วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปรับปรุงวิธีการชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยวิธีการทางการยศาสตร์


ชื่อวิทยานิพนธ์
การปรับปรุงวิธีการชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยวิธีการทางการยศาสตร์
ERGONOMICS WORK IMPROVEMENT FOR DEBONED POULTRY MEAT PROCESSING
ชื่อนิสิต
บรรพต เทพฤทธิ์ Bunphot Tepparit
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ศ.ดร. กิตติ อินทรานนท์ Prof. Kitti Intaranont, Ph.D.
ชื่อสถาบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย Chulalongkorn University. Bangkok. (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมอุตสาหการ) Master. Engineering (Industrial Engineering)
ปีที่จบการศึกษา 2546
วัตถุประสงค์ : ปรับปรุงวิธีการทำงานชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยนำเอาความรู้ด้านการยศาสตร์ มาเป็นแนวทางในการศึกษาและวิจัยเพื่อลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตรวมทั้งสามารถลดการบาดเจ็บจากการทำงาน
วิธีการ : สัมภาษณ์เพื่อประเมินความรุนแรงของปัญหาและคัดเลือกพนักงาน เพื่อทำการทดลองและเก็บข้อมูลทั้งหมด 90 คน จากผู้ถูกทดสอบเหล่านี้โดยการวัดค่ามุมของการเคลื่อนไหว (Goniometer), คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) และค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ (Grip Strength) โดยกำหนดตัวแปรในการทดลอง ได้แก่ ท่าทางในการทำงานจำนวนผลผลิต เวลาต่อรอบการทำงาน อายุ อายุงานรวม ส่วนสูง น้ำหนัก ขนาดข้อมืออาการป่วยที่มีอยู่เดิม จำนวนชั่วโมงนอนพักผ่อน และความเร็วจากการทำงาน จากการโดยใช้ทฤษฎีฟัซซีเซตพบว่า วิธีการทำงานแบบปัจจุบันส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของมุมการเคลื่อนไหวและค่า คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากกว่าปัจจัยอื่นๆในการทำงาน
การปรับปรุง : ออกแบบขั้นตอนการทำงานใหม่ โดยลดขั้นตอนการหักข้อกระดูกขาออกแล้วใช้การแล่ชำแหละกระดูกออกแทน แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงการยศาสตร์และเชิงปริมาณการผลิตรวมถึงคุณภาพการผลิต พบว่าวิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้วให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพเพิ่มขึ้น ในส่วนของมุมในการเคลื่อนไหวและค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แรงบีบของกล้ามเนื้อมือ รวมถึงอัตราการเกินเกณฑ์อ้างอิงนั้นให้ผลที่ลดลงอย่างเด่นชัด
ผลที่ได้ : วิธีการทำงานชำแหละไก่ถอดกระดูกที่ทำการปรับปรุงแล้วจึงเป็นวิธีการ ทำงานที่เหมาะสมกว่าวิธีการทำงานแบบปัจจุบัน