วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษา ในภาคใต้ของประเทศไทย

A Study of Anthropometry of Male and Female Elementary School Students
in the South of Thailand

สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์1* พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์2
1,2สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
.เมือง จ.สงขลา 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*
Surasit Rawangwong1* Panyos Worachetwarawat2
1,2Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology
Srivijaya, Muang, Songkhla 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย

วิธีการ : นักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 36 สัดส่วน โดยใช้เครื่องมือวัด 2 แบบ คือแบบที่ 1 ได้จัดสร้างขึ้นคือ เครื่องมือวัดความสูง ส่วนแบบที่ 2 คือเครื่องมือวัดคาลิปเปอร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชายและหญิง ช่วงอายุ 7-12 ปี จำนวน 700 คน เป็นนักเรียนชาย 350 คน และหญิง 350 คน

ผลการวิจัย : จากการเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงอายุ 7-12 ปี ในภาคใต้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ จำนวน 36 สัดส่วน สรุปได้ว่านักเรียนชายมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนหญิงเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้น ความสูงขณะยืน ความสูงระดับสายตาขณะยืน ความสูงระดับไหล่ขณะยืน ความสูงระดับสะโพก ความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวจากก้นถึงหัวเข่า ความยาวจากก้นถึงข้อพับเข่าความสูงของเข่าขณะนั่ง ความกว้างของสะโพก ความหนาของหน้าอก ระยะจากไหล่ถึงข้อศอก ระยะจากต้นแขนถึงปลายนิ้ว ระยะจากไหล่ถึงจุดศูนย์กลางมือขณะกำระยะกางแขน ระยะกางศอก ระยะเอื้อมแขนขึ้นเหนือศีรษะในท่านั่ง และระยะเอื้อมแขนด้านหน้า ที่นักเรียนชายจะมีขนาดต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
จากนั้นได้ทำการเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิง ที่ได้จากงานวิจัยนี้กับงานวิจัยในต่างประเทศ ดังนี้ เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศเม็กซิโก จำนวน 21 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนชายของประเทศเม็กซิโก เกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความสูงระดับนิ้วมือ ความกว้างของสะโพก ความยาวของศีรษะ ความกว้างของศีรษะ และความยาวของเท้า ที่งานวิจัยนี้จะมีขนาดต่ำ กว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนหญิงที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศเม็กซิโก จำนวน 21 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนหญิงของประเทศเม็กซิโก เกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวของศีรษะ ความกว้างของศีรษะ ความกว้างของสะโพก ความกว้างของมือความกว้างของเท้า และความยาวของเท้า ที่งานวิจัยนี้จะมีขนาดต่ำ กว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และได้เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายที่ได้
จากงานวิจัยนี้กับของประเทศอิหร่าน จำนวน 14 สัดส่วน สรุปได้ว่า งานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนชายของประเทศอิหร่านเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความลึกของอกและเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนหญิงจากงานวิจัยนี้กับนักเรียนหญิงของประเทศอิหร่าน จำนวน 14 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของเด็กนักเรียนหญิงของประเทศอิหร่านทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

คำสำคัญ : การยศาสตร์ ขนาดสัดส่วนร่างกาย นักเรียนชายและหญิง

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ระยะเวลาการทำงานและหยุดพักที่เหมาะสมเพื่อลดความล้าในพนักงาน ตรวจสอบคุณภาพขวดกะกลางคืนของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม

Appropriate working and rest period to relieve fatigue of night shift bottle
inspection staff in beverage factory

ธนชิต ขันทราช , นิวิท เจริญใจ
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
E-mail: Tan28516@rocketmail.com and Nivit@chiangmai.ac.th
Tanachit Khuntarat Nivit Charoenchai
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chiangmai University, Muang,
Chiangmai 50200
E-mail: Tan28516@rocketmail.com and Nivit@chiangmai.ac.th

ความเป็นมา : งานตรวจสอบคุณภาพขวดในโรงงานผลิตเครื่องดื่มเป็นงานที่ต้องใช้สายตาในการเพ่งมองและใช้ความคิดในการตัดสินใจคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพออกจากสายการผลิต การทำงานในเวลากลางคืนที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องจะทำให้พนักงานเกิดความล้าทางจิตใจ (Mental fatigue) ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และเพิ่มโอกาสการเกิดอุบัติเหตุในเวลางาน หนึ่งในวิธีการลดความล้าทางจิตใจคือการจัดเวลาการทำงานและเวลาพักที่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลถึงระดับของการลดความล้าทางจิตใจที่มีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและคัดเลือกระยะเวลาทำงานและหยุดพักที่ทำให้ความล้าทางจิตใจลดลงมากที่สุดในพนักงานตรวจสอบคุณภาพสินค้าเครื่องดื่มในสายการบรรจุกะกลางคืนจากช่วงเวลาพักที่สามารถปฏิบัติได้จริง

วิธีการ : ทำการวัดความล้าทางจิตใจโดยใช้แบบสอบถามทางจิตพิสัยและวัดค่าเวลาตอบสนอง (Reaction time) ในพนักงานตรวจสอบคุณภาพขวดของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม โดยทำการวัดก่อนและหลังการพักของการทำงานของพนักงานกะกลางคืน 12 คน และทำการวิเคราะห์ผลโดยวิธีทางสถิติเพื่อหาระยะเวลาทำงานและหยุดพักที่ทำให้ความล้าลดลงมากที่สุด

ผลการวิจัย : ระยะเวลาทำงานและพักที่เหมาะสมที่สุดคือทำงาน 60 นาทีและหยุดพัก 60 นาที

คำสำคัญ : Ergonomics, mental fatigue, shift work, inspection, reaction time, work rest

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การนำเทคนิค 5ส มาประยุกต์ใช้ในงานเคเบิลสายโทรศัพท์

The Application of 5S Technique in Telephone Cable Installation

ศิลปชัย วัฒนเสย
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
E-mail: sinlapachai@hotmail.com

วัตถุประสงค์ : การนำเทคนิค 5ส มาประยุกต์ใช้ในงานเคเบิลสายโทรศัพท์ เป็นการศึกษาแนวทางในการลดเวลาการทำงานของงานเคเบิลสายโทรศัพท์

