วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Publications


วชิระ เพ็ชรราม และ กลางเดือนโพชนา
"ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงาน
กรณีศึกษาฐานผลิตแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่ง อ่าวไทย"
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 2559

จุฑาทิพย์ วิญญูเจริญกุล และ กลางเดือน โพชนา
"การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยวิธี ROSA"
วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558)

กลางเดือน โพชนาและองุ่น สังขพงศ์
"การประมาณค่าขนาดสัดส่วนร่างกายเพื่อการออกแบบโต๊ะเก้าอี้เรียน"
วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีที่ 23 ฉบับที่ 2
ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2558






กลางเดือน โพชนา และ องุ่น สังขพงศ์, "ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กกรณีศึกษา นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์," วารสารสาธารณสุขศาสตร์, vol. 44, no. 2, พฤษภาคม-สิงหาคม2557. 

รัตนา กูเล็ม, กลางเดือน โพชนา, และ องุ่น สังขพงศ์, "ความสอดคล้องของขนาดโต๊ะเก้าอี้นักเรียนกับขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา," วิศวกรรมสาร มข.,vol. 41, no. 4, ตุลาคม-ธันวาคม 2557. 

ณัชยา แซ่เจิ้น, กลางเดือน โพชนา, และ องุ่น สังขพงศ์, "ความชุกและปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง: กรณีศึกษา สถานีขนส่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา," วารสารวิจัยมข., vol. 19, no. 1, pp. 107-118, มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557. 

กลางเดือน โพชนา และ องุ่น สังขพงศ์, "ความเหมาะสมของโต๊ะและเก้าอี้ในห้องเรียนกับขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1,"วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, pp. 18-27, มกราคม-เมษายน 2556. 

องุ่น สังขพงศ์, กลางเดือน โพชนา, และ วรพล เอื้อสุจริตวงศ์, "การปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่า:กรณีศึกษาโรงงานอาหารทะเลแปรรูปแห่งหนึ่ง,"วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, vol. 23, no.3, pp. 654-663, 2556.

International Publications:
Chatree Homkhiew, ThanateRatanawilai, and Klangduen Pochana, "Application of a quality functiondeployment technique to design and develop furniture products," SongklanakarinJournal of Science and Technology, vol. 34, no. 6, pp. 663-668,November-December 2012.

Klangduen Pochana and Keller Jurg., "Study of factors affecting simultaneous nitrification and denitrification (SND)," Wat. Sci. Tech., vol. 39, no. 6, pp. 61-68, 1999.

Klangduen Pochana, Keller Jurg, and Lant Paul, "Model development for simultaneous nitrification and denitrification," Wat. Sci. Tech., vol. 39, no. 1, pp. 235-243, 1999.

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (พระนครเหนือ)

ตั้งแต่ พ.ศ. 2549-2556




  1. กณพ วัฒนา, กุสุมา ผลาพรม, สุทิติ ขัตติยะ, และ สมิตร ส่งพิริยะกิจ. (2556). การพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (TABLET) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจงานก่อสร้าง. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 9(2).
  2. ตรีเนตร ยิ่งสัมพันธ์เจริญ, ชิระ เด่นแสงอรุณ, และ วัลลภ พัฒนพงศ์. (2556). แนวทางการปรับปรุงการผลิตกระบวนการลากขึ้นรูปลึกชิ้นงานไส้กรองอากาศ โดยวิธีไฟน์เอลิเมนต์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 9(1),103-110.
  3. วีรชัย มัฎฐารักษ์และ วิมล จันนินวงศ์. (2553). การเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร : กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารสัตว์วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 18-24.
  4. มานพ ชูนิล, พิสมัย รักจรรยา, และ ชวนีย์ พงศาพิชณ์. (2550). วิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 3(2),42-51.
  5. วัลลภ พัฒนพงศ์, ไพรัตน เสียงดัง, และ ธนพัฒน์ ไชยแสน. (2549). การศึกษาการจัดระบบความปลอดภัยในโรงงานการผลิตใน บริษัท อะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 2, 71-76.
  6. นราธิป แสงซ้ายและ จีรศักดิ์ ซ้ายสุวรรณ. (2549). การจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถวอย่างเหมาะสม โดยวิธีการผสมผสานด้วยการจำลองสถานการณ์ และวิธีประมาณการ โดยการสุ่มหาคำตอบวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 2.



การจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถวอย่างเหมาะสม โดยวิธีการผสมผสานด้วยการจำลองสถานการณ์ และวิธีประมาณการ โดยการสุ่มหาคำตอบ

นราธิป แสงซ้าย, จีรศักดิ์ ซ้ายสุวรรณ

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยครั้งนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมสำหรับการแก้ปัญหาการจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถว

วิธีการ : โดยใช้วิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm: GA) ร่วมกับการใช้การจำลองสถานการณ์ (Simulation) เพื่อให้ผลคำตอบของการจัดวางผังเครื่องจักรสามารถตอบสนองสมการเป้าหมายหลายด้านได้ (Multi-objective functions) ซึ่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการขนส่งระหว่างเครื่องจักรต่ำ สัดส่วนการทำงานของเครื่องจักร (Utilization Of Machine) ระยะเวลาเฉลี่ยของชิ้นงานในระบบ(Mean Flow Time) เวลาการรอคอยที่เกิดขึ้นในระบบ (Waiting time) จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ และงานที่กำลังทำอยู่ในระบบ(Work In Process)

ผลการวิจัย : ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์หลักการวิธีเชิงพันธุกรรม และการใช้การจำลองสถานการณ์ สามารถช่วยในการจัดผังโรงงานให้ตอบสนองสมการเป้าหมายหลายด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : ปัญหาการจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถว, วิธีเชิงพันธุกรรม ,การจำลองสถานการณ์


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  ปที่ 2 ฉบับพิเศษ (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ป) สิงหาคม 2549

การศึกษาการจัดระบบความปลอดภัยในโรงงานการผลิตใน บริษัท อะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด

Case Study of Safety Management in Production Factory of Atom Manufacturing Co., Ltd.

วัลลภ พัฒนพงศ 1 ไพรัตน เสียงดัง 2 ธนพัฒน ไชยแสน 2
1 อาจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 นักศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วัตถุประสงค์ : การจัดระบบความปลอดภัยในโรงงานผลิต กรณีศึกษา บริษัทอะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความปลอดภัยในการ ทำงานลดการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ทำให้พนักงานมีความรู้ในเรื่องการดูแล และป้องกันอุบัติเหตุ และเพื่อหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้

วิธีการ : แบ่งลำดับการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักดังนี้คือ ศึกษาข้อมูลและวางแผน ในขั้นตอนนี้จะศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆในเรื่องความปลอดภัย ส่วนขั้นตอนในการดำเนินงานจะเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตใน บริษัท อะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่งจำกัด แล้วทำการเก็บข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดอันตราย และแนว ทางในการป้องกันอันตราย ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือ จัดทำสื่อความปลอดภัย ในการจัดทำสื่อความปลอดภัยนั้น ยังแบ่งย่อยดังนี้คือ การรณรงค์เกี่ยวกับความปลอดภัย การจัดกิจกรรม 5 ส. ในงานความปลอดภัย และการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในโรงงาน

ผลการดำเนินงาน : ผลที่ได้จากการดำเนินงานสามารถทำให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการใช้เครื่องจักร การส่งเสริมการทำงานที่ปลอดภัย และแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ

คำสำคัญ : ความปลอดภัย, กรณีศึกษา, แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปที่ 2 ฉบับพิเศษ (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ป) สิงหาคม 2549 

วิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Students’ Techniques in Managing Stress at King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok
มานพ ชูนิล 1 พิสมัย รักจรรยา 2 และ ชวนีย์ พงศาพิชณ์ 3

1 รองศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด วิธีการจัดการ ความเครียด และปัญหาที่ประสบในการจัดการความเครียดของนักศึกษา

วิธีการ : กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 478 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความเครียดของ กรมสุขภาพจิต

ผลการวิจัย : ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความเครียดอยู่ในระดับปกติร้อยละ 51.43 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดอันดับหนึ่ง คือ กลัวอ่านหนังสือไม่ทัน ร้อยละ 89.7 อันดับสอง คือ กลัวทำข้อสอบไม่ได้ ร้อยละ 89.5 วิธีการจัดการความเครียดที่ใช้กันมากอันดับ หนึ่ง คือ ดูหนัง ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ ร้อยละ 97.5 อันดับสองคือ ทำจิตใจให้สงบ ยอมรับสถานการณ์ ปล่อยวาง ปลงให้ได้ ร้อยละ 90.2 ปัญหาที่ประสบในการจัดการความเครียด อันดับหนึ่ง คือ ขี้เกียจและง่วงนอนอยู่เสมอ ร้อยละ 73.4
เมื่อเปรียบเทียบระดับ ความเครียดของนักศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาการจราจร ปัญหาสภาพแวดล้อม พบว่าไม่มีความ แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบระดับความเครียดของนักศึกษาจำแนกตามปัญหาการสอบ การคบเพื่อน ความรัก ครอบครัว สุขภาพ ด้านการเงิน และด้านการงาน พบว่า มีระดับความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ : ความเครียด, วิธีการจัดการความเครียด


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม ธันวาคม 2550

การเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร : กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารสัตว์

Productivity by Method of OEE Improvement : A Case study in Feed Mill Factory
วีรชัย มัฎฐารักษ์ 1 และ วิมล จันนินวงศ์ 2

1 อาจารย์, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
2 ผู้จัดการโรงงาน, โรงงานผลิตอาหารสัตว์.

