วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปรับปรุงวิธีการชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยวิธีการทางการยศาสตร์


ชื่อวิทยานิพนธ์
การปรับปรุงวิธีการชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยวิธีการทางการยศาสตร์
ERGONOMICS WORK IMPROVEMENT FOR DEBONED POULTRY MEAT PROCESSING
ชื่อนิสิต
บรรพต เทพฤทธิ์ Bunphot Tepparit
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ศ.ดร. กิตติ อินทรานนท์ Prof. Kitti Intaranont, Ph.D.
ชื่อสถาบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย Chulalongkorn University. Bangkok. (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมอุตสาหการ) Master. Engineering (Industrial Engineering)
ปีที่จบการศึกษา 2546
วัตถุประสงค์ : ปรับปรุงวิธีการทำงานชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยนำเอาความรู้ด้านการยศาสตร์ มาเป็นแนวทางในการศึกษาและวิจัยเพื่อลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตรวมทั้งสามารถลดการบาดเจ็บจากการทำงาน
วิธีการ : สัมภาษณ์เพื่อประเมินความรุนแรงของปัญหาและคัดเลือกพนักงาน เพื่อทำการทดลองและเก็บข้อมูลทั้งหมด 90 คน จากผู้ถูกทดสอบเหล่านี้โดยการวัดค่ามุมของการเคลื่อนไหว (Goniometer), คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) และค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ (Grip Strength) โดยกำหนดตัวแปรในการทดลอง ได้แก่ ท่าทางในการทำงานจำนวนผลผลิต เวลาต่อรอบการทำงาน อายุ อายุงานรวม ส่วนสูง น้ำหนัก ขนาดข้อมืออาการป่วยที่มีอยู่เดิม จำนวนชั่วโมงนอนพักผ่อน และความเร็วจากการทำงาน จากการโดยใช้ทฤษฎีฟัซซีเซตพบว่า วิธีการทำงานแบบปัจจุบันส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของมุมการเคลื่อนไหวและค่า คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากกว่าปัจจัยอื่นๆในการทำงาน
การปรับปรุง : ออกแบบขั้นตอนการทำงานใหม่ โดยลดขั้นตอนการหักข้อกระดูกขาออกแล้วใช้การแล่ชำแหละกระดูกออกแทน แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงการยศาสตร์และเชิงปริมาณการผลิตรวมถึงคุณภาพการผลิต พบว่าวิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้วให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพเพิ่มขึ้น ในส่วนของมุมในการเคลื่อนไหวและค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แรงบีบของกล้ามเนื้อมือ รวมถึงอัตราการเกินเกณฑ์อ้างอิงนั้นให้ผลที่ลดลงอย่างเด่นชัด
ผลที่ได้ : วิธีการทำงานชำแหละไก่ถอดกระดูกที่ทำการปรับปรุงแล้วจึงเป็นวิธีการ ทำงานที่เหมาะสมกว่าวิธีการทำงานแบบปัจจุบัน

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัล ในอุตสาหกรรมแกะสลักหินจังหวัดชลบุรี

PREVALENCE AND RELATED FACTORS OF CARPAL TUNNEL SYNDROME(CTS) IN SCULPTURE INDUSTRY OF CHONBURI PROVINCE.


ชื่อนิสิต  สุพัฒน์ หลายวัฒนไพศาล Supatt Laiwattanapaisal

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
  ผศ.นพ. วิโรจน์ เจียมจรัสรังษีรศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ Asst.Prof. Wiroj Jiamjarasrangsi Asso.Prof. Pongsak Yuktanandana

ชื่อสถาบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย Chulalongkorn University. Bangkok (Thailand). Graduate School.

ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (อาชีวเวชศาสตร์) Master. Science (Occupational Medicine)
ปีที่จบการศึกษา 2548
 

รูปแบบการวิจัย : ศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง
วัตถุประสงค์  : เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลในโรงงานอุตสาหกรรม แกะสลักหินของจังหวัดชลบุรี
ประชากรตัวอย่าง : จำนวน 200 คน
วิธีการ : เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตรวจร่างกายในระหว่างเดือน ตุลาคม-เดือนธันวาคม 2547 ได้รับแบบสอบถามตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100
ผลการศึกษา :
คนงานแกะสลักหินที่น่าจะเป็นโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลมีอัตราความชุกของ โรคจำนวน ร้อยละ 13
ความชุกของโรคจำเพาะเพศพบว่า คนงานเพศชายมีอัตราความชุกของโรค ร้อยละ 7.8 และคนงานเพศหญิงมีอัตราความชุกของโรค ร้อยละ 25

ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่
เพศหญิง [OR (95% CI) = 32 (3.92-256.7)]
ดัชนีมวลกาย (+,ณ) 23 ก.ก/ม('2) [OR (95% CI) = 3.3 (1.05-10.5)]

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีสัดส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ได้แก่
แรงบีบมือระดับต่ำ [OR (95% CI) = 4.1 (1.2-14.7)]
และทำงาน 7 วัน / สัปดาห์ [OR (95% CI) = 3.2 (1.03-9.7)]

ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่
ขนาดสัดส่วนข้อมือ การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟความสั่นสะเทือน และความเครียดจากการทำ งาน

ข้อเสนอแนะ : เนื่องจากการเกิดโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลมักเกิดจากหลายปัจจัยที่ส่ง เสริมกัน ยังไม่พบว่าเกิดจากปัจจัยอันใดอันหนึ่งที่ชัดเจน ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังป้องกันทั้งปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานและไม่ใช่จากการ ทำงานไปพร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันอุบัติการณ์การเกิดโรคต่อไป

Credit : http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082548001492

















วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความชุกและปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง : กรณีศึกษา สถานีขนส่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


The Prevalence and Personal Factors related to Musculoskeletal Disordersin Occupational Van Drivers: a case study of Public Transport Center in Hatyai, Songkhla.

ณัชยา แซ่เจิ้น1 กลางเดือน โพชนา1 * องุ่น สังขพงศ์1
Nachaya Sea-jern1 KlangduenPochana1 * Angoon Sungkhapong1
1 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

การเก็บข้อมูล : สัมภาษณ์พนักงานขับรถตู้จำนวน 164 คน เกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล และอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยใช้แบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจาก Standardized
Nordic Questionnaires forThe Analysis of Musculoskeletal Symptoms

วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยวิธี Chi-Square และวิเคราะห์ขนาดความสัมพันธ์โดยใช้ Odds ratio

ผลการศึกษา : พนักงานขับรถมีอายุเฉลี่ย 44.09 ปี ดัชนีมวลกาย เฉลี่ย 23.83 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และพบว่าความชุกของอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ 3 อันดับแรก ในรอบ 7 วัน คือ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 29.26 (95% CI: 22.43-36.86) คอ ร้อยละ 13.41 (95% CI: 8.60-19.60) และ ไหล่
ร้อยละ 11.58 (95% CI: 7.12-17.49) ตามลำดับ กรณีความชุกในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่าความชุกที่สูงสุดใน 3 อันดับแรก ได้แก่ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 62.19 (95% CI: 54.30-69.63) คอ ร้อยละ 23.78 (95% CI: 17.48-31.04) และ ไหล่ ร้อยละ 23.78 (95% CI: 17.48-31.04)

สรุป : ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อได้แก่ BMI BSA การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเคยปวดหลังก่อนขับรถ จากการศึกษาทำให้ทราบถึงอัตราความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทางที่มีค่าค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรสนับสนุนอย่างจริงจังให้มีการป้องกันความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและกระดูกของอาชีพพนักงานขับรถ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางทางถนนมากขึ้น

คำสำคัญ : ความชุก อาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ พนักงานขับรถตู้ ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล

Credit : วารสารวิจัย มข.

ที่มา : http://www.resjournal.kku.ac.th/scitech/issue_19_01.asp?vol=19