ผลการศึกษา : สาเหตุที่ทำให้เกิดการล่าช้า หรือใช้เวลาในการปฏิบัติงานมากเกินไปนั้น มาจากการจัดเก็บเครื่องจักร วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ไม่เป็นระเบียบ ไม่มีการกำหนดพื้นที่จัดเก็บ และไม่มีหมวดหมู่สำหรับจัดเก็บ จากสาเหตุดังกล่าวทำให้ต้องสูญเสียเวลามากในการค้นหาและจัดเก็บจัดเครื่องจักร วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติงาน รวมไปถึงทำให้เกิดการชำ รุดเสียหาย และอุบัติเหตุ
วิธีการแก้ปัญหานั้นได้นำเทคนิค 5ส เป็นขั้นตอนหลักในการดำเนินการปรับปรุง และใช้หลักการของ การศึกษาการทำงานและการวางผังโรงงาน ดำเนินการปรับปรุงในรายละเอียด เมื่อดำเนินการปรับปรุงแล้วผลปรากฏว่าสามารถลดเวลาในการทำงานลงได้คือ งานขยายข่ายสายเคเบิลลดเวลาลงได้ 47 นาที ต่องาน งานซ่อมและบำรุงรักษาสามารถลดเวลาลงได้ 31 นาทีต่องาน การจัดเก็บเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ มีสถานที่จัดเก็บ และเป็นหมวดหมู่ ทำให้ค้นหาและจัดเก็บได้สะดวก รวดเร็วขึ้น

คำสำคัญ : เทคนิค 5ส การออกแบบคลังพัสดุ การศึกษา การทำงาน
Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


การศึกษาความสามารถและทักษะในการประเมินและบริหารอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่น กรณีศึกษาบุคลากรในโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่ง

A Study of Competency and Skill of Emotional Evaluation and Management
on Self and Others: Case Study of Employees in A Produced Noodle Factory

ภัทธีรา ม้วนจั่น1* นิธิศ บริสุทธิ์2

1*,2ศูนย์พัฒนาผลิตภาพอุตสาหกรรม สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
E-mail: pattira.mou@kmutt.ac.th, nithit.bor@kmutt.ac.th
Pattira Mounjan1* Nithit Borisut2
1*,2Center for Industrial Productivity Development, Institute for Scientific and Technological Research
and Services, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Thungkru, Bangkok 10140
E-mail: pattira.mou@kmutt.ac.th, nithit.bor@kmutt.ac.th

วัตถุประสงค์ : เพื่อสำรวจและประเมินระดับความสามารถและทักษะการประเมินและบริหารอารมณ์ ที่มีต่อตนเองและต่อผู้อื่น ของบุคลากรในระดับต่างๆ ขององค์กร และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่ศึกษา

วิธีการ : ทำการศึกษาบุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ตำแหน่งงานหน่วยงาน อายุการทำงาน อายุการทำงานในบริษัท และรายได้ ที่ส่งผลต่อความสามารถและทักษะในการประเมินและบริหารอารมณ์ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความตระหนักรู้ตนเอง ด้านการบริหารจัดการอารมณ์ ด้านการมองโลกในแง่ดีหรือแรงจูงใจตนเอง ด้านการเข้าใจอารมณ์ ผู้อื่น และ ด้านทักษะทางสังคม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยบุคลากรทุกหน่วยงานและทุกระดับ จำนวนทั้งสิ้น 122 คน

ผลการศึกษา : ทั้งภาพรวมและการจำแนกรายด้านทั้ง 5 ด้าน ของทักษะในการประเมินและบริหารอารมณ์ของตนเองและของผู้อื่น ที่ค่าอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อทำการทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยสำหรับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่มีผลต่อความสามารถและทักษะการประเมินและบริหารอารมณ์ทั้ง 5 ด้าน พบว่า อายุ อายุการทำงาน และอายุการทำงานในบริษัท มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (ที่ระดับ 0.05) กับทักษะด้านการมองโลกในแง่ดี ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปสร้างแนวทาง การพัฒนาบุคลากร และการสร้างแผนการเรียนรู้และฝึกอบรมขององค์กรต่อไป

คำสำคัญ : ทักษะการประเมินและบริหารอารมณ์ โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว การมองโลกในแง่ดี

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนระดับอนุบาลชายและหญิง ในภาคใต้ของประเทศไทย

A Study of Anthropometry of Male and Female Kindergarten
in the South of Thailand

สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์1* จักรนรินทร์ ฉัตรทอง2
1,2สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
.เมือง จ.สงขลา 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*
Surasit Rawangwong1* Jaknarin Chatthong2
1,2Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology
Srivijaya, Muang, Songkhla 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนอนุบาลชายและหญิงในภาคใต้

วิธีการ : นักเรียนอนุบาลชายและหญิงในภาคใต้ จำนวน 36สัดส่วน โดยใช้เครื่องมือวัด 2 แบบ คือแบบที่ 1 เป็นเครื่องมือที่จัดสร้างขึ้นคือ เครื่องมือวัดความสูง และแบบที่ 2 เป็นเครื่องมือวัดคาลิปเปอร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนอนุบาลชายและหญิง ช่วงอายุ 4-6 ปี จำนวน 600 คน เป็นนักเรียนอนุบาลชาย 300 คน และหญิง 300 คน

ผลการวิจัย : วัดความสูงและชั่งน้ำหนักนักเรียนอนุบาลชาย มีความสูงเฉลี่ย 110.31(±3.87) 115.11(±1.95) 120.61(±3.27) ซม. ตามลำดับ และน้ำหนักเฉลี่ย 19.21(±3.11) 22.27(±3.83) 25.49(±5.44) กก.ตามลำดับ วัดความสูงและชั่งน้ำหนักนักเรียนอนุบาลหญิง มีความสูงเฉลี่ย 109.12(±3.12) 114.80(±2.96) 121.00(±4.12) ซม.ตามลำดับ และน้ำหนักเฉลี่ย 18.46(±3.77) 21.26(±4.59) 23.11(±3.84) กก. ตามลำดับ
จากการเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนอนุบาลชายและหญิง ช่วงอายุ 4-6 ปี ในภาคใต้ ที่ได้จากงานวิจัยนี้ จำนวน 36 สัดส่วน สรุปได้ว่านักเรียนอนุบาลชายมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนอนุบาลหญิงเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้น ความสูงระดับสะโพกความสูงระดับข้อนิ้วมือ ความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวจากก้นถึงหัวเข่า และความยาวจากก้นถึงข้อพับเข่า
เมื่อเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายนักเรียนอนุบาลชาย อายุ 6 ปี ในภาคใต้ของประเทศไทยกับนักเรียนอนุบาลชาย อายุ 6 ปี ของประเทศตุรกี จำนวน 15สัดส่วน สรุปได้ว่า นักเรียนอนุบาลชายในภาคใต้ของประเทศไทยมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนอนุบาลชายของประเทศตุรกีเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นระยะจากข้อศอกถึงปลายนิ้วมือ ระยะจากต้นแขนถึงปลายนิ้ว ความหนาของหน้าอกความสูงขณะนั่ง และความสูงระดับสายตาขณะนั่ง

