วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผลของการฝึกสติต่อความเครียด ความสุข และการประยุกต์ในชีวิตประจำวัน

พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ, .. *
สวัสดิ์ เที่ยงธรรม, พย.. **
คเชนทร์ พันธ์โชติ, กศ.. **
*สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต
** โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

วัตถุประสงค์ : การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกสติที่มีความเครียดและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของบุคลากรโรงพยาบาลจิตเวชนครราชราชนครินทร์

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการ สร้างสุขด้วยการฝึกสติ” ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ที่สวนพุทธธรรม จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จำนวน 15 คน แนวคิดการฝึกใช้หลักมหาสติปัฏฐานสูตร ประเมินความเครียด และความสุขของกลุ่มเป้าหมายก่อน และหลังการฝึก และประเมินผลการนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันหลังการฝึกสติแล้ว 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต (2545) ดัชนีวัดสุขภาพจิตคนไทย และแบบสอบถามการนำแนวคิดการฝึกไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเครื่องมือที่สร้างขึ้นเองวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้  Friedman Test และ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผล : พบว่า หลังการฝึกสติ กลุ่มเป้าหมายมีระดับความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสุขหลังการฝึกเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญ ส่วนการนำไปประยุกต์หลังจากฝึก พบว่า กลุ่มเป้าหมายสามารถนำการฝึกสติไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เข้าใจและรู้จักตนเองได้มากขึ้น สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองและปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานและครอบครัวได้ดีมีสติในการดูแลผู้ป่วยมีความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น

สรุป : กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีลักษณะของผู้ที่มีเชาวน์อารมณ์และสภาพจิตที่ดีขึ้น

คำสำคัญ : สติ ความเครียด ความสุข

Creditวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ปี 2549

ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/