วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การระบุเพศโดยการใช้กระดูกต้นขาของผู้ใหญ่ในประชากรไทย

Gender Determination of Thais by Measurements of Adult Femurs

พงษ์พิทักษ์ ภูติวัตร์1* และ สุทัศน์ ดวงจิตร2
1. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์, สถานวิจัยเพือ ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ +อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

2. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

ความเป็นมา : การตรวจพิสูจน์บุคคลจากกระดูกในงานด้านนิติมานุษยวิทยานันมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขคดีอาชกรรมต่างๆได้อย่างมากมาย จุดประสงค์สำคัญอย่างหนึ่งของการตรวจพิสูจน์จากกระดูกคือการระบุเพศโดยการสังเกตจากชิ้นส่วนของกระดูกต่างๆ อย่างไรก็ตามความแม่นยำของเทคนิคนี้ มีความแตกต่างกันในกระดูกแต่ละชิ้นเนื่องจากกระดูกแต่ชิ้นมีลักษณะเฉพาะตัวและปัจจัยภายนอกอื่นๆ ทีเกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ : การศึกษาการระบุเพศจากกระดูกต้นขาเพื่อเป็นทางเลือกในการใช้กระดูกที่มีความหลากหลายในการระบุเพศ
วิธีการ : โดยวัดกระดูกต้นขาในตำแหน่งการวัดสองตำแหน่งคือ ความยาวทีสุดของเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกระดูกต้นขา (maximum diameter of the femur head (DF)) และความกว้างของ intercondylar ของกระดูกต้นขา (Intercondylar breadth of femur (IF)) ของโครงกระดูกจากห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 128 ชิ้น ซึ่งเป็นเพศชาย 78 ชิ้น และเพศหญิง 50 ชิ้น และคำนวณค่าทางสถิติเชิงพรรณนาต่างๆ พร้อมทั้ง วิเคราะห์การจำแนกเพศโดยใช้ Discriminant function analysis ด้วยโปรแกรม SPSS V.13.5

ผลการศึกษา : ค่าเฉลี่ย ของ DF และ IF ในเพศชายมีค่ามากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) พารามิเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำในการจำแนกเพศมากที่สุดคือ DF ของกระดูกต้นขา และมีระดับความแม่นยำเป็น 79.70 และ 78.13 เปอร์เซ็นต์ ของกระดูกต้นขาข้างขวาและข้างซ้ายตามลำดับ จาก
การศึกษายังพบอีกว่า นอกจากค่าเฉลี่ยทั้งสองพารามิเตอร์ในเพศชายของประชากรไทยจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแล้ว ลักษณะดังกล่าวนี้ยังสอดคล้องกับการศึกษาในกลุ่มประชากรอื่นๆ ทีผ่านมาอีกด้วย

คำสำคัญ : การระบุเพศ การตรวจพิสูจน์บุคคล กระดูกต้นขา นิติมานุษยวิทยา ประชากรไทย

Credit : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่  14 ฉบับที  2 เมษายน มิถุนายน 2555

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Factors Associated with Back Pain among Mahasarakham University Lecturers

จารุวรรณ วิโรจน์1,* จรัมพร ยุคะลังค์2, พลกฤษณ์ จิตร์โต3
Jaruwan Viroj1*,  Jarumporn Yukalung2, Ponlakit Jitto3

1,2 อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
3 อาจารย์, คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
1,2 Lecturer, Public Health Faculty, Mahasarakham University Kantarawichai District, Mahasarakham 44150
3 Lecturer, Environment and Resource Faculty, Mahasarakham University Kantarawichai District, Mahasarakham 4415

* Corresponding author : Jaruwan Viroj Faculty Public Health, Mahasarakham University Kantarawichai District, Mahasarakham 4415

วัตถุประสงค์ :
เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการปวดหลัง สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน พฤติกรรมความปลอดภัย แนวทางป้องกันการปวดหลัง
ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 คน

การเก็บตัวอย่าง : ทำการสุ่มเลือกตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดหลังในระยะเวลา 1 เดือนก่อนเก็บข้อมูลร้อยละ 57.2 เคยมีการอาการปวดหลัง เฉลี่ย 5 ครั้งต่อเดือน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10.1) ด้านการรักษาพบว่าส่วนใหญ่ไม่เคยรักษาอาการปวดหลังในช่วง 1 เดือน ที่ผ่านมาร้อยละ 87.8 สาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดหลังมากที่สุดคือ การนั่งในท่าเดียวนานๆ ร้อยละ 72.9 ส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าเก้าอี้ที่นั่งปฏิบัติงาน มีความสูง ความกว้าง ความลึก และความนิ่ม มีความเหมาะสมระดับปานกลาง และโต๊ะที่ใช้ปฏิบัติงาน ในด้านความสูง ความกว้าง และความลึก มีความเหมาะสมระดับมากและปานกลางใกล้เคียงกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับอาการปวดหลังด้วย Logistic regression พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ ดัชนีมวลกาย ระดับความเครียด ระดับพฤติกรรมความปลอดภัย และความเหมาะสมของความนิ่มเก้าอี้

