วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (พระนครเหนือ)

ตั้งแต่ พ.ศ. 2549-2556




  1. กณพ วัฒนา, กุสุมา ผลาพรม, สุทิติ ขัตติยะ, และ สมิตร ส่งพิริยะกิจ. (2556). การพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (TABLET) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจงานก่อสร้าง. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 9(2).
  2. ตรีเนตร ยิ่งสัมพันธ์เจริญ, ชิระ เด่นแสงอรุณ, และ วัลลภ พัฒนพงศ์. (2556). แนวทางการปรับปรุงการผลิตกระบวนการลากขึ้นรูปลึกชิ้นงานไส้กรองอากาศ โดยวิธีไฟน์เอลิเมนต์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 9(1),103-110.
  3. วีรชัย มัฎฐารักษ์และ วิมล จันนินวงศ์. (2553). การเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร : กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารสัตว์วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 18-24.
  4. มานพ ชูนิล, พิสมัย รักจรรยา, และ ชวนีย์ พงศาพิชณ์. (2550). วิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 3(2),42-51.
  5. วัลลภ พัฒนพงศ์, ไพรัตน เสียงดัง, และ ธนพัฒน์ ไชยแสน. (2549). การศึกษาการจัดระบบความปลอดภัยในโรงงานการผลิตใน บริษัท อะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 2, 71-76.
  6. นราธิป แสงซ้ายและ จีรศักดิ์ ซ้ายสุวรรณ. (2549). การจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถวอย่างเหมาะสม โดยวิธีการผสมผสานด้วยการจำลองสถานการณ์ และวิธีประมาณการ โดยการสุ่มหาคำตอบวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 2.



การจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถวอย่างเหมาะสม โดยวิธีการผสมผสานด้วยการจำลองสถานการณ์ และวิธีประมาณการ โดยการสุ่มหาคำตอบ

นราธิป แสงซ้าย, จีรศักดิ์ ซ้ายสุวรรณ

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยครั้งนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมสำหรับการแก้ปัญหาการจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถว

วิธีการ : โดยใช้วิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm: GA) ร่วมกับการใช้การจำลองสถานการณ์ (Simulation) เพื่อให้ผลคำตอบของการจัดวางผังเครื่องจักรสามารถตอบสนองสมการเป้าหมายหลายด้านได้ (Multi-objective functions) ซึ่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการขนส่งระหว่างเครื่องจักรต่ำ สัดส่วนการทำงานของเครื่องจักร (Utilization Of Machine) ระยะเวลาเฉลี่ยของชิ้นงานในระบบ(Mean Flow Time) เวลาการรอคอยที่เกิดขึ้นในระบบ (Waiting time) จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ และงานที่กำลังทำอยู่ในระบบ(Work In Process)

ผลการวิจัย : ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์หลักการวิธีเชิงพันธุกรรม และการใช้การจำลองสถานการณ์ สามารถช่วยในการจัดผังโรงงานให้ตอบสนองสมการเป้าหมายหลายด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : ปัญหาการจัดวางผังเครื่องจักรแบบหลายแถว, วิธีเชิงพันธุกรรม ,การจำลองสถานการณ์


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  ปที่ 2 ฉบับพิเศษ (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ป) สิงหาคม 2549

การศึกษาการจัดระบบความปลอดภัยในโรงงานการผลิตใน บริษัท อะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด

Case Study of Safety Management in Production Factory of Atom Manufacturing Co., Ltd.

วัลลภ พัฒนพงศ 1 ไพรัตน เสียงดัง 2 ธนพัฒน ไชยแสน 2
1 อาจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 นักศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วัตถุประสงค์ : การจัดระบบความปลอดภัยในโรงงานผลิต กรณีศึกษา บริษัทอะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความปลอดภัยในการ ทำงานลดการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ทำให้พนักงานมีความรู้ในเรื่องการดูแล และป้องกันอุบัติเหตุ และเพื่อหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้

วิธีการ : แบ่งลำดับการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักดังนี้คือ ศึกษาข้อมูลและวางแผน ในขั้นตอนนี้จะศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆในเรื่องความปลอดภัย ส่วนขั้นตอนในการดำเนินงานจะเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตใน บริษัท อะตอม แมนนูแฟคเจอร์ริ่งจำกัด แล้วทำการเก็บข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดอันตราย และแนว ทางในการป้องกันอันตราย ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือ จัดทำสื่อความปลอดภัย ในการจัดทำสื่อความปลอดภัยนั้น ยังแบ่งย่อยดังนี้คือ การรณรงค์เกี่ยวกับความปลอดภัย การจัดกิจกรรม 5 ส. ในงานความปลอดภัย และการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในโรงงาน

ผลการดำเนินงาน : ผลที่ได้จากการดำเนินงานสามารถทำให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการใช้เครื่องจักร การส่งเสริมการทำงานที่ปลอดภัย และแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ

คำสำคัญ : ความปลอดภัย, กรณีศึกษา, แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปที่ 2 ฉบับพิเศษ (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ป) สิงหาคม 2549 

วิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Students’ Techniques in Managing Stress at King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok
มานพ ชูนิล 1 พิสมัย รักจรรยา 2 และ ชวนีย์ พงศาพิชณ์ 3

1 รองศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด วิธีการจัดการ ความเครียด และปัญหาที่ประสบในการจัดการความเครียดของนักศึกษา

วิธีการ : กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 478 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความเครียดของ กรมสุขภาพจิต

ผลการวิจัย : ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความเครียดอยู่ในระดับปกติร้อยละ 51.43 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดอันดับหนึ่ง คือ กลัวอ่านหนังสือไม่ทัน ร้อยละ 89.7 อันดับสอง คือ กลัวทำข้อสอบไม่ได้ ร้อยละ 89.5 วิธีการจัดการความเครียดที่ใช้กันมากอันดับ หนึ่ง คือ ดูหนัง ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ ร้อยละ 97.5 อันดับสองคือ ทำจิตใจให้สงบ ยอมรับสถานการณ์ ปล่อยวาง ปลงให้ได้ ร้อยละ 90.2 ปัญหาที่ประสบในการจัดการความเครียด อันดับหนึ่ง คือ ขี้เกียจและง่วงนอนอยู่เสมอ ร้อยละ 73.4
เมื่อเปรียบเทียบระดับ ความเครียดของนักศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาการจราจร ปัญหาสภาพแวดล้อม พบว่าไม่มีความ แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบระดับความเครียดของนักศึกษาจำแนกตามปัญหาการสอบ การคบเพื่อน ความรัก ครอบครัว สุขภาพ ด้านการเงิน และด้านการงาน พบว่า มีระดับความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ : ความเครียด, วิธีการจัดการความเครียด


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม ธันวาคม 2550

การเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร : กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารสัตว์

Productivity by Method of OEE Improvement : A Case study in Feed Mill Factory
วีรชัย มัฎฐารักษ์ 1 และ วิมล จันนินวงศ์ 2

1 อาจารย์, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
2 ผู้จัดการโรงงาน, โรงงานผลิตอาหารสัตว์.

วัตถุประสงค์ : เพื่อต้องการเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีการ OEE หรือการปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวม ของเครื่องจักรอัดเม็ดในโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ

วิธีการ : โดยทำการศึกษาถึงเหตุที่มีผลทำให้ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่อง อัดเม็ดมีค่าต่ำด้วยวิธีการแก้ปัญหาแบบคิวซี สตอรี่ ของ JUSE

ผลการวิจัย : การวิเคราะห์ข้อมูลก่อนปรับปรุงด้วยผังก้างปลาพบว่าตัว แปรที่มีค่าต่ำมีอยู่ 2 ตัวแปร คือ ค่าความพร้อมของเครื่องจักรและค่าสมรรถนะเครื่องจักร ดังนั้นจึงได้จัดทำมาตรการตอบ โต้เหตุเพื่อปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรให้สูงขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3%
ภายหลังการปรับปรุงพบว่าค่า ประสิทธิผลโดยรวมในสายการผลิตที่ 2 เครื่องมีค่าสูงขึ้นจากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 74% สูงขึ้นเป็น 84% ส่วนสายการผลิตที่ 3 เครื่องมีค่าเฉลี่ย 75% สูงขึ้นเป็น 93%

คำสำคัญ : การเพิ่มผลผลิต , การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2553

แนวทางการปรับปรุงการผลิตกระบวนการลากขึ้นรูปลึกชิ้นงานไส้กรองอากาศ โดยวิธีไฟน์เอลิเมนต์

Production Improvement Modeling of Deep Drawing Process for Air Filter using Finite Element Method

ตรีเนตร ยิ่งสัมพันธ์เจริญ1* , ชิระ เด่นแสงอรุณ 2 และวัลลภ พัฒนพงศ์1
TrinetYingsamphancharoen1* , Chira Densangarung 2 and Wallop Pattanapong1

1 ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

2 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์,คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา * ผู้ติดต่อ, อีเมล์: trinet2518@hotmail.com รับเมื่อ 20กรกฎาคม 2555 ตอบรับเมื่อ 27 สิงหาคม 2555

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงการผลิตกระบวนการลากขึ้นรูปลึกชิ้นงานไส้กรองอากาศโดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ความเป็นมา : ถ้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 102 มม. ความสูง 145 มม. ซึ่งทำจากวัสดุเหล็กมาตรฐาน SPCEความหนา 0.6 มม. เดิมทีชิ้นงานที่ผลิตเกิดความเสียหายแตกและทิ้งเป็นจำนวนมากทำให้มีต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ดังนั้นการนำเสนอการปรับปรุงการออกแบบกระบวนการผลิตที่เหมาะสมทั้ง 5 ขั้นตอน