คำสำคัญ : การยศาสตร์ ขนาดสัดส่วนร่างกาย นักเรียนอนุบาลชายและหญิง

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การศึกษาเบื้องต้นเพื่อลดอาการปวดหลังของเกษตรกร : กรณีศึกษาชาวนาใน 3 ตำบลของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

Preliminary Study for Low Back Pain Reduction in Farmers : A Case Study of
the Paddy Farmers in 3 Sub-Districts of Ranode Districts, Songkla Province

อดุลย์ โอวสุวรรณกุล ภาณุเดช แสงสีดำ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร *

สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สาทร กทม 10120
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*
Adul O-Suwankul Panudech Sangseedam Yuthachai Bunterngchit*
Rajamangala University of Technology Krungthep Sathorn, Bangkok 10120
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering,
King Mungkut’s University of Technology North Bangkok, Bangsue, Bangkok 10800
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*

วัตถุประสงค์ : เพื่อลดระดับอาการปวดหลัง ส่วนล่างของชาวนาใน 3 ตำบลของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จากการใช้แบบสัมภาษณ์กับชาวนาชายที่ มีปัญหาการปวดหลัง 10 คน พบว่าค่าดัชนีความไม่ปกติ (AI) สูงสุดมีค่า 3.8 และค่าเฉลี่ยเป็น 2.96(±0.5) จึง สมควรหาวิธีแก้ไขปัญหา

ผลจากการศึกษา : ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนสัญญาณของกล้ามเนื้อที่วัดโดยวิธี มาตรฐานคือ Erector Spinae (L), Erector Spinae (R), Multifidus (L), และ Multifidus (R) มีค่าเฉลี่ยเป็น 1.84, 1.86, 1.67 และ1.81 ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ ท่าทางการทำงานมีค่า RULA เฉลี่ย 7(±0.0) ในขณะยก กระสอบข้าวหนัก 100 กิโลกรัม ได้ค่าแรงกดที่หมอนรอง กระดูก L5/S1 เฉลี่ยสูงสุด 7,243.7(±491.8) N
วิเคราะห์หาสาเหตุของการปวดหลังพบว่ามาจากท่าทางการยกที่ไม่ถูกต้องมีการก้มหลังในการยกจึงได้กำหนดให้ มีการฝึกอบรมวิธีการยกที่ถูกวิธีโดยการย่อเข่าซึ่งมีผลทำให้สัดส่วนของสัญญาณ EMG ที่กล้ามเนื้อดังกล่าวมีค่า 0.91, 1.07, 1.33 และ1.47(μν) ตามลำดับ โดยสัดส่วน ของ 3 ค่าแรกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สำหรับค่า RULA เฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง และสำหรับค่าเฉลี่ยของแรง กดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 มีค่าลดลงเป็น 5,920.8(±631.9) N หรือลดลงร้อยละ 18.3 และจากการ ใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ถูกทดลอง 10 คน ได้ค่า AI สูงสุด เป็น 3.3 และค่าเฉลี่ยเป็น 2.5(±0.4) ลดลงร้อยละ 15.2

คำสำคัญ : กล้ามเนื้อหลัง สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แรง กดที่หมอนรองกระดูก

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การศึกษาและเปรียบเทียบภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บของพนักงาน ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

The Study and Comparison of Employees’ Low Back Pain in
Manufacturing Industries

เจษฎา กาญจนภัทรานนท์ จรรยา จิตราพิเนตร วิชัย วนดุรงค์วรรณ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร*

สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สาทร กทม. 10120
แผนกการบริหารความเสี่ยง ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กลุ่มโรงพยาบาลศรีวิชัย 240/1-7 จรัญสนิทวงศ์ บางกอกน้อย กทม. 10700
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*
Chetsada Kanchanapatthanon Janya Jitrapinate Vichai Vanadurongwan Yuthachai Bunterngchit*
Rajamangala University of Technology Krungthep Sathorn, Bangkok 10120
Srivichai Hospital Group 240/1-7 Charunsanitwong Rd., Bangkoknoi, Bangkok
King Mungkut’s University of Technology North Bangkok, Bangsue, Bangkok 10800
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*


วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบภาวะปวดหลัง บริเวณกระเบนเหน็บของพนักงานที่ทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรม

วิธีการ : พนักงานที่ทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรม 12 กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพละประมาณ 100 คน โดยทำ การสำรวจด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและ การตรวจสอบความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม

ผลการศึกษา : ค่าระดับความรุนแรง (Oswestry; OSW) ของอาการปวดหลังบริเวณดังกล่าว สูงสุด 3 อันดับแรก คือ (1) พนักงานปั่นทอด้ายโดยเครื่องจักร 23.7(±16.8)% (2) พนักงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนัก 16.5(±15.7)% และ (3) พนักงานผลิต และขนถ่ายวัสดุ ก่อสร้าง 16.5(±11.6)% โดยมีค่าเฉลี่ย 12 กลุ่มอาชีพ 14.9(±12.1)% ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงไม่มากนัก
เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บโดยใช้สถิติ ไค-สแควร์ สรุปได้ว่าปัจจัยหลักที่ ส่งผลกระทบต่อจำนวนพนักงานที่ปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บหลายกลุ่มอาชีพอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ได้แก่ การบิดตัว ความสูงเก้าอี้ การยกภาระหนัก พื้นที่ การทำงาน
เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความ รุนแรงของอาการปวดหลัง (OSW) โดยใช้ ANOVA สรุป ได้ว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบหลายกลุ่มอาชีพอย่างมี นัยสำคัญ (p<0.05) ได้แก่ การก้มขณะทำงาน การยก ภาระหนัก อิริยาบถในการทำงาน การบิดตัว และจาก การเปรียบเทียบระดับความรุนแรงอาการปวดหลังบริเวณ กระเบนเหน็บของพนักงาน ทั้ง 12 กลุ่มอาชีพพบว่ามี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สำหรับแต่ละ อาชีพที่ศึกษา

คำสำคัญ : ภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บ ระดับ ความรุนแรงของการปวดหลัง พนักงานปั่นทอด้ายโดย เครื่องจักร

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อการออกแบบทางด้านการยศาสตร์ กรณีศึกษาในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์

