วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความชุกและปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง : กรณีศึกษา สถานีขนส่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


The Prevalence and Personal Factors related to Musculoskeletal Disordersin Occupational Van Drivers: a case study of Public Transport Center in Hatyai, Songkhla.

ณัชยา แซ่เจิ้น1 กลางเดือน โพชนา1 * องุ่น สังขพงศ์1
Nachaya Sea-jern1 KlangduenPochana1 * Angoon Sungkhapong1
1 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

การเก็บข้อมูล : สัมภาษณ์พนักงานขับรถตู้จำนวน 164 คน เกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล และอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยใช้แบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจาก Standardized
Nordic Questionnaires forThe Analysis of Musculoskeletal Symptoms

วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยวิธี Chi-Square และวิเคราะห์ขนาดความสัมพันธ์โดยใช้ Odds ratio

ผลการศึกษา : พนักงานขับรถมีอายุเฉลี่ย 44.09 ปี ดัชนีมวลกาย เฉลี่ย 23.83 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และพบว่าความชุกของอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ 3 อันดับแรก ในรอบ 7 วัน คือ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 29.26 (95% CI: 22.43-36.86) คอ ร้อยละ 13.41 (95% CI: 8.60-19.60) และ ไหล่
ร้อยละ 11.58 (95% CI: 7.12-17.49) ตามลำดับ กรณีความชุกในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่าความชุกที่สูงสุดใน 3 อันดับแรก ได้แก่ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 62.19 (95% CI: 54.30-69.63) คอ ร้อยละ 23.78 (95% CI: 17.48-31.04) และ ไหล่ ร้อยละ 23.78 (95% CI: 17.48-31.04)

สรุป : ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อได้แก่ BMI BSA การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเคยปวดหลังก่อนขับรถ จากการศึกษาทำให้ทราบถึงอัตราความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทางที่มีค่าค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรสนับสนุนอย่างจริงจังให้มีการป้องกันความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและกระดูกของอาชีพพนักงานขับรถ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางทางถนนมากขึ้น

คำสำคัญ : ความชุก อาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ พนักงานขับรถตู้ ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล

Credit : วารสารวิจัย มข.

ที่มา : http://www.resjournal.kku.ac.th/scitech/issue_19_01.asp?vol=19