The
Determination of Maximum Acceptable Weight for Manual Lifting by
Using
Biomechanical Model
นรินทร์ จี้ส้ม* ยุทธชัย บรรเทิงจิตร
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
E-mail:
Narin_jeesom@yahoo.com *
Narin Jeesom* Yuthachai
Bunterngchit
Department of
Industrial Engineering, Faculty of Engineering,
King mungkut’s
institute of technology noth bankok, Bangsu, bankok 10800
E-mail:
Narin_jeesom@yahoo.com *
วัตถุประสงค์
: การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการยกภาระด้วยมือ
เพื่อหาค่าน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ที่ทำให้เกิดความปลอดภัยในการยกภาระ
วิธีทำ
: โดยใช้วิธีการทางชีวกลศาสตร์ทั้งในสภาวะสถิตและสภาวะพลวัต
ในการหาค่าแรงและโมเมนต์ที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างบริเวณ L5/S1 เทียบกับค่าแรงกดอัดที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำของ
NIOSH และเทียบกับสมการคำนวณค่า Compressive Strength ซึ่งมีปัจจัยที่ทำการศึกษา
5 ปัจจัย คือ น้ำหนักในการยก (W) ความสูงในการยก (H) ความถี่ในการยก (F) ลักษณะการยก (L) และท่าทางการยก (M)
ผลการทดสอบ
: ปัจจัยทั้งหมดมีผลต่อค่าแรงกดอัดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างบริเวณL5/S1 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในส่วนของปัจจัยร่วมไม่มีผลต่อค่าแรงกดอัด
ซึ่งสามารถแสดงโมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการคำนวณค่าแรงกดอัดได้ดังสมการ FC=1638 + 117(W) + 6.11(H) + 71.6(F) - 276(L)-104(M) และสามารถแสดงโมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการคำนวณค่านํ้าหนักสูงสุดเทียบกับค่า
Action Limit ได้ดังสมการ WAL = 15.060 - 0.052(H) - 0.612(F)+ 2.359(L) + 0.889(M)
และคำนวณค่านํ้าหนักสูงสุดเทียบกับค่า Compressive
Strength ได้ดังสมการ WCS =24.59
- 0.052(H) - 0.612(F) + 2.359(L) + 0.889(M)
คำสำคัญ : วิธีการทางชีวกลศาสตร์, แรง, โมเมนต์, สภาวะสถิต, สภาวะพลวัต
Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550