วัตถุประสงค์ : เพื่อต้องการเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีการ OEE หรือการปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวม ของเครื่องจักรอัดเม็ดในโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ

วิธีการ : โดยทำการศึกษาถึงเหตุที่มีผลทำให้ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่อง อัดเม็ดมีค่าต่ำด้วยวิธีการแก้ปัญหาแบบคิวซี สตอรี่ ของ JUSE

ผลการวิจัย : การวิเคราะห์ข้อมูลก่อนปรับปรุงด้วยผังก้างปลาพบว่าตัว แปรที่มีค่าต่ำมีอยู่ 2 ตัวแปร คือ ค่าความพร้อมของเครื่องจักรและค่าสมรรถนะเครื่องจักร ดังนั้นจึงได้จัดทำมาตรการตอบ โต้เหตุเพื่อปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรให้สูงขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3%
ภายหลังการปรับปรุงพบว่าค่า ประสิทธิผลโดยรวมในสายการผลิตที่ 2 เครื่องมีค่าสูงขึ้นจากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 74% สูงขึ้นเป็น 84% ส่วนสายการผลิตที่ 3 เครื่องมีค่าเฉลี่ย 75% สูงขึ้นเป็น 93%

คำสำคัญ : การเพิ่มผลผลิต , การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2553

แนวทางการปรับปรุงการผลิตกระบวนการลากขึ้นรูปลึกชิ้นงานไส้กรองอากาศ โดยวิธีไฟน์เอลิเมนต์

Production Improvement Modeling of Deep Drawing Process for Air Filter using Finite Element Method

ตรีเนตร ยิ่งสัมพันธ์เจริญ1* , ชิระ เด่นแสงอรุณ 2 และวัลลภ พัฒนพงศ์1
TrinetYingsamphancharoen1* , Chira Densangarung 2 and Wallop Pattanapong1

1 ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

2 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์,คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา * ผู้ติดต่อ, อีเมล์: trinet2518@hotmail.com รับเมื่อ 20กรกฎาคม 2555 ตอบรับเมื่อ 27 สิงหาคม 2555

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงการผลิตกระบวนการลากขึ้นรูปลึกชิ้นงานไส้กรองอากาศโดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ความเป็นมา : ถ้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 102 มม. ความสูง 145 มม. ซึ่งทำจากวัสดุเหล็กมาตรฐาน SPCEความหนา 0.6 มม. เดิมทีชิ้นงานที่ผลิตเกิดความเสียหายแตกและทิ้งเป็นจำนวนมากทำให้มีต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ดังนั้นการนำเสนอการปรับปรุงการออกแบบกระบวนการผลิตที่เหมาะสมทั้ง 5 ขั้นตอน

วิธีการ : โดยการกำหนดค่าอัตราส่วนการลากขึ้นรูป β=1.5, 1.5, 1.1, 1.8, และ 1.07 ตามลำดับในการวิเคราะห์กำหนดให้วัสดุมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนรูปในช่วงยืดหยุ่นและเปลี่ยนรูปถาวรตามสมการยกกำลังของ Ludwik โดยมีค่า K = 320 N/mm2 และ n = 0.085 คุณสมบัติไม่เท่ากันทุกทิศทาง Anisotropy ตามกฎของ Hill Lawโดยมีค่า r0=1.87 r45= 1.30 และ r90= 2.14

ผลการวิจัย : ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นความสามารถในการลากขึ้นรูปถ้วยทรงสูงซึ่งไม่สามารถทำได้ในขั้นตอนเดียว จำเป็นต้องลดอัตราส่วนการลากขึ้นรูปในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนแปลงความหนาชิ้นงานให้น้อยที่สุด
ผลการวิเคราะห์แสดงค่าความเครียดที่เกิดขึ้นบนชิ้นงานอยู่ในขอบเขตกราฟเกณฑ์การแตกหัก ชิ้นงานมีความหนาน้อยสุด 0.53 มม. โดยชิ้นงานไม่แตกและค่าความเค้นและความเครียดที่เกิดความเสียหายสามารถเปรียบเทียบกับทฤษฎี Gurson(GTN)การวิเคราะห์กระบวนการลากขึ้นรูปลึกชิ้นงานไส้กรองอากาศเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบขั้นตอนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพของชิ้นงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

คำสำคัญ : กระบวนการลากขึ้นรูปลึก,วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, อัตราส่วนการลากขึ้นรูป

Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี ที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม เมษายน 2556 

การพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (TABLET) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจงานก่อสร้าง

Development application on tablet for increase construction inspection efficiency

กณพ วัฒนา1*, กุสุมา ผลาพรม1, สุทิติ ขัตติยะ2, สมิตร ส่งพิริยะกิจ3
Kanop Wattana1* Kusuma Palaprom1 Sutiti Kattiya2 and Smith Songpiriyakij3

1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
2 คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
3 ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม,วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
* ติดต่อผู้วิจัย , E-mail: kanop_tm03@hotmail.com

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Tablet) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจงานก่อสร้าง และประเมินหาประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่มผู้ตรวจงานก่อสร้างระหว่างผู้ที่ได้ใช้และไม่ได้ใช้เครื่องมือนี้

วิธีการ : โดยเครื่องมือที่ได้สร้างขึ้นนั้นได้แบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วน คือ ฐานข้อมูลออนไลน์ และในคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (Tablet) โดยผู้ใช้สามารถตรวจติดตามงานก่อสร้างได้จากเวบไซต์ และสามารถบันทึกข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อบกพร่อง การปรับปรุงแก้ไขในงวดงานก่อสร้างในแต่ละงวดงานได้ เนื้อหาบนเครื่องมือนี้ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นโดยนำหลักการตรวจงานก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) มาใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการตรวจงานด้วย โดยมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการตรวจงานก่อสร้างและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมออกแบบโดยผ่านแบบประเมิน และนำไปประเมินหาประสิทธิภาพในการทำงานด้านการตรวจงานก่อสร้าง จากกลุ่มกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างจำนวน 30 คน ในโครงการก่อสร้างประเภทอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีหัวข้อการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน 5 ด้าน

ผลการวิจัย : ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพแต่ละด้าน พบว่าด้านประสิทธิภาพด้านความสะดวกและการติดต่อประสานงานในการตรวจงานก่อสร้างมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยรองลงมาคือด้านความสามารถในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจ และความโปร่งใสของบุคลากรในการตรวจงานก่อสร้าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เครื่องมือนี้ทำให้เกิดความสะดวก ความคล่องตัวในการตรวจงานก่อสร้างมากยิ่งขึ้นโดยคำนึงถึงการมีเวลาว่างในการไปตรวจงานที่ไม่ตรงกันของผู้ตรวจงาน และเครื่องมือนี้ยังทำให้ผู้ตรวจงานก่อสร้างโดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้ในด้านการตรวจงานก่อสร้าง ให้สามารถเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในงานก่อสร้างมากยิ่งขึ้น จากข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ เมื่อผู้ตรวจงานสามารถตัดสินใจในการตรวจงานเองได้จะส่งผลให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจงานตามไปด้วย

คำสำคัญ : การตรวจงานก่อสร้าง, โปรแกรมตรวจงานก่อสร้าง, คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาในการตรวจงาน


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี ที่ 9 ฉบับที่ 2 พฤษภาคมสิงหาคม 2556 

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2555


  1. จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. (2555). การคำนวณขนาดตัวอย่างวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(3), 192-198.
  2. ณัฐพงศ์ สิงห์สาธร และ จุฬาภรณ์ โสตะ. (2555). โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยทักษะชีวิตในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(3), 174-183.
  3. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน และ พัชรินทร์ อรุณเรือง. (2555). การสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทยในสองทศวรรษที่ผ่านมาวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(2), 67-78.
  4. ประภัสสร ฉันทศิริเวทย์ณันทิกา ฉัตรทองรัชติญา จำเริญดารารัศมี และ อรัญญา ตุ้ยคำภีร์. (2555). อิทธิพลของการจัดการปัญหาต่อความเครียดในการเรียนและความสุขในนักเรียนวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(1), 1-8.
  5. ปัทมา อินทร์พรหม และ ชัยชนะ นิ่มนวล. (2549). ความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 14(3),182-190.
  6. พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ, สวัสดิ์ เที่ยงธรรม และ คเชนทร์ พันธ์โชติ. (2549). ผลของการฝึกสติต่อความเครียด ความสุข และการประยุกต์ในชีวิตประจำวัน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 14(3),199-206.
  7. สินศักดิ์ สุวรรณโชติ และ วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์. (2547). ความเครียด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 12(1), 45-53.



วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

อิทธิพลของการจัดการปัญหาต่อความเครียดในการเรียนและความสุขในนักเรียน

ประภัสสร ฉันทศิริเวทย์, วท.บ.    ณันทิกา ฉัตรทอง, วท.บ.    รัชติญา จำเริญดารารัศมี, วท.บ.
อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์, ปร.ด.
คณะจิตวิทยา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนและความสุขในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีการจัดการปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 296 คน จากโรงเรียนภายในเขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ มาตรวัดความเครียดในการเรียน มาตรวัดการจัดการปัญหา และมาตรวัดความสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถอดถอยเชิงพหุคูณและวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านจากสูตรของ Sobel

ผลการศึกษา : ความเครียดในการเรียนและวิธีการจัดการปัญหา (แบบมุ่งจัดการกับปัญหา แบบแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม และแบบหลีกหนี) ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความสุขได้ร้อยละ 54 โดยความเครียดในการเรียนสามารถทำนายระดับความสุขได้ดีที่สุด รองลงมาเป็นการจัดการปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหาและการจัดการปัญหาแบบหลีกหนีตามลำดับ ส่วนการจัดการปัญหาแบบแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคมทำนายระดับความสุขได้น้อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบอิทธิพลส่งผ่านบางส่วนของการจัดการปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาและแบบหลีกหนีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนกับความสุข นั่นหมายความว่านอกจากความเครียดในการเรียนมีผลทางตรงต่อความสุขของนักเรียนแล้วยังมีผลทางอ้อมผ่านการปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหาและแบบหลีกหนีไปยังความสุข

สรุป : ความเครียดในการเรียนส่งผลต่อระดับความสุขของนักเรียน นักเรียนที่มีความเครียดในการเรียนสูงร่วมกับมีการจัดการปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาจะมีระดับความสุขมากกว่า ขณะที่นักเรียนที่มีความเครียดในการเรียนสูงร่วมกับมีการจัดการปัญหาแบบหลีกหนีมีความสุขน้อยกว่า

คำสำคัญ : การจัดการปัญหา  ความเครียด  ความสุข  นักเรียน

Credit : วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 ปี 2555

ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยทักษะชีวิตในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

ณัฐพงศ์ สิงห์สาธร, ..1 จุฬาภรณ์ โสตะ, ปร..2

 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการ กลุ่มในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตประยุกต์ จากแนวคิดทักษะชีวิต ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ จัดกิจกรรมรวม 5 ครั้ง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตใดๆ ประเมินผลคะแนนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต ทักษะชีวิตด้านความคิดสร้างสรรค์ และความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ ความตระหนักรู้ในตนเองและความเห็นใจผู้อื่น ความภูมิใจในตนเองและความ รับผิดชอบต่อสังคม การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา การจัดการ กับอารมณ์และการจัดการกับความเครียดและการปฏิบัติตัวในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต วิเคราะห์ความ แตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยสถิติ t-test

ผล : นักเรียนอายุเฉลี่ย 15 ปี เป็นหญิงทั้งหมด 28 คน ชาย 42 คน หลังการทดลอง คะแนนความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คะแนนทักษะชีวิตทุกด้าน และคะแนนการปฏิบัติตัวในการ ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการกลุ่มสูง กว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ

สรุป : โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการกลุ่ม ช่วยให้นักเรียนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนความรู้สุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ทักษะชีวิต และการปฏิบัติตัว ในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ : ทักษะชีวิต นักเรียนมัธยมศึกษา โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต

Credit : วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 ปี 2555

ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

ความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานคร

ปัทมา อินทร์พรหม, วท.. *
ชัยชนะ นิ่มนวล, ปร..*
* คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กรุงเทพมหานครในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจากโรงเรียนระดับมัธยม 12 โรงเรียน จำนวน 534 คน โดย 377 คนมาจากโรงเรียนรัฐบาล 6 โรงเรียน 90 คนจากโรงเรียนเอกชน 4 โรงเรียน และ 67 คนจากโรงเรียนสาธิต 2 โรงเรียน ใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวกับความเครียดในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และแบบสำรวจความเครียด Health Opinion Survey (HOS)

ผล : พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเครียดเฉลี่ย 34.2 (SD=6.42) จากค่าคะแนนที่เป็นไปได้ คือ 20-60 โดยค่าที่สูง หมายถึง เครียดมาก การวิเคราะห์ด้วย Multiple linear regression พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีคะแนนความเครียดสูงได้แก่ โรงเรียนเอกชนเมื่อเทียบกับโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนสาธิตนักเรียนที่มีเกรดน้อย ความไม่พร้อมในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และความคาดหวังที่มากของผู้ปกครอง

สรปุ : ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่มีปัจจัยดังกล่าวข้างต้นต่อความเครียดจาก Admissions ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

คำสำคัญ : ความเครียด การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

Credit : วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ปี 2549


ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

Intelligence Quotient survey of Thai children in two decades

Taweesin Visanuyothin, M.D. Patcharin Arunruang, MA.

Objective : This article has reviewed all National IQs survey in Thai children in past 22 years.