The development of risk evaluation system for ergonomics design:
A case study of welding shop in automotive industry

นริศ เจริญพร* ฌานนท์ พูนกวิน จิรายุ ยุวธานนท์
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
E-mail: cnaris@engr.tu.ac.th
Naris Charoenporn, Chanon Poonkawin, Jirayu Yuwathanonth
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Thammasat University

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์สำหรับใช้ในโรงเชื่อมตัวถังของอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์

วิธีการ : รูปแบบของการประเมินที่พัฒนาขึ้นครั้งนี้ ได้ผสมสานหลักการต่างๆได้แก่ การประเมินท่าทางและการเคลื่อนไหวของร่างกายรูปแบบและการใช้แรงของร่างกาย รวมถึงขอบเขตของงานที่อ้างอิงเข้ากับขนาดสัดส่วนร่างกาย มาใช้ประเมินสภาพการทำงาน ควบคู่ไปกับการใช้วิธีการทางจิตฟิสิกส์(psychophysical method) เพื่อวัดความรู้สึกทางด้านความล้าและปวดเมื่อยของร่างกาย รูปแบบการประเมินนี้จะให้ข้อมูลทางด้านการยศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อวิศวกรและเจ้าที่ความปลอดภัยของโรงงานในการทำงานร่วมกัน การพัฒนาระบบการประเมินความเสี่ยงครั้งนี้อาศัยเทคนิคการประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์จาก OWAS, RULA และ REBA มาเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงรูปแบบการประเมินที่สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ครอบคลุมถึงลักษณะงานต่างๆ ในโรงเชื่อมตัวถังของอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์


คำสำคัญ : การประเมินความเสี่ยง การยศาสตร์ โรงเชื่อมตัวถัง การประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมยานยนต์


Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550

การศึกษาและเปรียบเทียบภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บในกลุ่มอาชีพ พนักงานผู้ให้บริการ

The Study and Comparison of Employees’ Low Back Pain in Service Industry

เอกรัตน์ โภคสวัสดิ์1 นภาพร รักบ้านเกิด2 ยุทธชัย บรรเทิงจิตร3* วิชัย วนดุรงค์วรรณ4
1สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ. ทุ่งสง จ. นครศรีธรรมราช
2,3ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
4ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10702
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*
Eakkarat Phoksawat1 Napaporn Rukbankerd2 Yuthachai Bunterngchit3*
Vichai Vanadurongwan4
1Rajamangala University of Technology Srivijaya 109 M. 2 T. Thumyai A. Thungsong Nakhon sri thumara
2,3Department of Industrial Engineering, King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok, 1518 Pibulsongkram Rd., Bangsue, Bangkok 10800
4Department of Orthopaedic, Mahidol University, Bangkoknoi, Bangkok 10702


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะระดับอาการปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บ (Oswestry : OSW) ในกลุ่มอาชีพพนักงานผู้ให้บริการ และวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการปวดหลังบริเวณดังกล่าว

วิธีการ : โดยทำการออกแบบแบบสอบถามภาวะอาการปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บ แล้วทำการสำรวจพนักงานผู้ให้บริการทั้งหมด 12 อาชีพ อาชีพละ 100 คน รวม 1,200 คน

ผลการศึกษา : พนักงานผู้ให้บริการมีเปอร์เซ็นต์ของการปวดหลังสูงที่สุด 3 ลำดับแรกคือ (1) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (89%) (2) พยาบาล (85 %) และ (3) พนักงานนวดแผนโบราณ (82 %) และค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ OSW สูงสุด 3 อันดับแรก คือ (1) พนักงานนวดแผนโบราณ 15.8(±11.25)% (2) แม่บ้าน 15.1(±14.19)% และ (3) พนักงานขับรถ 13.3(±12.05)% ผลจากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่า OSW โดยใช้ ANOVA สรุปได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่า OSW ของพนักงานผู้ให้บริการหลายอาชีพอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ได้แก่ อายุตัว อายุงานระยะเวลาในการทำงานเฉลี่ยต่อวัน ช่วงเวลาในการพักอิริยาบถในการทำงาน การเอี้ยวหรือบิดตัวและการก้มในขณะทำงาน และน้ำหนักของภาระที่ยก
จากการเปรียบเทียบวิธีการทำงานระหว่างพนักงานที่มีอาการปวดหลังมากกับพนักงานที่มีอาการปวดหลังน้อย โดยการสัมภาษณ์และศึกษาวิธีจากวิธีทำงานจริงและสร้างแผนภูมิกระบวนการปฏิบัติงาน สรุปได้ว่า พนักงานทั้ง 2 คนมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น แม่บ้านที่มีอาการปวดหลังมากจะก้มหลังยกภาระ และมีการก้มหลังและหมุนตัวในขณะถูพื้น ส่วนแม่บ้านที่มีอาการปวดหลังน้อยจะย่อเข่าเพื่อใช้แรงขาช่วยในการยกภาระและถูพื้นในแนวตรงไม่มีการหมุนตัว เป็นต้น

คำสำคัญ  ภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บ อุตสาหกรรมบริการ ระดับความรุนแรงของการปวดหลัง


Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550

การเปรียบเทียบ การประเมินท่าทางการทำงานโดยวิธีทางการยศาสตร์ ในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่

The Comparison of Ergonomics posture assessment methods in industry,
Chiang Mai Province

นิวิท เจริญใจ1 ชัยยุทธ วงศ์อัจฉริยา2 วันวิสา ติ๊บแก้ว3 ปาริชาต พีระเชื้อ4
E-mail: nivit@chiangmai.ac.th*
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200
Nivit Charoenchai1 Chaiyuth Wongs-utshariya2 Wanwisa Tipkaew3 Parichart Peerachur4
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200
E-mail: nivit@chiangmai.ac.th*


วัตถุประสงค์ : ทำการเปรียบเทียบผลจากการประเมินท่าทางการทำงานด้วยวิธีทางการยศาสตร์ คือ Ovako Working Posture Analysis System (OWAS), Rapid Upper Limp Assessment (RULA) และ The Strain Index

