วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความเครียด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

. สินศักดิ์สุวรรณโชติ, วท..*
วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์, พย..**
* โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต
** มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมา : ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพของหน่วยงานประการหนึ่งคือ บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน ดังนั้นการรับรู้ความเครียด และจัดการกับสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการพัฒนางาน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

วิธีการ : โดยใช้กรอบแนวคิด เกี่ยวกับความเครียดของ ลาซารัส และโฟล์คแมนกลุ่มตัว อย่างจำนวน 294 คนเป็นบุคลากรทุก ระดับ และทุกวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามระดับความเครียดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson correlation  coefficient) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการศึกษา : บุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.25 มีความเครียดระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุและ ระยะเวลาการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  จากการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่าสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน จำแนก ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1) ปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
2) กระบวนการปฏิบัติงาน
3) ผลการปฏิบัติงาน
4) ผลกระทบจากการปฏิบัติงาน
บุคลากรส่วนใหญ่มีความเครียดจากปัจจัยนำเข้าด้านการบริหารจัดการกับสถานการณ์นั้น โดยใช้วิธีจัดการกับอารมณ์ ผลการวิจัยช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงานและวิธีการจัดการกับสถานการณ์นั้นให้แนวทางการช่วยเหลือและ พัฒนาบุคลากรโดยส่งเสริมให้รับรู้ความเครียดในด้านบวกใช้วิธีการจัดการความเครียดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพปีประสิทธิภาพ และร่วมกันมุ่งพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลต่อไป

คำสำคัญ : ความเครียดในการปฏิบัติงาน สถานการณ์ความเครียด การจัดการความเครียด บุคลากรทางด้านสุขภาพจิต

Creditวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ปี 2547


ที่มา : http://www.dmh.go.th/journal/