วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การระบุเพศโดยการใช้กระดูกต้นขาของผู้ใหญ่ในประชากรไทย

Gender Determination of Thais by Measurements of Adult Femurs

พงษ์พิทักษ์ ภูติวัตร์1* และ สุทัศน์ ดวงจิตร2
1. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์, สถานวิจัยเพือ ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ +อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

2. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

ความเป็นมา : การตรวจพิสูจน์บุคคลจากกระดูกในงานด้านนิติมานุษยวิทยานันมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขคดีอาชกรรมต่างๆได้อย่างมากมาย จุดประสงค์สำคัญอย่างหนึ่งของการตรวจพิสูจน์จากกระดูกคือการระบุเพศโดยการสังเกตจากชิ้นส่วนของกระดูกต่างๆ อย่างไรก็ตามความแม่นยำของเทคนิคนี้ มีความแตกต่างกันในกระดูกแต่ละชิ้นเนื่องจากกระดูกแต่ชิ้นมีลักษณะเฉพาะตัวและปัจจัยภายนอกอื่นๆ ทีเกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ : การศึกษาการระบุเพศจากกระดูกต้นขาเพื่อเป็นทางเลือกในการใช้กระดูกที่มีความหลากหลายในการระบุเพศ
วิธีการ : โดยวัดกระดูกต้นขาในตำแหน่งการวัดสองตำแหน่งคือ ความยาวทีสุดของเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกระดูกต้นขา (maximum diameter of the femur head (DF)) และความกว้างของ intercondylar ของกระดูกต้นขา (Intercondylar breadth of femur (IF)) ของโครงกระดูกจากห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 128 ชิ้น ซึ่งเป็นเพศชาย 78 ชิ้น และเพศหญิง 50 ชิ้น และคำนวณค่าทางสถิติเชิงพรรณนาต่างๆ พร้อมทั้ง วิเคราะห์การจำแนกเพศโดยใช้ Discriminant function analysis ด้วยโปรแกรม SPSS V.13.5

ผลการศึกษา : ค่าเฉลี่ย ของ DF และ IF ในเพศชายมีค่ามากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) พารามิเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำในการจำแนกเพศมากที่สุดคือ DF ของกระดูกต้นขา และมีระดับความแม่นยำเป็น 79.70 และ 78.13 เปอร์เซ็นต์ ของกระดูกต้นขาข้างขวาและข้างซ้ายตามลำดับ จาก
การศึกษายังพบอีกว่า นอกจากค่าเฉลี่ยทั้งสองพารามิเตอร์ในเพศชายของประชากรไทยจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแล้ว ลักษณะดังกล่าวนี้ยังสอดคล้องกับการศึกษาในกลุ่มประชากรอื่นๆ ทีผ่านมาอีกด้วย

คำสำคัญ : การระบุเพศ การตรวจพิสูจน์บุคคล กระดูกต้นขา นิติมานุษยวิทยา ประชากรไทย

Credit : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่  14 ฉบับที  2 เมษายน มิถุนายน 2555

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Factors Associated with Back Pain among Mahasarakham University Lecturers

จารุวรรณ วิโรจน์1,* จรัมพร ยุคะลังค์2, พลกฤษณ์ จิตร์โต3
Jaruwan Viroj1*,  Jarumporn Yukalung2, Ponlakit Jitto3

1,2 อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
3 อาจารย์, คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
1,2 Lecturer, Public Health Faculty, Mahasarakham University Kantarawichai District, Mahasarakham 44150
3 Lecturer, Environment and Resource Faculty, Mahasarakham University Kantarawichai District, Mahasarakham 4415

* Corresponding author : Jaruwan Viroj Faculty Public Health, Mahasarakham University Kantarawichai District, Mahasarakham 4415

วัตถุประสงค์ :
เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการปวดหลัง สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน พฤติกรรมความปลอดภัย แนวทางป้องกันการปวดหลัง
ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 คน

การเก็บตัวอย่าง : ทำการสุ่มเลือกตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดหลังในระยะเวลา 1 เดือนก่อนเก็บข้อมูลร้อยละ 57.2 เคยมีการอาการปวดหลัง เฉลี่ย 5 ครั้งต่อเดือน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10.1) ด้านการรักษาพบว่าส่วนใหญ่ไม่เคยรักษาอาการปวดหลังในช่วง 1 เดือน ที่ผ่านมาร้อยละ 87.8 สาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดหลังมากที่สุดคือ การนั่งในท่าเดียวนานๆ ร้อยละ 72.9 ส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าเก้าอี้ที่นั่งปฏิบัติงาน มีความสูง ความกว้าง ความลึก และความนิ่ม มีความเหมาะสมระดับปานกลาง และโต๊ะที่ใช้ปฏิบัติงาน ในด้านความสูง ความกว้าง และความลึก มีความเหมาะสมระดับมากและปานกลางใกล้เคียงกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับอาการปวดหลังด้วย Logistic regression พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ ดัชนีมวลกาย ระดับความเครียด ระดับพฤติกรรมความปลอดภัย และความเหมาะสมของความนิ่มเก้าอี้

สรุป : อาจารย์เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อปัญหาการปวดหลัง และมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการปวดหลังทั้งปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อม ดังนั้นควรจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการป้องกันการปวดหลังต่อไป

คำสำคัญ: ปวดหลัง พฤติกรรมสุขภาพ เก้าอี้ โต๊ะ เออร์กอนอมิกส์

Credit : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
            Vol 33. No 1, January-February 2014