Materials and methods : Searching by using by Keywords are Intelligence Quotient survey, and Thai children in electronic data and published papers during 1989-2008, and used the content analysis.

Results : Seven large and significantly surveys were found. The main surveys were collected from primary school aged 6-13, used the stratifi ed three-stages cluster sampling. The IQ instruments were Thai Intelligence screening test TONI-2, TONI-3 and WISC-III. Field surveyors depend on the studies, some use primary health professionals, some use clinical psychologists in their studies.
The results have shown that mean IQs of Thai young children aged 3-5 have higher mean IQ (110.7) and children aged 6-18 are between 88 and 98.4. Bangkok was often found the highest mean IQ, while northern region and southern region were found the lowest mean IQs. Mean IQ score of children in city and urban show higher score than in rural are. Girls tend to have higher IQ score than boys in all studies.

Conclusion : The previous national IQs surveys show that school aged children have IQs below 100, and also less than toddlers. However, the result can’t conclude that Thai children get lower IQs when grow up due to the different populations in each study and also used different measurements in each time, resulting unable to compare the results. Thus government should set the standard for the national IQs survey and timing for the purpose of plans and Intelligence problem plans of Thai people.

Key words : Intelligence Quotient survey, Thai children

Credit : Journal of Mental Health of Thailand 2012; 20(2)

ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

การคำนวณขนาดตัวอย่าง

จุฬาลักษณ์ โกมลตรี, ปร..

ความเป็นมา : การคำนวณขนาดตัวอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็น ในการวางแผนงานวิจัยซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยทราบถึง ความเป็นไปได้ ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาของการ ศึกษา การคำนวณขนาดตัวอย่างต้องใช้ค่าประมาณ ต่าง ๆ เช่น ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ซึ่งได้จากการศึกษาในอดีตที่เหมือนกัน, คล้ายกัน ในบางแง่, ประสบการณ์ และความคาดหวังของ ผู้วิจัย แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งไม่เคยมีการศึกษา ลักษณะนี้ในอดีต ผู้วิจัยจึงไม่มีค่าต่างๆ ที่จำเป็นใน การคำนวณขนาดตัวอย่าง ทำให้ไม่สามารถคำนวณ ขนาดตัวอย่างได


สรุป : การคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ในประชากร จะกำหนดเฉพาะ α ไม่ต้องกำหนด β หรือ Power (1-β) เนื่องจาก ไม่มีสมมติฐานทางสถิติที่ต้องทดสอบและไม่มีการ รายงาน p-value ในผลการศึกษา เมื่อ α=0.05 สูตร การคำนวณขนาดตัวอย่างมาจากการกำหนด 95%CI ของค่าสัดส่วน (π, P) หรือของค่าเฉลี่ย (μ) ใน ประชากร

Creditวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 ปี 2555


ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

ความเครียด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

. สินศักดิ์สุวรรณโชติ, วท..*
วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์, พย..**
* โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต
** มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมา : ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพของหน่วยงานประการหนึ่งคือ บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน ดังนั้นการรับรู้ความเครียด และจัดการกับสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการพัฒนางาน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

วิธีการ : โดยใช้กรอบแนวคิด เกี่ยวกับความเครียดของ ลาซารัส และโฟล์คแมนกลุ่มตัว อย่างจำนวน 294 คนเป็นบุคลากรทุก ระดับ และทุกวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามระดับความเครียดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson correlation  coefficient) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการศึกษา : บุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.25 มีความเครียดระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุและ ระยะเวลาการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  จากการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่าสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน จำแนก ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1) ปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
2) กระบวนการปฏิบัติงาน
3) ผลการปฏิบัติงาน
4) ผลกระทบจากการปฏิบัติงาน
บุคลากรส่วนใหญ่มีความเครียดจากปัจจัยนำเข้าด้านการบริหารจัดการกับสถานการณ์นั้น โดยใช้วิธีจัดการกับอารมณ์ ผลการวิจัยช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงานและวิธีการจัดการกับสถานการณ์นั้นให้แนวทางการช่วยเหลือและ พัฒนาบุคลากรโดยส่งเสริมให้รับรู้ความเครียดในด้านบวกใช้วิธีการจัดการความเครียดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพปีประสิทธิภาพ และร่วมกันมุ่งพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลต่อไป

คำสำคัญ : ความเครียดในการปฏิบัติงาน สถานการณ์ความเครียด การจัดการความเครียด บุคลากรทางด้านสุขภาพจิต

Creditวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ปี 2547


ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

ผลของการฝึกสติต่อความเครียด ความสุข และการประยุกต์ในชีวิตประจำวัน

พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ, .. *
สวัสดิ์ เที่ยงธรรม, พย.. **
คเชนทร์ พันธ์โชติ, กศ.. **
*สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต
** โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

