ชื่อนิสิต สุพัฒน์
หลายวัฒนไพศาล Supatt Laiwattanapaisal
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.นพ. วิโรจน์ เจียมจรัสรังษีรศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ Asst.Prof. Wiroj Jiamjarasrangsi Asso.Prof. Pongsak Yuktanandana
ชื่อสถาบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย Chulalongkorn University. Bangkok (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (อาชีวเวชศาสตร์) Master. Science (Occupational Medicine)
ปีที่จบการศึกษา
2548
รูปแบบการวิจัย : ศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลในโรงงานอุตสาหกรรม แกะสลักหินของจังหวัดชลบุรี
ประชากรตัวอย่าง : จำนวน 200 คน
วิธีการ : เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตรวจร่างกายในระหว่างเดือน ตุลาคม-เดือนธันวาคม 2547 ได้รับแบบสอบถามตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100
ผลการศึกษา :
คนงานแกะสลักหินที่น่าจะเป็นโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลมีอัตราความชุกของ โรคจำนวน ร้อยละ 13
ความชุกของโรคจำเพาะเพศพบว่า คนงานเพศชายมีอัตราความชุกของโรค ร้อยละ 7.8 และคนงานเพศหญิงมีอัตราความชุกของโรค ร้อยละ 25
ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่
เพศหญิง [OR (95% CI) = 32 (3.92-256.7)]
ดัชนีมวลกาย (+,ณ) 23 ก.ก/ม('2) [OR (95% CI) = 3.3 (1.05-10.5)]
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีสัดส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ได้แก่
แรงบีบมือระดับต่ำ [OR (95% CI) = 4.1 (1.2-14.7)]
และทำงาน 7 วัน / สัปดาห์ [OR (95% CI) = 3.2 (1.03-9.7)]
ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่
ขนาดสัดส่วนข้อมือ การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟความสั่นสะเทือน และความเครียดจากการทำ งาน
ข้อเสนอแนะ : เนื่องจากการเกิดโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลมักเกิดจากหลายปัจจัยที่ส่ง เสริมกัน ยังไม่พบว่าเกิดจากปัจจัยอันใดอันหนึ่งที่ชัดเจน ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังป้องกันทั้งปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานและไม่ใช่จากการ ทำงานไปพร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันอุบัติการณ์การเกิดโรคต่อไป
Credit : http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082548001492