วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2555


  1. จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. (2555). การคำนวณขนาดตัวอย่างวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(3), 192-198.
  2. ณัฐพงศ์ สิงห์สาธร และ จุฬาภรณ์ โสตะ. (2555). โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยทักษะชีวิตในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(3), 174-183.
  3. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน และ พัชรินทร์ อรุณเรือง. (2555). การสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทยในสองทศวรรษที่ผ่านมาวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(2), 67-78.
  4. ประภัสสร ฉันทศิริเวทย์ณันทิกา ฉัตรทองรัชติญา จำเริญดารารัศมี และ อรัญญา ตุ้ยคำภีร์. (2555). อิทธิพลของการจัดการปัญหาต่อความเครียดในการเรียนและความสุขในนักเรียนวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(1), 1-8.
  5. ปัทมา อินทร์พรหม และ ชัยชนะ นิ่มนวล. (2549). ความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 14(3),182-190.
  6. พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ, สวัสดิ์ เที่ยงธรรม และ คเชนทร์ พันธ์โชติ. (2549). ผลของการฝึกสติต่อความเครียด ความสุข และการประยุกต์ในชีวิตประจำวัน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 14(3),199-206.
  7. สินศักดิ์ สุวรรณโชติ และ วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์. (2547). ความเครียด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 12(1), 45-53.



วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

อิทธิพลของการจัดการปัญหาต่อความเครียดในการเรียนและความสุขในนักเรียน

ประภัสสร ฉันทศิริเวทย์, วท.บ.    ณันทิกา ฉัตรทอง, วท.บ.    รัชติญา จำเริญดารารัศมี, วท.บ.
อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์, ปร.ด.
คณะจิตวิทยา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนและความสุขในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีการจัดการปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 296 คน จากโรงเรียนภายในเขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ มาตรวัดความเครียดในการเรียน มาตรวัดการจัดการปัญหา และมาตรวัดความสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถอดถอยเชิงพหุคูณและวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านจากสูตรของ Sobel

ผลการศึกษา : ความเครียดในการเรียนและวิธีการจัดการปัญหา (แบบมุ่งจัดการกับปัญหา แบบแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม และแบบหลีกหนี) ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความสุขได้ร้อยละ 54 โดยความเครียดในการเรียนสามารถทำนายระดับความสุขได้ดีที่สุด รองลงมาเป็นการจัดการปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหาและการจัดการปัญหาแบบหลีกหนีตามลำดับ ส่วนการจัดการปัญหาแบบแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคมทำนายระดับความสุขได้น้อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบอิทธิพลส่งผ่านบางส่วนของการจัดการปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาและแบบหลีกหนีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนกับความสุข นั่นหมายความว่านอกจากความเครียดในการเรียนมีผลทางตรงต่อความสุขของนักเรียนแล้วยังมีผลทางอ้อมผ่านการปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหาและแบบหลีกหนีไปยังความสุข

สรุป : ความเครียดในการเรียนส่งผลต่อระดับความสุขของนักเรียน นักเรียนที่มีความเครียดในการเรียนสูงร่วมกับมีการจัดการปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาจะมีระดับความสุขมากกว่า ขณะที่นักเรียนที่มีความเครียดในการเรียนสูงร่วมกับมีการจัดการปัญหาแบบหลีกหนีมีความสุขน้อยกว่า

คำสำคัญ : การจัดการปัญหา  ความเครียด  ความสุข  นักเรียน

Credit : วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 ปี 2555

ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยทักษะชีวิตในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

ณัฐพงศ์ สิงห์สาธร, ..1 จุฬาภรณ์ โสตะ, ปร..2

 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการ กลุ่มในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตประยุกต์ จากแนวคิดทักษะชีวิต ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ จัดกิจกรรมรวม 5 ครั้ง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตใดๆ ประเมินผลคะแนนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต ทักษะชีวิตด้านความคิดสร้างสรรค์ และความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ ความตระหนักรู้ในตนเองและความเห็นใจผู้อื่น ความภูมิใจในตนเองและความ รับผิดชอบต่อสังคม การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา การจัดการ กับอารมณ์และการจัดการกับความเครียดและการปฏิบัติตัวในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต วิเคราะห์ความ แตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยสถิติ t-test