วัตถุประสงค์ : การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกสติที่มีความเครียดและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของบุคลากรโรงพยาบาลจิตเวชนครราชราชนครินทร์

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการ สร้างสุขด้วยการฝึกสติ” ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ที่สวนพุทธธรรม จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จำนวน 15 คน แนวคิดการฝึกใช้หลักมหาสติปัฏฐานสูตร ประเมินความเครียด และความสุขของกลุ่มเป้าหมายก่อน และหลังการฝึก และประเมินผลการนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันหลังการฝึกสติแล้ว 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต (2545) ดัชนีวัดสุขภาพจิตคนไทย และแบบสอบถามการนำแนวคิดการฝึกไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเครื่องมือที่สร้างขึ้นเองวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้  Friedman Test และ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผล : พบว่า หลังการฝึกสติ กลุ่มเป้าหมายมีระดับความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสุขหลังการฝึกเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญ ส่วนการนำไปประยุกต์หลังจากฝึก พบว่า กลุ่มเป้าหมายสามารถนำการฝึกสติไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เข้าใจและรู้จักตนเองได้มากขึ้น สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองและปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานและครอบครัวได้ดีมีสติในการดูแลผู้ป่วยมีความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น

สรุป : กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีลักษณะของผู้ที่มีเชาวน์อารมณ์และสภาพจิตที่ดีขึ้น

คำสำคัญ : สติ ความเครียด ความสุข

Creditวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ปี 2549

ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/


วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษา ในภาคใต้ของประเทศไทย

A Study of Anthropometry of Male and Female Elementary School Students
in the South of Thailand

สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์1* พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์2
1,2สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
.เมือง จ.สงขลา 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*
Surasit Rawangwong1* Panyos Worachetwarawat2
1,2Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology
Srivijaya, Muang, Songkhla 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย

วิธีการ : นักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 36 สัดส่วน โดยใช้เครื่องมือวัด 2 แบบ คือแบบที่ 1 ได้จัดสร้างขึ้นคือ เครื่องมือวัดความสูง ส่วนแบบที่ 2 คือเครื่องมือวัดคาลิปเปอร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชายและหญิง ช่วงอายุ 7-12 ปี จำนวน 700 คน เป็นนักเรียนชาย 350 คน และหญิง 350 คน

ผลการวิจัย : จากการเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงอายุ 7-12 ปี ในภาคใต้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ จำนวน 36 สัดส่วน สรุปได้ว่านักเรียนชายมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนหญิงเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้น ความสูงขณะยืน ความสูงระดับสายตาขณะยืน ความสูงระดับไหล่ขณะยืน ความสูงระดับสะโพก ความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวจากก้นถึงหัวเข่า ความยาวจากก้นถึงข้อพับเข่าความสูงของเข่าขณะนั่ง ความกว้างของสะโพก ความหนาของหน้าอก ระยะจากไหล่ถึงข้อศอก ระยะจากต้นแขนถึงปลายนิ้ว ระยะจากไหล่ถึงจุดศูนย์กลางมือขณะกำระยะกางแขน ระยะกางศอก ระยะเอื้อมแขนขึ้นเหนือศีรษะในท่านั่ง และระยะเอื้อมแขนด้านหน้า ที่นักเรียนชายจะมีขนาดต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
จากนั้นได้ทำการเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิง ที่ได้จากงานวิจัยนี้กับงานวิจัยในต่างประเทศ ดังนี้ เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศเม็กซิโก จำนวน 21 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนชายของประเทศเม็กซิโก เกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความสูงระดับนิ้วมือ ความกว้างของสะโพก ความยาวของศีรษะ ความกว้างของศีรษะ และความยาวของเท้า ที่งานวิจัยนี้จะมีขนาดต่ำ กว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนหญิงที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศเม็กซิโก จำนวน 21 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนหญิงของประเทศเม็กซิโก เกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวของศีรษะ ความกว้างของศีรษะ ความกว้างของสะโพก ความกว้างของมือความกว้างของเท้า และความยาวของเท้า ที่งานวิจัยนี้จะมีขนาดต่ำ กว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และได้เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายที่ได้
จากงานวิจัยนี้กับของประเทศอิหร่าน จำนวน 14 สัดส่วน สรุปได้ว่า งานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนชายของประเทศอิหร่านเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความลึกของอกและเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนหญิงจากงานวิจัยนี้กับนักเรียนหญิงของประเทศอิหร่าน จำนวน 14 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของเด็กนักเรียนหญิงของประเทศอิหร่านทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

