ณัฐพงศ์ สิงห์สาธร, ส.ม.1 จุฬาภรณ์ โสตะ, ปร.ด.2
1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการ
กลุ่มในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
วัสดุและวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตประยุกต์ จากแนวคิดทักษะชีวิต
ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ จัดกิจกรรมรวม 5 ครั้ง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตใดๆ ประเมินผลคะแนนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต
ทักษะชีวิตด้านความคิดสร้างสรรค์ และความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ ความตระหนักรู้ในตนเองและความเห็นใจผู้อื่น
ความภูมิใจในตนเองและความ รับผิดชอบต่อสังคม การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา
การจัดการ กับอารมณ์และการจัดการกับความเครียดและการปฏิบัติตัวในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
วิเคราะห์ความ แตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยสถิติ t-test
ผล : นักเรียนอายุเฉลี่ย 15 ปี
เป็นหญิงทั้งหมด 28 คน ชาย 42 คน หลังการทดลอง
คะแนนความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คะแนนทักษะชีวิตทุกด้าน
และคะแนนการปฏิบัติตัวในการ ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการกลุ่มสูง
กว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ
สรุป : โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการกลุ่ม ช่วยให้นักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนความรู้สุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
ทักษะชีวิต และการปฏิบัติตัว ในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น
คำสำคัญ : ทักษะชีวิต นักเรียนมัธยมศึกษา
โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต
Credit : วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 ปี 2555