สรุป : อาจารย์เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อปัญหาการปวดหลัง และมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการปวดหลังทั้งปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อม ดังนั้นควรจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการป้องกันการปวดหลังต่อไป

คำสำคัญ: ปวดหลัง พฤติกรรมสุขภาพ เก้าอี้ โต๊ะ เออร์กอนอมิกส์

Credit : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
            Vol 33. No 1, January-February 2014

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

My interest in TCI-1

รายชื่อวารสารที่น่าสนใจ  ใน  TCI กลุ่มที่ 1 (ข้อมูล ณ วันที่ 29/7/58)
 วารสารกลุ่มนี้ เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2557) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกพิจารณาคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป 
รายชื่อวารสารไทยรวบรวมโดย TCI ดูใน link  TCI ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
No. ISSN Journal Title
1 1685-3954 วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
2 0857-6653 วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด
3 1685-8573 วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ) 
4 1906-5681 วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 
5 1906-5965 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
6 1686-9311 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
7 0859-3957 วารสารวิจัย มข. (รับตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)
8 1906-201X วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา
9 1906-1889 วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 
10 1906-3628 วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 
11 0125-278X วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.
12 1960-5337 วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 
13 1686-9869
วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (พระจอมเกล้าพระนครเหนือ)
14 0857-684x วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
15 1906-0432 วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร
16 0858-4435 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์รังสิต 
17 1905-7164  วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา
18 1905-1387 วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล 
19 0125-1678 วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
20 2859-497-X วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
21 0125-8273 วิศวกรรมสาร มข (English)
22 0125-1724 วิศวสารลาดกระบัง

วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร
วารสารศรีนครินทร์เวชสาร

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปรับปรุงวิธีการชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยวิธีการทางการยศาสตร์


ชื่อวิทยานิพนธ์
การปรับปรุงวิธีการชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยวิธีการทางการยศาสตร์
ERGONOMICS WORK IMPROVEMENT FOR DEBONED POULTRY MEAT PROCESSING
ชื่อนิสิต
บรรพต เทพฤทธิ์ Bunphot Tepparit
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ศ.ดร. กิตติ อินทรานนท์ Prof. Kitti Intaranont, Ph.D.
ชื่อสถาบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย Chulalongkorn University. Bangkok. (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมอุตสาหการ) Master. Engineering (Industrial Engineering)
ปีที่จบการศึกษา 2546
วัตถุประสงค์ : ปรับปรุงวิธีการทำงานชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยนำเอาความรู้ด้านการยศาสตร์ มาเป็นแนวทางในการศึกษาและวิจัยเพื่อลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตรวมทั้งสามารถลดการบาดเจ็บจากการทำงาน
วิธีการ : สัมภาษณ์เพื่อประเมินความรุนแรงของปัญหาและคัดเลือกพนักงาน เพื่อทำการทดลองและเก็บข้อมูลทั้งหมด 90 คน จากผู้ถูกทดสอบเหล่านี้โดยการวัดค่ามุมของการเคลื่อนไหว (Goniometer), คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) และค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ (Grip Strength) โดยกำหนดตัวแปรในการทดลอง ได้แก่ ท่าทางในการทำงานจำนวนผลผลิต เวลาต่อรอบการทำงาน อายุ อายุงานรวม ส่วนสูง น้ำหนัก ขนาดข้อมืออาการป่วยที่มีอยู่เดิม จำนวนชั่วโมงนอนพักผ่อน และความเร็วจากการทำงาน จากการโดยใช้ทฤษฎีฟัซซีเซตพบว่า วิธีการทำงานแบบปัจจุบันส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของมุมการเคลื่อนไหวและค่า คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากกว่าปัจจัยอื่นๆในการทำงาน
การปรับปรุง : ออกแบบขั้นตอนการทำงานใหม่ โดยลดขั้นตอนการหักข้อกระดูกขาออกแล้วใช้การแล่ชำแหละกระดูกออกแทน แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงการยศาสตร์และเชิงปริมาณการผลิตรวมถึงคุณภาพการผลิต พบว่าวิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้วให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพเพิ่มขึ้น ในส่วนของมุมในการเคลื่อนไหวและค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แรงบีบของกล้ามเนื้อมือ รวมถึงอัตราการเกินเกณฑ์อ้างอิงนั้นให้ผลที่ลดลงอย่างเด่นชัด
ผลที่ได้ : วิธีการทำงานชำแหละไก่ถอดกระดูกที่ทำการปรับปรุงแล้วจึงเป็นวิธีการ ทำงานที่เหมาะสมกว่าวิธีการทำงานแบบปัจจุบัน