ผล : นักเรียนอายุเฉลี่ย 15 ปี เป็นหญิงทั้งหมด 28 คน ชาย 42 คน หลังการทดลอง คะแนนความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คะแนนทักษะชีวิตทุกด้าน และคะแนนการปฏิบัติตัวในการ ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการกลุ่มสูง กว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ

สรุป : โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการกลุ่ม ช่วยให้นักเรียนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนความรู้สุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ทักษะชีวิต และการปฏิบัติตัว ในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ : ทักษะชีวิต นักเรียนมัธยมศึกษา โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต

Credit : วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 ปี 2555

ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

ความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานคร

ปัทมา อินทร์พรหม, วท.. *
ชัยชนะ นิ่มนวล, ปร..*
* คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กรุงเทพมหานครในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจากโรงเรียนระดับมัธยม 12 โรงเรียน จำนวน 534 คน โดย 377 คนมาจากโรงเรียนรัฐบาล 6 โรงเรียน 90 คนจากโรงเรียนเอกชน 4 โรงเรียน และ 67 คนจากโรงเรียนสาธิต 2 โรงเรียน ใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวกับความเครียดในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และแบบสำรวจความเครียด Health Opinion Survey (HOS)

ผล : พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเครียดเฉลี่ย 34.2 (SD=6.42) จากค่าคะแนนที่เป็นไปได้ คือ 20-60 โดยค่าที่สูง หมายถึง เครียดมาก การวิเคราะห์ด้วย Multiple linear regression พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีคะแนนความเครียดสูงได้แก่ โรงเรียนเอกชนเมื่อเทียบกับโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนสาธิตนักเรียนที่มีเกรดน้อย ความไม่พร้อมในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และความคาดหวังที่มากของผู้ปกครอง

สรปุ : ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่มีปัจจัยดังกล่าวข้างต้นต่อความเครียดจาก Admissions ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

คำสำคัญ : ความเครียด การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

Credit : วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ปี 2549


ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

Intelligence Quotient survey of Thai children in two decades

Taweesin Visanuyothin, M.D. Patcharin Arunruang, MA.

Objective : This article has reviewed all National IQs survey in Thai children in past 22 years.

Materials and methods : Searching by using by Keywords are Intelligence Quotient survey, and Thai children in electronic data and published papers during 1989-2008, and used the content analysis.

Results : Seven large and significantly surveys were found. The main surveys were collected from primary school aged 6-13, used the stratifi ed three-stages cluster sampling. The IQ instruments were Thai Intelligence screening test TONI-2, TONI-3 and WISC-III. Field surveyors depend on the studies, some use primary health professionals, some use clinical psychologists in their studies.
The results have shown that mean IQs of Thai young children aged 3-5 have higher mean IQ (110.7) and children aged 6-18 are between 88 and 98.4. Bangkok was often found the highest mean IQ, while northern region and southern region were found the lowest mean IQs. Mean IQ score of children in city and urban show higher score than in rural are. Girls tend to have higher IQ score than boys in all studies.

Conclusion : The previous national IQs surveys show that school aged children have IQs below 100, and also less than toddlers. However, the result can’t conclude that Thai children get lower IQs when grow up due to the different populations in each study and also used different measurements in each time, resulting unable to compare the results. Thus government should set the standard for the national IQs survey and timing for the purpose of plans and Intelligence problem plans of Thai people.

Key words : Intelligence Quotient survey, Thai children

Credit : Journal of Mental Health of Thailand 2012; 20(2)

ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

การคำนวณขนาดตัวอย่าง

จุฬาลักษณ์ โกมลตรี, ปร..