วิธีการ : โดยการกำหนดค่าอัตราส่วนการลากขึ้นรูป β=1.5, 1.5, 1.1, 1.8, และ 1.07 ตามลำดับในการวิเคราะห์กำหนดให้วัสดุมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนรูปในช่วงยืดหยุ่นและเปลี่ยนรูปถาวรตามสมการยกกำลังของ Ludwik โดยมีค่า K = 320 N/mm2 และ n = 0.085 คุณสมบัติไม่เท่ากันทุกทิศทาง Anisotropy ตามกฎของ Hill Lawโดยมีค่า r0=1.87 r45= 1.30 และ r90= 2.14

ผลการวิจัย : ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นความสามารถในการลากขึ้นรูปถ้วยทรงสูงซึ่งไม่สามารถทำได้ในขั้นตอนเดียว จำเป็นต้องลดอัตราส่วนการลากขึ้นรูปในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนแปลงความหนาชิ้นงานให้น้อยที่สุด
ผลการวิเคราะห์แสดงค่าความเครียดที่เกิดขึ้นบนชิ้นงานอยู่ในขอบเขตกราฟเกณฑ์การแตกหัก ชิ้นงานมีความหนาน้อยสุด 0.53 มม. โดยชิ้นงานไม่แตกและค่าความเค้นและความเครียดที่เกิดความเสียหายสามารถเปรียบเทียบกับทฤษฎี Gurson(GTN)การวิเคราะห์กระบวนการลากขึ้นรูปลึกชิ้นงานไส้กรองอากาศเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบขั้นตอนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพของชิ้นงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

คำสำคัญ : กระบวนการลากขึ้นรูปลึก,วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, อัตราส่วนการลากขึ้นรูป

Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี ที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม เมษายน 2556 

การพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (TABLET) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจงานก่อสร้าง

Development application on tablet for increase construction inspection efficiency

กณพ วัฒนา1*, กุสุมา ผลาพรม1, สุทิติ ขัตติยะ2, สมิตร ส่งพิริยะกิจ3
Kanop Wattana1* Kusuma Palaprom1 Sutiti Kattiya2 and Smith Songpiriyakij3

1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
2 คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
3 ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม,วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
* ติดต่อผู้วิจัย , E-mail: kanop_tm03@hotmail.com

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Tablet) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจงานก่อสร้าง และประเมินหาประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่มผู้ตรวจงานก่อสร้างระหว่างผู้ที่ได้ใช้และไม่ได้ใช้เครื่องมือนี้

วิธีการ : โดยเครื่องมือที่ได้สร้างขึ้นนั้นได้แบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วน คือ ฐานข้อมูลออนไลน์ และในคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (Tablet) โดยผู้ใช้สามารถตรวจติดตามงานก่อสร้างได้จากเวบไซต์ และสามารถบันทึกข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อบกพร่อง การปรับปรุงแก้ไขในงวดงานก่อสร้างในแต่ละงวดงานได้ เนื้อหาบนเครื่องมือนี้ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นโดยนำหลักการตรวจงานก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) มาใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการตรวจงานด้วย โดยมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการตรวจงานก่อสร้างและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมออกแบบโดยผ่านแบบประเมิน และนำไปประเมินหาประสิทธิภาพในการทำงานด้านการตรวจงานก่อสร้าง จากกลุ่มกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างจำนวน 30 คน ในโครงการก่อสร้างประเภทอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีหัวข้อการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน 5 ด้าน

ผลการวิจัย : ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพแต่ละด้าน พบว่าด้านประสิทธิภาพด้านความสะดวกและการติดต่อประสานงานในการตรวจงานก่อสร้างมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยรองลงมาคือด้านความสามารถในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจ และความโปร่งใสของบุคลากรในการตรวจงานก่อสร้าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เครื่องมือนี้ทำให้เกิดความสะดวก ความคล่องตัวในการตรวจงานก่อสร้างมากยิ่งขึ้นโดยคำนึงถึงการมีเวลาว่างในการไปตรวจงานที่ไม่ตรงกันของผู้ตรวจงาน และเครื่องมือนี้ยังทำให้ผู้ตรวจงานก่อสร้างโดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้ในด้านการตรวจงานก่อสร้าง ให้สามารถเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในงานก่อสร้างมากยิ่งขึ้น จากข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ เมื่อผู้ตรวจงานสามารถตัดสินใจในการตรวจงานเองได้จะส่งผลให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจงานตามไปด้วย

คำสำคัญ : การตรวจงานก่อสร้าง, โปรแกรมตรวจงานก่อสร้าง, คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาในการตรวจงาน


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี ที่ 9 ฉบับที่ 2 พฤษภาคมสิงหาคม 2556