วิธีวิจัย : โดยการวิจัยเริ่มจากการศึกษาวิธีการประเมินท่าทางการทำงานทั้ง 3 วิธี จากนั้นเลือกโรงงานที่เห็นว่าคนงานมีภาระทางการยศาสตร์สูง เช่น มีท่าทางการทำงานที่เคลื่อนไหวแบบต่อเนื่อง การทำงานซ้ำซาก ผิดธรรมชาติ หรืองานที่ใช้แรงมากจำนวน 5 โรงงาน ซึ่งประกอบด้วย โรงงานเซรามิก โรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ 2 โรงงาน โรงงานทำอิฐ และโรงงานทำน้ำแข็ง โดยเลือกทำการศึกษาท่าทางการทำงานจำนวน 10 ท่าทางต่อหนึ่งโรงงาน โดยการเก็บข้อมูลด้วยการถ่ายวีดีโอ และทำการประเมินท่าทางการทำงานด้วยวิธีทั้ง 3 ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เมื่อได้ผลการประเมินแล้วจึงทำการเปรียบเทียบและสรุปผลการประเมินท่าทางการทำงาน รวมถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงท่าทางการทำงาน

ผลการวิจัย : ผลจากการประเมินท่าทางการทำงานด้วยวิธี OWAS RULA และ Strain Index มีความสอดคล้องกัน และจากการประเมินท่าทางการทำงานของ 5 โรงงาน พบว่า โรงงานเซรามิก โรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ และโรงงานทำอิฐ มีท่าทางการทำงานส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูงมาก ควรมีการแก้ไขวิธีการทำงาน หรือลักษณะท่าทางการทำงานโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และสำหรับ โรงงานทำน้ำแข็ง มีท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงเช่นกัน แต่อยู่ในระดับรองลงมาโดยควรมีการแก้ไขวิธีการทำงาน หรือลักษณะท่าทางการทำงานโดยเร็วในอนาคตอันใกล้ ซึ่งผลที่ได้เหล่านี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการค้นหาท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยง เพื่อทำการแก้ไข และปรับปรุงท่าทางการทำงานต่อไป

คำสำคัญ : การประเมินท่าทางการทำงาน, OWAS, RULA, Strain Index


Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550

การปรับปรุงสถานีงานโดยใช้หลักการยศาสตร์ : กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก

Workstation Improvement Utilizing Principles of Ergonomics : A Case Study of
A Plastic Production Factory

นพพร บุญประดับ1* ธนพล บุปผา2 ยุทธชัย บรรเทิงจิตร3
1,2,3ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เขตบางซื่อ กรุงเทพ 10800
E-mail: tanapon_bp@yahoo.com *
Nopphon Bunpradub1* Tanapon Buppha2 Yuthachai Bunterngchit3
1,2,3Department of Industrial Engineering, King Mongkut’s Institute of Technology
North Bangkok, Bangsue, Bangkok 10800
E-mail: tanapon_bp@yahoo.com *


วัตถุประสงค์ : เพื่อลดระดับอาการปวดหลังอัน เนื่องมาจากการทำงานของพนักงานโรงงานผลิตภัณฑ์ พลาสติกตัวอย่าง

ผลการวิจัย : จากการสำรวจสุขภาพพนักงานหญิง ส่วนล่าง 60 คน พบว่าพนักงานในหน่วยงานเครื่องเป่า ขึ้นรูปพลาสติกมีอาการปวดหลังมากที่สุดถึงร้อยละ 72.7 และมีค่าดัชนีความไม่ปกติ (AI) สูงที่สุดคือมีค่าเฉลี่ย 4.0(±0.2) โดยการคำนวณจากอาสาสมัคร 5 คน จึง จำเป็นต้องลดอาการปวดหลังของพนักงานที่สถานีงาน เครื่องเป่าขึ้นรูปพลาสติก
จากการศึกษารายละเอียดการ ทำงานของผู้ถูกทดลองและประเมินค่าคะแนนท่าทางการ ทำงานหรือ RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6.4(±0.6) และจากการวัด ค่า EMG ที่กล้ามเนื้อหลัง 4 จุด ได้แก่ Infraspinatus ด้านซ้ายและขวา Erector spinae ด้านซ้ายและขวามีค่า 47.2(±4.6)%, 55.5(±5.3)%, 39.8(±1.8)% และ 47.6(±4.1)% ของ MVE ตามลำดับ จึงปรับปรุงสถานีงาน โดยออกแบบและสร้างสถานีงานใหม่ และให้ทดลองใช้ 8 สัปดาห์ แล้ววัดค่าตัวแปรต่างๆหลังปรับปรุงสถานีงาน พบว่าผู้ถูกทดลองมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความไม่ปกติ 1.1(±0.1) มีค่าเฉลี่ยคะแนน RULA 2.2(±0.5) และมี ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ของ EMG ที่กล้ามเนื้อหลังเมื่อ เปรียบเทียบกับค่า MVE เป็น 29.4(±2.5)%, 33.7(±0.9)%, 19.4(±1.1)% และ 22.5(±1.6)% ตามลำดับ
ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่างๆ ก่อนและหลังปรับปรุงสถานีงาน โดยใช้สถิติ t พบว่า ค่าเฉลี่ยของดัชนีความไม่ปกติ ค่าเฉลี่ยของคะแนน RULA และค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ของ EMG ที่กล้ามเนื้อทั้ง 4 จุด เมื่อเปรียบเทียบกับค่า MVE ลดลงอย่างมี นัยสำคัญ (p<0.05)

คำสำคัญ : อาการปวดหลังส่วนล่าง ดัชนีความผิดปกติ สถานีงาน


Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ระดับเสียงดังสูงสุดที่สามารถทำให้ระดับการได้ยินกลับคืนสู่ สภาพปกติก่อนการทำงานในวันถัดไป

Maximum Level of Noise That Can Be Recovered to Normal
Before the Next Working Shift

นพพร บุญประดับ1* สมชาย พรชัยวิวัฒน์ 2 ยุทธชัย บรรเทิงจิตร3
1,2,3ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1518 ถนนพิบูลสงคราม บางซื่อ กทม 10800
E-mail: aunnopphon@hotmail.com*
Nopphon Boonyapradub1* Somchai Pornchaivivat2 Yuthachai Bunterngchit3
1,2,3 Department of Industrial Engineering, King Mongkut’s Institute of Technology
1518 Pibulsongkram Rd., Bangsue, Bangkok 10800
E-mail: aunnopphon@hotmail.com *