คำสำคัญ : การยศาสตร์ ขนาดสัดส่วนร่างกาย นักเรียนชายและหญิง

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ระยะเวลาการทำงานและหยุดพักที่เหมาะสมเพื่อลดความล้าในพนักงาน ตรวจสอบคุณภาพขวดกะกลางคืนของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม

Appropriate working and rest period to relieve fatigue of night shift bottle
inspection staff in beverage factory

ธนชิต ขันทราช , นิวิท เจริญใจ
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
E-mail: Tan28516@rocketmail.com and Nivit@chiangmai.ac.th
Tanachit Khuntarat Nivit Charoenchai
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chiangmai University, Muang,
Chiangmai 50200
E-mail: Tan28516@rocketmail.com and Nivit@chiangmai.ac.th

ความเป็นมา : งานตรวจสอบคุณภาพขวดในโรงงานผลิตเครื่องดื่มเป็นงานที่ต้องใช้สายตาในการเพ่งมองและใช้ความคิดในการตัดสินใจคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพออกจากสายการผลิต การทำงานในเวลากลางคืนที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องจะทำให้พนักงานเกิดความล้าทางจิตใจ (Mental fatigue) ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และเพิ่มโอกาสการเกิดอุบัติเหตุในเวลางาน หนึ่งในวิธีการลดความล้าทางจิตใจคือการจัดเวลาการทำงานและเวลาพักที่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลถึงระดับของการลดความล้าทางจิตใจที่มีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและคัดเลือกระยะเวลาทำงานและหยุดพักที่ทำให้ความล้าทางจิตใจลดลงมากที่สุดในพนักงานตรวจสอบคุณภาพสินค้าเครื่องดื่มในสายการบรรจุกะกลางคืนจากช่วงเวลาพักที่สามารถปฏิบัติได้จริง

วิธีการ : ทำการวัดความล้าทางจิตใจโดยใช้แบบสอบถามทางจิตพิสัยและวัดค่าเวลาตอบสนอง (Reaction time) ในพนักงานตรวจสอบคุณภาพขวดของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม โดยทำการวัดก่อนและหลังการพักของการทำงานของพนักงานกะกลางคืน 12 คน และทำการวิเคราะห์ผลโดยวิธีทางสถิติเพื่อหาระยะเวลาทำงานและหยุดพักที่ทำให้ความล้าลดลงมากที่สุด

ผลการวิจัย : ระยะเวลาทำงานและพักที่เหมาะสมที่สุดคือทำงาน 60 นาทีและหยุดพัก 60 นาที

คำสำคัญ : Ergonomics, mental fatigue, shift work, inspection, reaction time, work rest

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การนำเทคนิค 5ส มาประยุกต์ใช้ในงานเคเบิลสายโทรศัพท์

The Application of 5S Technique in Telephone Cable Installation

ศิลปชัย วัฒนเสย
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
E-mail: sinlapachai@hotmail.com

วัตถุประสงค์ : การนำเทคนิค 5ส มาประยุกต์ใช้ในงานเคเบิลสายโทรศัพท์ เป็นการศึกษาแนวทางในการลดเวลาการทำงานของงานเคเบิลสายโทรศัพท์

ผลการศึกษา : สาเหตุที่ทำให้เกิดการล่าช้า หรือใช้เวลาในการปฏิบัติงานมากเกินไปนั้น มาจากการจัดเก็บเครื่องจักร วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ไม่เป็นระเบียบ ไม่มีการกำหนดพื้นที่จัดเก็บ และไม่มีหมวดหมู่สำหรับจัดเก็บ จากสาเหตุดังกล่าวทำให้ต้องสูญเสียเวลามากในการค้นหาและจัดเก็บจัดเครื่องจักร วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติงาน รวมไปถึงทำให้เกิดการชำ รุดเสียหาย และอุบัติเหตุ
วิธีการแก้ปัญหานั้นได้นำเทคนิค 5ส เป็นขั้นตอนหลักในการดำเนินการปรับปรุง และใช้หลักการของ การศึกษาการทำงานและการวางผังโรงงาน ดำเนินการปรับปรุงในรายละเอียด เมื่อดำเนินการปรับปรุงแล้วผลปรากฏว่าสามารถลดเวลาในการทำงานลงได้คือ งานขยายข่ายสายเคเบิลลดเวลาลงได้ 47 นาที ต่องาน งานซ่อมและบำรุงรักษาสามารถลดเวลาลงได้ 31 นาทีต่องาน การจัดเก็บเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ มีสถานที่จัดเก็บ และเป็นหมวดหมู่ ทำให้ค้นหาและจัดเก็บได้สะดวก รวดเร็วขึ้น

คำสำคัญ : เทคนิค 5ส การออกแบบคลังพัสดุ การศึกษา การทำงาน
Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น