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัล ในอุตสาหกรรมแกะสลักหินจังหวัดชลบุรี

PREVALENCE AND RELATED FACTORS OF CARPAL TUNNEL SYNDROME(CTS) IN SCULPTURE INDUSTRY OF CHONBURI PROVINCE.


ชื่อนิสิต  สุพัฒน์ หลายวัฒนไพศาล Supatt Laiwattanapaisal

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
  ผศ.นพ. วิโรจน์ เจียมจรัสรังษีรศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ Asst.Prof. Wiroj Jiamjarasrangsi Asso.Prof. Pongsak Yuktanandana

ชื่อสถาบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย Chulalongkorn University. Bangkok (Thailand). Graduate School.

ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (อาชีวเวชศาสตร์) Master. Science (Occupational Medicine)
ปีที่จบการศึกษา 2548
 

รูปแบบการวิจัย : ศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง
วัตถุประสงค์  : เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลในโรงงานอุตสาหกรรม แกะสลักหินของจังหวัดชลบุรี
ประชากรตัวอย่าง : จำนวน 200 คน
วิธีการ : เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตรวจร่างกายในระหว่างเดือน ตุลาคม-เดือนธันวาคม 2547 ได้รับแบบสอบถามตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100
ผลการศึกษา :
คนงานแกะสลักหินที่น่าจะเป็นโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลมีอัตราความชุกของ โรคจำนวน ร้อยละ 13
ความชุกของโรคจำเพาะเพศพบว่า คนงานเพศชายมีอัตราความชุกของโรค ร้อยละ 7.8 และคนงานเพศหญิงมีอัตราความชุกของโรค ร้อยละ 25

ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่
เพศหญิง [OR (95% CI) = 32 (3.92-256.7)]
ดัชนีมวลกาย (+,ณ) 23 ก.ก/ม('2) [OR (95% CI) = 3.3 (1.05-10.5)]

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีสัดส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ได้แก่
แรงบีบมือระดับต่ำ [OR (95% CI) = 4.1 (1.2-14.7)]
และทำงาน 7 วัน / สัปดาห์ [OR (95% CI) = 3.2 (1.03-9.7)]

ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่
ขนาดสัดส่วนข้อมือ การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟความสั่นสะเทือน และความเครียดจากการทำ งาน

ข้อเสนอแนะ : เนื่องจากการเกิดโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลมักเกิดจากหลายปัจจัยที่ส่ง เสริมกัน ยังไม่พบว่าเกิดจากปัจจัยอันใดอันหนึ่งที่ชัดเจน ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังป้องกันทั้งปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานและไม่ใช่จากการ ทำงานไปพร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันอุบัติการณ์การเกิดโรคต่อไป

Credit : http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082548001492

















วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความชุกและปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง : กรณีศึกษา สถานีขนส่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


The Prevalence and Personal Factors related to Musculoskeletal Disordersin Occupational Van Drivers: a case study of Public Transport Center in Hatyai, Songkhla.

ณัชยา แซ่เจิ้น1 กลางเดือน โพชนา1 * องุ่น สังขพงศ์1
Nachaya Sea-jern1 KlangduenPochana1 * Angoon Sungkhapong1
1 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

การเก็บข้อมูล : สัมภาษณ์พนักงานขับรถตู้จำนวน 164 คน เกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล และอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยใช้แบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจาก Standardized
Nordic Questionnaires forThe Analysis of Musculoskeletal Symptoms

วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยวิธี Chi-Square และวิเคราะห์ขนาดความสัมพันธ์โดยใช้ Odds ratio

ผลการศึกษา : พนักงานขับรถมีอายุเฉลี่ย 44.09 ปี ดัชนีมวลกาย เฉลี่ย 23.83 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และพบว่าความชุกของอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ 3 อันดับแรก ในรอบ 7 วัน คือ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 29.26 (95% CI: 22.43-36.86) คอ ร้อยละ 13.41 (95% CI: 8.60-19.60) และ ไหล่
ร้อยละ 11.58 (95% CI: 7.12-17.49) ตามลำดับ กรณีความชุกในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่าความชุกที่สูงสุดใน 3 อันดับแรก ได้แก่ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 62.19 (95% CI: 54.30-69.63) คอ ร้อยละ 23.78 (95% CI: 17.48-31.04) และ ไหล่ ร้อยละ 23.78 (95% CI: 17.48-31.04)

