จุฬาลักษณ์ โกมลตรี, ปร.ด.
ความเป็นมา : การคำนวณขนาดตัวอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็น ในการวางแผนงานวิจัยซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยทราบถึง
ความเป็นไปได้ ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาของการ ศึกษา การคำนวณขนาดตัวอย่างต้องใช้ค่าประมาณ
ต่าง ๆ เช่น ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ซึ่งได้จากการศึกษาในอดีตที่เหมือนกัน, คล้ายกัน ในบางแง่,
ประสบการณ์ และความคาดหวังของ ผู้วิจัย แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งไม่เคยมีการศึกษา
ลักษณะนี้ในอดีต ผู้วิจัยจึงไม่มีค่าต่างๆ ที่จำเป็นใน การคำนวณขนาดตัวอย่าง ทำให้ไม่สามารถคำนวณ
ขนาดตัวอย่างได้
สรุป : การคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ในประชากร จะกำหนดเฉพาะ
α ไม่ต้องกำหนด β หรือ Power (1-β) เนื่องจาก ไม่มีสมมติฐานทางสถิติที่ต้องทดสอบและไม่มีการ
รายงาน p-value ในผลการศึกษา เมื่อ α=0.05 สูตร การคำนวณขนาดตัวอย่างมาจากการกำหนด 95%CI ของค่าสัดส่วน (π, P) หรือของค่าเฉลี่ย (μ) ใน ประชากร
Credit : วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 ปี 2555
ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/