วัตถุประสงค์ : การกำหนดระดับเสียงที่เป็นอันตรายต่อการได้ยิน

วิธีการ : ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของ ระดับการเริ่มได้ยินของหูของพนักงานหญิงจำนวน 120 คน มีอายุระหว่าง 18-26 ปี อายุงานระหว่าง 0-2 ปี และ มีระดับการได้ยินปกติโดยศึกษา 30 คนต่อ 1 ระดับเสียง อาสาสมัครไม่ใส่อุปกรณ์ปกป้องอันตรายส่วนบุคคล (PPD/PPE) และมีลำดับการทดลองแบบสุ่ม โดยทดลอง คนละ 24 ครั้ง ก่อนและหลังการทำงานแต่ละวัน โดยใช้ โปรแกรม MINITAB V.13 มาวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัย : จากการทดลองนี้และสรุปว่า
(1) แผนกขึ้นรูปโรงงานกระเบื้องดิน เผาและเซรามิกมีระดับเสียง 73.96 dB(A)ระดับการเริ่ม ได้ยินเฉลี่ยก่อนและหลังการทำงานไม่มีความแตกต่างกัน
(2) แผนกลงคัดเลือก ในโรงงานเดียวกันมีระดับเสียง 82.95 dB(A) ระดับการเริ่มได้ยินเฉลี่ยก่อน และ หลัง การทำงานไม่มีความแตกต่างกัน
(3) แผนก A-POLY โรงงานทออวนมีระดับเสียง 90.08 dB(A) ระดับการเริ่มได้ยินเฉลี่ยก่อนและหลังมีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ (p<0.05) มีค่าเฉลี่ยระดับการได้ยินที่ความถี่ 500-2000 Hz เท่ากับ 22.44 dB ซึ่ง อยู่ในระดับหูปกติโดยแนวโน้มเริ่มเข้าใกล้ระดับหูตึง เล็กน้อย และผลต่างการเริ่มได้ยินก่อนทำงานใน 2 วัน ติดต่อกันเฉลี่ย 13.2 dB
(4) แผนกทอผ้าชั้น2 โรงงานทอ ผ้า มีระดับเสียง 101.97 dB(A) ระดับการเริ่มได้ยินเฉลี่ย ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ (p<0.05) มีค่าเฉลี่ยระดับการได้ยินที่ความถี่ 500-2000 Hz เท่ากับ 25.58 dB ซึ่งอยู่ในระดับหูตึงน้อยและผลต่าง การเริ่มได้ยินก่อนทำงานใน 2 วันติดต่อกันเฉลี่ย 22.5 dB

สรุป : ได้ว่าระดับเสียงที่เป็นอันตรายต่อหู เริ่มขึ้นที่ ระดับเสียงเฉลี่ย 90.08 dB(A)
คำสำคัญ : การสูญเสียการได้ยิน ระดับการเริ่มได้ยิน ระดับการเริ่มได้ยินปกติ

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550

การลดอาการปวดหลังส่วนล่างของพนักงานเตรียมผ้า..กรณีศึกษาโรงงานย้อมผ้าถัก

The Study and Comparison of Employees’ Low Back Pain in Manufacturing
Industries

นิธิดา จิรโชคนุเคราะห์ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร*
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*

วัตถุประสงค์ : เพื่อลดระดับอาการปวดหลังอันเนื่องมาจากการทำงานของพนักงานในโรงงานย้อมผ้าถักตัวอย่าง

ผลการวิจัย : แผนกโกดังผ้าดิบ มีดัชนีความไม่ปกติ (AI) สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น ๆ คือมีค่าเฉลี่ย 3.4 ซึ่งหมายถึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข จากนั้นสุ่มตัวอย่างพนักงานในแผนกโกดังผ้าดิบ 5 คนและศึกษาค่า RULA, EMG และแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 ในขณะทำงานปกติคือยกม้วนผ้าหนัก 40 กก. คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 7 การวิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ได้ค่าเฉลี่ยกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างด้านซ้ายและขวา คิดเป็น 68.8% และ 59.1% ของสัญญาณไฟสูงสุดของกล้ามเนื้อ ตามลำดับ
จากการคำนวณค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 ได้ค่าสูงสุด 6,025.5 N. จึงได้ปรับปรุงการทำงานโดยการใช้โต๊ะปรับระดับและทำการทดลอง 2 วิธี คือ (1) ให้อาสาสมัครดึงม้วนผ้าออกจากพาลเล็ทแทนการก้มยก (2)ให้อาสาสมัครดึงม้วนผ้าออกจากพาลเล็ทและใช้แผ่นพลาสติกรองระหว่างม้วนผ้าผลการทดลองวิธีแรกได้สัญญาณ EMG 58.2% และ 49.1% ตามลำดับ คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6 ค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูกL5/S1 มากที่สุด 5,835.9 N.
ผลการทดลองวิธีหลังได้สัญญาณ EMG 34.9% และ 27.8% ตามลำดับ คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6 ค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูกL5/S1 มากที่สุด 3,748.8 N.

สรุป : การเปลี่ยนท่าทางการทำงานใหม่และนำแผ่นพลาสติกมารองระหว่างม้วนผ้ามีผลทำให้ลดการบาดเจ็บหลังส่วนล่างลงได้

คำสำคัญ : สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) หมอนรองกระดูก L5/S1 โต๊ะปรับระดับ


Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550

การกำหนดน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้สำหรับการยกภาระด้วยมือ โดยใช้แบบจำลองทางชีวกลศาสตร์

The Determination of Maximum Acceptable Weight for Manual Lifting by
Using Biomechanical Model

นรินทร์ จี้ส้ม* ยุทธชัย บรรเทิงจิตร
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
E-mail: Narin_jeesom@yahoo.com *
Narin Jeesom* Yuthachai Bunterngchit
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering,
King mungkut’s institute of technology noth bankok, Bangsu, bankok 10800
E-mail: Narin_jeesom@yahoo.com *

วัตถุประสงค์ : การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการยกภาระด้วยมือ เพื่อหาค่าน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ที่ทำให้เกิดความปลอดภัยในการยกภาระ

วิธีทำ : โดยใช้วิธีการทางชีวกลศาสตร์ทั้งในสภาวะสถิตและสภาวะพลวัต ในการหาค่าแรงและโมเมนต์ที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างบริเวณ L5/S1 เทียบกับค่าแรงกดอัดที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำของ NIOSH และเทียบกับสมการคำนวณค่า Compressive Strength ซึ่งมีปัจจัยที่ทำการศึกษา 5 ปัจจัย คือ น้ำหนักในการยก (W) ความสูงในการยก (H) ความถี่ในการยก (F) ลักษณะการยก (L) และท่าทางการยก (M)