ความเป็นมา : การคำนวณขนาดตัวอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็น ในการวางแผนงานวิจัยซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยทราบถึง ความเป็นไปได้ ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาของการ ศึกษา การคำนวณขนาดตัวอย่างต้องใช้ค่าประมาณ ต่าง ๆ เช่น ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ซึ่งได้จากการศึกษาในอดีตที่เหมือนกัน, คล้ายกัน ในบางแง่, ประสบการณ์ และความคาดหวังของ ผู้วิจัย แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งไม่เคยมีการศึกษา ลักษณะนี้ในอดีต ผู้วิจัยจึงไม่มีค่าต่างๆ ที่จำเป็นใน การคำนวณขนาดตัวอย่าง ทำให้ไม่สามารถคำนวณ ขนาดตัวอย่างได


สรุป : การคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ในประชากร จะกำหนดเฉพาะ α ไม่ต้องกำหนด β หรือ Power (1-β) เนื่องจาก ไม่มีสมมติฐานทางสถิติที่ต้องทดสอบและไม่มีการ รายงาน p-value ในผลการศึกษา เมื่อ α=0.05 สูตร การคำนวณขนาดตัวอย่างมาจากการกำหนด 95%CI ของค่าสัดส่วน (π, P) หรือของค่าเฉลี่ย (μ) ใน ประชากร

Creditวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 ปี 2555


ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

ความเครียด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

. สินศักดิ์สุวรรณโชติ, วท..*
วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์, พย..**
* โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต
** มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมา : ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพของหน่วยงานประการหนึ่งคือ บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน ดังนั้นการรับรู้ความเครียด และจัดการกับสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการพัฒนางาน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

วิธีการ : โดยใช้กรอบแนวคิด เกี่ยวกับความเครียดของ ลาซารัส และโฟล์คแมนกลุ่มตัว อย่างจำนวน 294 คนเป็นบุคลากรทุก ระดับ และทุกวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามระดับความเครียดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson correlation  coefficient) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการศึกษา : บุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.25 มีความเครียดระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุและ ระยะเวลาการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  จากการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่าสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน จำแนก ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1) ปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
2) กระบวนการปฏิบัติงาน
3) ผลการปฏิบัติงาน
4) ผลกระทบจากการปฏิบัติงาน
บุคลากรส่วนใหญ่มีความเครียดจากปัจจัยนำเข้าด้านการบริหารจัดการกับสถานการณ์นั้น โดยใช้วิธีจัดการกับอารมณ์ ผลการวิจัยช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงานและวิธีการจัดการกับสถานการณ์นั้นให้แนวทางการช่วยเหลือและ พัฒนาบุคลากรโดยส่งเสริมให้รับรู้ความเครียดในด้านบวกใช้วิธีการจัดการความเครียดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพปีประสิทธิภาพ และร่วมกันมุ่งพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลต่อไป

คำสำคัญ : ความเครียดในการปฏิบัติงาน สถานการณ์ความเครียด การจัดการความเครียด บุคลากรทางด้านสุขภาพจิต

Creditวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ปี 2547


ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/

ผลของการฝึกสติต่อความเครียด ความสุข และการประยุกต์ในชีวิตประจำวัน

พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ, .. *
สวัสดิ์ เที่ยงธรรม, พย.. **
คเชนทร์ พันธ์โชติ, กศ.. **
*สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต
** โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

วัตถุประสงค์ : การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกสติที่มีความเครียดและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของบุคลากรโรงพยาบาลจิตเวชนครราชราชนครินทร์

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการ สร้างสุขด้วยการฝึกสติ” ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ที่สวนพุทธธรรม จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จำนวน 15 คน แนวคิดการฝึกใช้หลักมหาสติปัฏฐานสูตร ประเมินความเครียด และความสุขของกลุ่มเป้าหมายก่อน และหลังการฝึก และประเมินผลการนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันหลังการฝึกสติแล้ว 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต (2545) ดัชนีวัดสุขภาพจิตคนไทย และแบบสอบถามการนำแนวคิดการฝึกไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเครื่องมือที่สร้างขึ้นเองวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้  Friedman Test และ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผล : พบว่า หลังการฝึกสติ กลุ่มเป้าหมายมีระดับความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสุขหลังการฝึกเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญ ส่วนการนำไปประยุกต์หลังจากฝึก พบว่า กลุ่มเป้าหมายสามารถนำการฝึกสติไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เข้าใจและรู้จักตนเองได้มากขึ้น สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองและปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานและครอบครัวได้ดีมีสติในการดูแลผู้ป่วยมีความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น

สรุป : กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีลักษณะของผู้ที่มีเชาวน์อารมณ์และสภาพจิตที่ดีขึ้น

คำสำคัญ : สติ ความเครียด ความสุข

Creditวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ปี 2549

ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/