ โต้เหตุเพื่อปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรให้สูงขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3%
ภายหลังการปรับปรุงพบว่าค่า ประสิทธิผลโดยรวมในสายการผลิตที่ 2 เครื่องมีค่าสูงขึ้นจากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 74% สูงขึ้นเป็น 84% ส่วนสายการผลิตที่ 3 เครื่องมีค่าเฉลี่ย 75% สูงขึ้นเป็น 93%

คำสำคัญ : การเพิ่มผลผลิต , การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2553