ผลการทดสอบ : ปัจจัยทั้งหมดมีผลต่อค่าแรงกดอัดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างบริเวณL5/S1 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในส่วนของปัจจัยร่วมไม่มีผลต่อค่าแรงกดอัด ซึ่งสามารถแสดงโมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการคำนวณค่าแรงกดอัดได้ดังสมการ FC=1638 + 117(W) + 6.11(H) + 71.6(F) - 276(L)-104(M) และสามารถแสดงโมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการคำนวณค่านํ้าหนักสูงสุดเทียบกับค่า Action Limit ได้ดังสมการ WAL = 15.060 - 0.052(H) - 0.612(F)+ 2.359(L) + 0.889(M) และคำนวณค่านํ้าหนักสูงสุดเทียบกับค่า Compressive Strength ได้ดังสมการ WCS =24.59 - 0.052(H) - 0.612(F) + 2.359(L) + 0.889(M)

คำสำคัญ : วิธีการทางชีวกลศาสตร์, แรง, โมเมนต์, สภาวะสถิต, สภาวะพลวัต


Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550

ผลการทดสอบการประเมินงานยกของด้วยมือด้วยโปรแกรม ML-Expert ในโรงงานตัวอย่าง

ML-Expert System Testing Result for Evaluation of Manual Lifting Task
in the Sample Factories

ประจวบ กล่อมจิตร
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม 73000, โทร.034-219362, 081-8069875 E-mail: prachuab@su.ac.th
Prachuab Klomjit
Department of Industrial Engineering and Management, Faculty of Engineering and
Industrial Technology, Silpakorn University, Muang, Nakornpathom 73000
E-mail: prachuab@su.ac.th

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินและปรับปรุงงานของกลุ่มที่ใช้โปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญที่พัฒนาขึ้นโดยตั้งชื่อว่า “ML-Expert” กับกลุ่มที่ใช้วิธีปกติปรับปรุงงาน

วิธีการ : การทดสอบใน 3 โรงงานโดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 กลุ่ม เปรียบเทียบกันระหว่าง กลุ่มที่ใช้โปรแกรมและกลุ่มที่ใช้สมการ RLE (NIOSH Revised Lifting Equation 1991) โดยใช้กระบวนการกลุ่มพัฒนาวิธีการทำงาน QCC ซึ่งใช้รอบระยะเวลาครั้งละ 1 เดือนเป็นเวลา 5 เดือน

ผลการวิจัย : พบว่าใน 9 ประเด็น คือ จากแบบสัมภาษณ์พนักงาน (AI:Abnormal Index) การวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ที่หมอนรองกระดูก L5/S1 การวิเคราะห์ LI (Lifting Index) ตามสมการ RLE ร้อยละของการนำไปใช้งาน ความพอใจในระบบ ประสิทธิภาพการปรับปรุง เวลาที่ใช้ในการคำนวณอัตราการผลิตและของเสีย คุณภาพชีวิต (ความเมื่อยล้าการเจ็บป่วย และการหยุดงาน)ระบบผู้เชี่ยวชาญที่สร้างขึ้น มีผลการทดสอบที่ดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยเฉพาะ ในด้านประสิทธิภาพการปรับปรุง เวลาที่ใช้ปรับปรุง ความพึงพอใจ อัตราการผลิต มีระดับที่ดีกว่าวิธีการอื่นอย่างมีนัยสำคัญในระดับความเชื่อมั่น 95%

คำสำคัญ : การยศาสตร์  ระบบผู้เชี่ยวชาญ งานยกของด้วยมือ  การประเมินภาระงาน

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550

การประเมินผลกระทบของอุณหภูมิต่อการสวมใส่เข็มขัดรัดหน้าท้องในงานยก โดยวิธีการทางการยศาสตร์

The Effect of Ambient Temperature on Wearing Back Belt

หฤทัย โลหะศิริวัฒน์1* ธนิน ดำรงผาติ2 วรพจน์ สกุลเทอดเกียรติ3
1,2,3ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเพทฯ 10330
E-mail: paklinkz@hotmail.com*
Haruetai Lohasiriwat1* Tanin Dumrongpati2 Vorapoj Sakulterdkiat3
1,2,3Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn
University, Patumwan, Bangkok 10330

วัตถุประสงค์ : การศึกษานี้เป็นการพิจารณาผลกระทบของการใส่เข็มขัดรัดหน้าท้องขณะทำการยกของในระนาบเดียวต่อตัวแปรที่แสดงค่าภาระงานตามวิธีทางการยศาสตร์ ทั้งทางกายและจิตใจ

วิธีการ : การพิจารณาค่าเฉลี่ยโมเมนต์ที่กระทำที่หลังส่วนล่าง อัตราการเต้นหัวใจ การประเมินภาระงานด้วยแบบสอบถาม Borg Scale และค่าสูงสุดของการประเมินน้ำหนักยกที่ยอมรับได้ด้วยตนเอง (Maximum acceptable weight limit, MAWL) ภาวะอุณหภูมิที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 25 และ 30 องศาเซลเซียส การทดลองกระทำกับอาสาสมัครชาย 8 คน

ผลการศึกษา : การใช้เข็มขัดรัดหน้าท้องในภาวะอุณหภูมิต่างๆไม่ส่งผลให้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทุกตัวแปรที่ศึกษา โดยพบแต่ความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ดังนี้ การใช้เข็มขัดรัดหน้าท้อง จะมีผลให้ภาระทางกายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับไม่ใช้เข็มขัด (ค่าเฉลี่ยโมเมนต์ที่หลังส่วนล่าง 80.14 และ 82.38 นิวตัน-เมตร อัตราการเต้นหัวใจ 115.1 และ 116.7 ครั้ง/นาที ตามลำดับ) การทำงานในภาวะอุณหภูมิต่ำ จะมีผลให้ภาระทางกายน้อยกว่าการทำงานในภาวะอุณหภูมิสูง (ค่าเฉลี่ยโมเมนต์ที่หลังส่วนล่าง 80.87 และ 81.65 นิวตัน-เมตร อัตราการเต้นหัวใจ 115.0 และ 116.8 ครั้ง/นาที ตามลำดับ) ในขณะที่ การประเมินทางด้านจิตวิทยาพบว่า การทำงานในอุณหภูมิสูง จะได้ผลการประเมินภาระทางใจมากกว่าในอุณหภูมิต่ำจากการประเมินค่า Borg Scale คือ 13 และ 12 ตามลำดับในขณะที่ค่า MAWL ประเมินได้ 15.0 กิโลกรัม ทั้งสองกรณี ส่วนการใส่หรือไม่ใส่เข็มขัดรัดหน้าท้องไม่ทำให้ผลการประเมินเปลี่ยนไปทั้งสองตัวแปร คือ การประเมิน Borg Scale เท่ากับ 13 และ MAWL เท่ากับ 15.1 ทั้งสองกรณี
อย่างไรก็ตาม จาการสัมภาษณ์พบว่า เข็มขัดรัดหน้าท้องจะเพิ่มความรู้สึกเหนื่อยล้าหากต้องสวมใส่ในภาวะอุณหภูมิสูง เนื่องจากความอึดอัด และรำคาญจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลกระทบต่อภาระงานทางจิตใจเมื่อพิจารณาทั้ง 2 ปัจจัย (การใส่เข็มขัด และอุณหภูมิการทำงาน) ร่วมกัน