สรุป : ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อได้แก่ BMI BSA การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเคยปวดหลังก่อนขับรถ จากการศึกษาทำให้ทราบถึงอัตราความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทางที่มีค่าค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรสนับสนุนอย่างจริงจังให้มีการป้องกันความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและกระดูกของอาชีพพนักงานขับรถ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางทางถนนมากขึ้น

คำสำคัญ : ความชุก อาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ พนักงานขับรถตู้ ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล

Credit : วารสารวิจัย มข.

ที่มา : http://www.resjournal.kku.ac.th/scitech/issue_19_01.asp?vol=19

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของทันตบุคลากรในสถานบริการของรัฐ จังหวัดขอนแก่น

Musculoskeletal disorders among dental personnel of government sector in Khon Kaen province.
รัชติญา นิธิธรรมธาดา1, สุนิสา ชายเกลี้ยง2,* และรุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล3
Rachatiya Nithithamthada1, Sunisa Chaiklieng2* and Rungthip Puntumetakul3
1 สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2 ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3 กลุ่มวิจัยปวดหลัง ปวดคอ และปวดข้ออื่นๆ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
* Correspondent author: csunis@kku.ac.th


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของทันตบุคลากรในสถานบริการของรัฐ จังหวัดขอนแก่น

กลุ่มตัวอย่าง : จำนวน 282 ราย

การเก็บข้อมูล : เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง

วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาความชุก และช่วงความเชื่อมั่น 95% CI

ผลการวิจัย : ทันตบุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.9 มีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 32.8 ปี (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 9.4) มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (18.5 – 22.9 กิโลกรัม/เมตร2) ร้อยละ 55.3 ทันตบุคลากรส่วนใหญ่เป็นทันตาภิบาล ร้อยละ 46.4 รองลงมาคือทันตแพทย์ ร้อยละ 22.0 และผู้ช่วยเหลือคนไข้ ร้อยละ 18.1 ตามลำดับ
ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา และรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาโดยไม่คำนึงถึงระดับความรุนแรงและความถี่ พบร้อยละ 57.8 (95% CI = 51.8-63.6) และ ร้อยละ 93.6 (95% CI = 90.0-96.2) ตามลำดับ
ความชุกในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาความรุนแรงอยู่ที่ระดับรู้สึกมาก 3 ตำแหน่งแรกที่มีอาการสูงสุด คือบริเวณไหล่ขวาหรือซ้าย ร้อยละ 24.6 เอวหรือหลังส่วนล่าง ร้อยละ 19.3 และคอ ร้อยละ 16.7 ตามลำดับ
เมื่อคำนึงถึงความถี่ของการเกิดอาการที่ระดับมีอาการทุกวัน พบสูงสุด 3 ตำแหน่งแรก คือบริเวณไหล่ขวาหรือซ้าย ร้อยละ 13.6 คอ ร้อยละ 11.7 และเอวหรือหลังส่วนล่าง ร้อยละ 7.6 ตามลำดับ
ในจำนวนทันตบุคลากรที่มีอาการปวด จำนวน 264 ราย พบว่าอาการปวดส่งผลกระทบต่อการทำงานแต่สามารถทำกิจกรรมได้ปกติ ร้อยละ 76.1 โดยอาการเหล่านี้เกิดจากการทำงาน ร้อยละ 71.2 ช่วงเวลาที่มีอาการปวดรุนแรงที่สุดคือตอนเย็นหลังเลิกงาน ร้อยละ 41.3 ต้องใช้ยาระงับอาการปวดหรือพบแพทย์แผนไทย ร้อยละ 64.6
ผลการศึกษานี้บ่งชี้ปัญหาด้านการปวดคอ ไหล่ หลัง ในทันตบุคลากรซึ่งพบว่ามีระดับความรุนแรงและความถี่ที่สูงจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังความผิดปกติของคอ ไหล่ หลังในทันตบุคลากรต่อไป รวมทั้งหาแนวทางป้องกันโดยทำการศึกษาเชิงลึกแบบติดตามไปข้างหน้าเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง


คำสำคัญ: ความชุก ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ทันตบุคลากร

Credit : KKU Res. J. 2013; 18(5)

การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงานศูนย์บริการให้ข้อมูล

Work - related Musculoskeletal Injuries and Work Safety Behaviors Among Call Center Workers.
ฐิติชญา ฉลาดล้น*
พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม*
* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
Thitichaya Chalardlon*
Phimlada Anansirikasem**
* Nurse Instructor, Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา
1) การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน
2) พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย
3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยและการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพนักงานศูนย์บริการให้ข้อมูล
แห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 323 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล
2) ข้อมูลการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน
3) ข้อมูลพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัย : พบว่า อัตราการเกิดการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของกลุ่มตัวอย่างในช่วงระยะเวลา 12 เดือน และ 7 วันที่ผ่านมา เท่ากับ ร้อยละ 74.0 และร้อยละ 60.40 ตามลำดับ
ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา พบการบาดเจ็บบริเวณคอ ร้อยละ 61.08 บริเวณหลังส่วนบนร้อยละ 55.68 และบริเวณหลังส่วนล่าง ร้อยละ 53.14
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา พบการบาดเจ็บบริเวณหลังส่วนล่าง ร้อยละ 58.46 บริเวณคอร้อยละ 51.28 และบริเวณหลังส่วนบนร้อยละ 50.26
นอกจากนี้ยังพบว่า การบาดเจ็บส่งผลกระทบต่อการทำงานและกิจวัตรประจำวันของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 17.00 ในด้านพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย
เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่าง
-ร้อยละ67.50 มีพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยด้านการปรับท่าทางการทำงานในระดับปานกลาง
-การพักช่วงระหว่างการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.30
-การจัดสถานที่ทำงานและอุปกรณ์การทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 88.9
-การเลือกใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ระดับปานกลางร้อยละ 80.50
นอกจากนี้ยังพบว่า
พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานด้านการพักระหว่างการทำงาน มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
ในช่วงเวลา 7 วันที่ผ่านมาพบว่าพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานด้านการพักระหว่างการทำงาน และด้านการจัดสถานที่ทำงานและอุปกรณ์การทำงานมีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

คำสำคัญ : การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย

Credit : วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี

จังหวัดอุดรธานี
Recognition of Musculoskeletal Disorders among workers of the electronic industry in Udon Thani Province
นภานันท์ ดวงพรม1 และสุนิสา ชายเกลี้ยง2*
Napanun Duangprom1 and Sunisa Chaiklieng2*
1 สาขาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2 ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
* Correspondent author: csunis@kku.ac.th


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี

กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 204 คน โดยคัดเลือกพนักงานที่ทำงานในสายการผลิต

การเก็บข้อมูล : โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสำรวจสภาพแวดล้อมการทำงาน คือวัดระดับแสงสว่างและเสียงดัง

ผลการศึกษา : พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.7 อายุเฉลี่ย 26.6 ปี ลักษณะงาน มีหน้าที่ในการส่องกล้องจุลทรรศน์ ร้อยละ 50.0 และเจาะตัดชิ้นส่วน ร้อยละ 49.0 ทุกคนมีการทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ และ 10 ชั่วโมงต่อวัน
สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีการทำงานซ้ำซากท่าเดิม ร้อยละ 97.5 นั่งทำงานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 54.3 และยืนทำงานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 47.2
ผลการตรวจวัดแสงสว่างหน้างานในทุกพื้นที่หน้างานพบ ค่าความเข้มของแสงสว่าง เป็นไปตามมาตรฐาน และระดับเสียงดัง บริเวณเจาะ มีค่า 84.3- 85.6 เดซิเบลเอไม่เกินค่ามาตรฐานตามกฎกระทรวงแรงงาน
ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบร้อยละ 92.7 (95%CI : 89.2– 96.1)โดยความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ 3 ตำแหน่งแรก สูงสุดได้แก่ ไหล่ ร้อยละ 79.4 (95%CI :74.5 – 85.3) คอ ร้อยละ 75.0 (95%CI : 69.0 – 81.7) และหลังส่วนบน ร้อยละ 70.6 (95%CI : 64.5 – 77.6) เมื่อคำนึงถึงความรุนแรงของอาการปวดตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปพบความชุกสูงสุด 3 อันดับแรกในตำแหน่งเดียวกันนี้

ข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษานี้พบความชุกของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อที่สูงในพนักงาน ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับสภาพของงาน จึงควรมีการเฝ้าระวังโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในพนักงาน โดยพนักงานควรมีความรู้ทางการยศาสตร์เพื่อการปฏิบัติตนและมีท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน สถานประกอบการควรมีการตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงานอย่างต่อเนื่องและจัดให้มีช่วงเวลาพักจากการทำงานที่เหมาะสมของพนักงาน

คำสำคัญ: ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, พนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, สภาพแวดล้อมในการทำงาน


Credit : KKU Res. J. 2013; 18(5)