ประภัสสร
ฉันทศิริเวทย์, วท.บ. ณันทิกา ฉัตรทอง,
วท.บ. รัชติญา จำเริญดารารัศมี, วท.บ.
อรัญญา
ตุ้ยคัมภีร์, ปร.ด.
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนและความสุขในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 โดยมีการจัดการปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน
วัสดุและวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน
296 คน จากโรงเรียนภายในเขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
มาตรวัดความเครียดในการเรียน มาตรวัดการจัดการปัญหา และมาตรวัดความสุข
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถอดถอยเชิงพหุคูณและวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านจากสูตรของ
Sobel
ผลการศึกษา : ความเครียดในการเรียนและวิธีการจัดการปัญหา (แบบมุ่งจัดการกับปัญหา
แบบแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม และแบบหลีกหนี) ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความสุขได้ร้อยละ
54 โดยความเครียดในการเรียนสามารถทำนายระดับความสุขได้ดีที่สุด
รองลงมาเป็นการจัดการปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหาและการจัดการปัญหาแบบหลีกหนีตามลำดับ
ส่วนการจัดการปัญหาแบบแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคมทำนายระดับความสุขได้น้อยที่สุด
นอกจากนี้ยังพบอิทธิพลส่งผ่านบางส่วนของการจัดการปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาและแบบหลีกหนีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนกับความสุข
นั่นหมายความว่านอกจากความเครียดในการเรียนมีผลทางตรงต่อความสุขของนักเรียนแล้วยังมีผลทางอ้อมผ่านการปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหาและแบบหลีกหนีไปยังความสุข
สรุป : ความเครียดในการเรียนส่งผลต่อระดับความสุขของนักเรียน
นักเรียนที่มีความเครียดในการเรียนสูงร่วมกับมีการจัดการปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาจะมีระดับความสุขมากกว่า
ขณะที่นักเรียนที่มีความเครียดในการเรียนสูงร่วมกับมีการจัดการปัญหาแบบหลีกหนีมีความสุขน้อยกว่า
คำสำคัญ : การจัดการปัญหา ความเครียด ความสุข
นักเรียน
Credit : วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 ปี 2555