คำสำคัญ เข็มขัดรัดหน้าท้อง  อุณหภูมิ  ยก  การยศาสตร์

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550

การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ



ประจำปี พ.ศ. 2551


  1. เจษฎา กาญจนภัทรานนท์, จรรยา จิตราพิเนตร, วิชัย วนดุรงค์วรรณ, & ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2551). การศึกษาและเปรียบเทียบภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บของพนักงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  2. ธนชิต ขันทราช และ นิวิท เจริญใจ. (2551). ระยะเวลาการทำงานและหยุดพักที่เหมาะสมเพื่อลดความล้าในพนักงานตรวจสอบคุณภาพขวดกะกลางคืนของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  3. ภัทธีรา ม้วนจั่น และ นิธิศ บริสุทธิ์. (2551). การศึกษาความสามารถและทักษะในการประเมินและบริหารอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่น กรณีศึกษาบุคลากรในโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่ง. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  4. ศิลปชัย วัฒนเสย. (2551). การนำเทคนิค 5ส มาประยุกต์ใช้ในงานเคเบิลสายโทรศัพท์. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  5. สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์ และ จักรนรินทร์ ฉัตรทอง. (2551). การศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนระดับอนุบาลชายและหญิงในภาคใต้ของประเทศไทย. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  6. สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์ และ พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์. (2551). การศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  7. อดุลย์ โอวสุวรรณกุล, ภาณุเดช แสงสีดำ และ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2551). การศึกษาเบื้องต้นเพื่อลดอาการปวดหลังของเกษตรกร : กรณีศึกษาชาวนาใน 3 ตำบลของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประจำปี พ.ศ. 2550


  1. Ungul Laptaned. (2550). Developing a Tree Stem Small Grinding Car by Considering Ergonomic and Anthropometry. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  2. กฤษดา พิมพ์สกุล, อนุสรณ์ แสงสวัสดิ์ และ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2550). การศึกษาเบื้องต้นเพื่อกำหนดรูปทรงใบหน้าคนไทย : กรณีศึกษานักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  3. นพฉัตร วิริยานุกูล และ พงศิริ จงกล. (2550). การศึกษาผลกระทบจากการทำงานของคนงานตัดหญ้า. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  4. นพพร บุญประดับ, ธนพล บุปผา และ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2550). การปรับปรุงสถานีงานโดยใช้หลักการยศาสตร์ : กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  5. นพพร บุญประดับ, สมชาย พรชัยวิวัฒน์ และ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2550). ระดับเสียงดังสูงสุดที่สามารถทำให้ระดับการได้ยินกลับคืนสู่สภาพปกติก่อนการทำงานในวันถัดไป. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  6. นรินทร์ จี้ส้ม และ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2550). การกำหนดน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้สำหรับการยกภาระด้วยมือ โดยใช้แบบจำลองทางชีวกลศาสตร์. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  7. นริศ เจริญพร, ฌานนท์ พูนกวิน, & จิรายุ ยุวธานนท์. (2550). การพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อการออกแบบทางด้านการยศาสตร์ กรณีศึกษาในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  8. นิธิดา จิรโชคนุเคราะห์ และ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2550). การลดอาการปวดหลังส่วนล่างของพนักงานเตรียมผ้า..กรณีศึกษาโรงงานย้อมผ้าถัก. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  9. นิธิพงศ์ วิไลพันธุ์ และ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2550). การศึกษาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างพื้นเดินและพื้นรองเท้า ภายใต้สภาวะพื้นผิวที่แตกต่างกัน. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  10. นิธิพงศ์ วิไลพันธุ์, จิราภรณ์ จันทร์สว่าง, ยุทธชัย บันเทิงจิตร และ ชัยพร วงศ์พิศาล. (2550). การลดเวลาในการตรวจสอบสายเคเบิลอินฟินิแบนด์ กรณีศึกษาแผนกตรวจสอบ โรงงานผลิตสายเคเบิล. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  11. นิวิท เจริญใจ, ชัยยุทธ วงศ์อัจฉริยา, วันวิสา ติ๊บแก้ว และ ปาริชาต พีระเชื้อ. (2550). การเปรียบเทียบ การประเมินท่าทางการทำงานโดยวิธีทางการยศาสตร์ ในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  12. ประจวบ กล่อมจิตร. (2550). ผลการทดสอบการประเมินงานยกของด้วยมือด้วยโปรแกรม ML-Expert ในโรงงานตัวอย่าง. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  13. มณีรัตน์ ปัจฉิมะศิริ, & ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2550). การศึกษาขนาดเท้าของคนงานไทยในอุตสาหกรรม. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  14. มณีรัตน์ ปัจฉิมะศิริ, วิรุฬห์ พูนลาภทวี, & ยุทธชัย บรรเชิงจิตร. (2550). การศึกษาขนาดร่างกายของผู้พิการและทุพพลภาพช่วงล่างไทย. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  15. ยุทธชัย บรรเทิงจิตร และ กฤษดา พิมพ์สกุล. (2550). การศึกษาขนาดสัดส่วนชายไทยในอุตสาหกรรม. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  16. เสาวนิตย์ จันทนโรจน์, วุฒิชัย ชนินทร์ประเสริฐ และ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร. (2550). การวัดสัดส่วนร่างกายผู้สูงอายุไทย. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  17. หฤทัย โลหะศิริวัฒน์, ธนิน ดารงผาติ และ วรพจน์ สกุลเทอดเกียรติ. (2550). การประเมินผลกระทบของอุณหภูมิต่อการสวมใส่เข็มขัดรัดหน้าท้องในงานยก โดยวิธีการทางการยศาสตร์. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  18. เอกรัตน์ โภคสวัสดิ์, นภาพร รักบ้านเกิด, ยุทธชัย บรรเทิงจิตร และ วิชัย วนดุรงค์วรรณ. (2550). การศึกษาและเปรียบเทียบภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บในกลุ่มอาชีพพนักงานผู้ให้บริการ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2550. ณ โรงแรม Royal Phuket City จังหวัดภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.