Factors Associated
with Back Pain among Mahasarakham University Lecturers
จารุวรรณ วิโรจน์1,* จรัมพร ยุคะลังค์2, พลกฤษณ์ จิตร์โต3
Jaruwan
Viroj1*, Jarumporn Yukalung2, Ponlakit Jitto3
1,2 อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
3 อาจารย์, คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
1,2
Lecturer, Public Health Faculty, Mahasarakham University Kantarawichai
District, Mahasarakham 44150
3
Lecturer, Environment and Resource Faculty, Mahasarakham University
Kantarawichai District, Mahasarakham 4415
* Corresponding author : Jaruwan Viroj Faculty
Public Health, Mahasarakham University Kantarawichai District, Mahasarakham
4415
วัตถุประสงค์ :
เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการปวดหลัง
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน พฤติกรรมความปลอดภัย แนวทางป้องกันการปวดหลัง
ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 คน
การเก็บตัวอย่าง : ทำการสุ่มเลือกตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดหลังในระยะเวลา
1 เดือนก่อนเก็บข้อมูลร้อยละ 57.2
เคยมีการอาการปวดหลัง เฉลี่ย 5 ครั้งต่อเดือน
(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10.1) ด้านการรักษาพบว่าส่วนใหญ่ไม่เคยรักษาอาการปวดหลังในช่วง
1 เดือน ที่ผ่านมาร้อยละ 87.8
สาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดหลังมากที่สุดคือ การนั่งในท่าเดียวนานๆ ร้อยละ 72.9 ส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าเก้าอี้ที่นั่งปฏิบัติงาน มีความสูง ความกว้าง
ความลึก และความนิ่ม มีความเหมาะสมระดับปานกลาง และโต๊ะที่ใช้ปฏิบัติงาน
ในด้านความสูง ความกว้าง และความลึก มีความเหมาะสมระดับมากและปานกลางใกล้เคียงกัน
จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับอาการปวดหลังด้วย Logistic
regression พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังอย่างมีนัยสำคัญได้แก่
ดัชนีมวลกาย ระดับความเครียด ระดับพฤติกรรมความปลอดภัย
และความเหมาะสมของความนิ่มเก้าอี้
สรุป
: อาจารย์เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อปัญหาการปวดหลัง
และมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการปวดหลังทั้งปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อม
ดังนั้นควรจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
และส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการป้องกันการปวดหลังต่อไป
คำสำคัญ: ปวดหลัง พฤติกรรมสุขภาพ เก้าอี้ โต๊ะ
เออร์กอนอมิกส์
Credit : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Vol 33. No 1,
January-February 2014