วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

การลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานด้วยหลักพฤติกรรมความปลอดภัย กรณีศึกษา โรงงานผลิตอะไหล่และประกอบนาฬิกา



การลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานด้วยหลักพฤติกรรมความปลอดภัย กรณีศึกษา โรงงานผลิตอะไหล่และประกอบนาฬิกา
Reduction of Risk Behavior for Operators by Using Behavior Based Safety (BBS) Technique: A Case Study of Watch-Part Manufacturing and Assembly Factory
ศิริพร เข็มทอง สิทธิพร พิมพ์สกุล
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วัตถุประสงค์ : เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ด้วยหลักพฤติกรรมความปลอดภัย 
กลุ่มตัวอย่าง : ผนกประกอบชิ้นส่วนย่อยของโรงงานผลิตอะไหล่และประกอบนาฬิกา  จำนวน 43 คน 
ลักษณะการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงานอย่างปลอดภัยและใช้หลักพฤติกรรมความปลอดภัยมาใช้กับพนักงาน 
วิธีการ :    หัวหน้างานและตัวแทนแผนกจะดำเนินการกำหนดพฤติกรรมปลอดภัยเป้าหมายโดยพิจารณาจากตัวเลขประเมินลำดับก่อนหลังของความเสี่ยง      ผู้วิจัยได้ทำการฝึกอบรมเรื่องหลักพฤติกรรมความปลอดภัย การสังเกตพฤติกรรมปลอดภัยเป้าหมาย และการดำเนินงานและการติดตามผลให้แก่หัวหน้างานและตัวแทนแผนก
ผลการวิจัย :    หลังการวิจัยพบว่าพนักงานในแผนกตัวอย่างสามารถปฏิบัติตามพฤติกรรมปลอดภัยเป้าหมาย เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ครบ 100% ภายใน 14 สัปดาห์ ผลการประเมินจากแบบสอบถามเพื่อวัดระดับทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงานอย่างปลอดภัยของพนักงานพบว่าอยู่ในระดับดีโดยมีการปรับปรุงจาก 83.7% เป็น 100.0% และ 69.8% เป็น 100.0% ตามลำดับ

คำสำคัญ : หลักพฤติกรรมความปลอดภัย, ตัวเลขประเมินลำดับก่อนหลังของความเสี่ยง, อุบัติเหตุ, ทัศนคติ, พฤติกรรม

วิศวสารลาดกระบังปีที่ 28 ฉบั บที่ 1 มีนาคม 2554

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทความในวารสารสาธารณสุขศาสตร์ (7)



 ปีที่ 40 ฉบับที่ 3          กันยายน - ธันวาคม 2553
Vol.40 No.3               September - December 2010

โรคอ้วน: ภัยคุกคามสุขภาพคนไทย
ถาวร มาต้น

  • ปัญหาและสถานการณ์โรคอ้วนของคนไทย
  • วิธีการประเมินโรคอ้วน
  • สาเหตุและหลักการควบคุมโรคอ้วน
  • 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ 
  credit: วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทความในวารสารสาธารณสุขศาสตร์ (6)


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
    ประกายเพชร สุภะเกษ สุธรรม นันทมงคลชัย มัณฑนา ดำรงศักดิ์


 ปีที่ 42 ฉบับที่ 1  มกราคม - เมษายน 2555
Vol.42 No.1  January - April 2012 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ในเขตอําเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานีจํานวน256คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจําแนกตามโรงเรียนและระดับชั้น  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบการติดเกมระหว่างวันที่1ธันวาคม2553ถึงวันที่15 มกราคม2554
การวิเคราะห์ข้อมูล : ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์ถดถอยแบบโลจีสติก 

 
ผลการวิจัย : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาติดเกมคอมพิวเตอร์ร้อยละ52.7  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติได้แก่การคล้อยตามกลุ่มเพื่อนสัมพันธภาพในครอบครัวและการเห็นคุณค่าในตนเอง
  • ตัวอย่างที่มีการคล้อยตามกลุ่มเพื่อนมากมีโอกาสที่จะติดเกมคอมพิวเตอร์เป็น 2.44 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีการคล้อยตามกลุ่มเพื่อนน้อย 
  • กลุ่มตัวอย่างที่มีสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดีมีโอกาสที่จะติดเกมคอมพิวเตอร์มากขึ้น 0.56 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีสัมพันธภาพในครอบครัวดี 
  • กลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ํา มีโอกาสที่จะติดเกมคอมพิวเตอร์มากขึ้น 0.35 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูง 
ข้อเสนอแนะ : ให้ครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วมสังเกตการเล่นคอมพิวเตอร์ของนักเรียนเพื่อป้องกันการติดเกมคอมพิวเตอร์มีการติดตามทําความรู้จักกับเพื่อนของนักเรียนเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองรวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวเพื่อนําไปสู่การดูแลเรื่องการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม

credit: วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล

 

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทความในวารสารวิจัย มข.(3)

ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน 2555 หน้า 325-337 


ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บซ้ำซากในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน  จังหวัดชลบุรี 
สุนิสา ชายเกลี้ยง วัชรากร  เรียบร้อย และรุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล



Risk Factors of Repetitive Strain Injuries among Workers of the Stone Sculpture Industry, Chonburi Province.
Sunisa Chaiklieng Watcharakorn Riabroi   and Rungthip Puntumetakul


       

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดการบาดเจ็บซ้ำซาก (RSIs) ในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี
รูปแบบ วิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic research)
การเก็บข้อมูล : ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วัดแรงบีบ และประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดย RULA ทดสอบปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิด RSIs โดย Multiple logistic regression analysis และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 
 ผลการวิจัย :
  • ในพนักงาน 82 คน พบว่าส่วนใหญ่มีแรงบีบมืออยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 57.32 และระดับดี ร้อยละ 42.68 
  •  ความเสี่ยงทางการยศาสตร์อยู่ในระดับ 4 คือ เสี่ยงสูงและงานนั้นต้องการการปรับปรุงทางการยศาสตร์ทันที ร้อยละ 59.76 พนักงานยกหินมีน้ำหนักเฉลี่ย >10 กิโลกรัม/ครั้ง ร้อยละ 41.46 ความชุกของ RSIs ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 36.59 (95% CI = 25.94 – 47.23) 
  • ปัจจัยสัมพันธ์ต่อการเกิด RSIs คือ พนักงานที่ยกหินมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน มีความเสี่ยงต่อการเกิด RSIs เป็น 25.89 เท่าของพนักงานที่ยกหินน้อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน (p-value = 0.018, 95% CI = 1.76 - 397.86) 
ข้อเสนอแนะ  : ควรมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ โดยจัดให้มีอุปกรณ์ หรือวิธีการช่วยลดความถี่ในการยกหิน เพื่อหลีกเลี่ยงการออกแรงโดยใช้อวัยวะช่วงรยางค์ส่วนบนที่ซ้ำซาก และให้พนักงานตระหนักด้านท่าทางการทำงานที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิด RSIs

       
  • This cross-sectional analytic study aimed to investigate risk factors of Repetitive Strain Injuries (RSIs) among workers of the stone sculpture industry, Chonburi province. 
  • Data were collected by the interviews using the structural questionnaire, hand grip strength measurement and Rapid Upper Limb Assessment (RULA). 
  • Risk factors were identified by multiple logistic regression analysis 
  • The six-month prevalence of RSIs was 36.59 (95% CI = 25.94 – 47.23). Multivariate analysis identified that the worker who lifted the stone >10 times per day had 25.89 times the higher risk of the development of RSIs than the workers who lifted the stone ?10 times per day (p-value=0.018, 95% CI = 1.76-397.86). 
  • These findings suggest that, there should be the improvement of worksite ergonomics, providing instruments or the methods to reduce the frequency for lifting the heavy rock stone to avoid the repetitive overuse of the upper limbs.  Moreover, workers have to learn of the right posture of working and lifting the heavy stone for RSIs protection.

คำสำคัญ:  แกะสลักหิน การบาดเจ็บซ้ำซาก  การยศาสตร์  ความเสี่ยง  แรงบีบมือ
Keyword: Stone sculpture, Repetitive Strain Injuries, Ergonomic, RULA, Hand grip strength



วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทความในวารสารวิจัย มข.(2)


ปีที่ 18 ฉบับที่ 5 กันยนยน - ตุลาคม 2556 (หน้า 880-890 )
Recognition of Musculoskeletal Disorders among workers of the electronic industry in Udon Thani Province
นภานันท์  ดวงพรมและสุนิสา  ชายเกลี้ยง2*
Napanun  Duangprom1 and Sunisa Chaiklieng2*
1สาขาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย คณะสาธารณสุขศาสตร์
 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*Correspondent author:  csunis@kku.ac.th
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในพนักงาน ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานแห่งหนึ่ง
 รูปแบบ : การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (A cross-sectional survey study)  
กลุ่มตัวอย่าง : พนักงาน ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 204 คน  คัดเลือกพนักงานที่ทำงานในสายการผลิต
การเก็บข้อมูล : ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสำรวจสภาพแวดล้อมการทำงาน คือวัดระดับแสงสว่างและเสียงดัง 
ผลการวิจัย :  กลุ่มตัวอย่างมี เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.7 อายุเฉลี่ย 26.6 ปี  ลักษณะงาน มีหน้าที่ในการส่องกล้องจุลทรรศน์ ร้อยละ 50.0 และเจาะตัดชิ้นส่วน ร้อยละ 49.0 ทุกคนมีการทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ และ 10 ชั่วโมงต่อวัน สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีการทำงานซ้ำซากท่าเดิม ร้อยละ 97.5 นั่งทำงานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 54.3และยืนทำงานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 47.2 ผล การตรวจวัดแสงสว่างหน้างานในทุกพื้นที่หน้างานพบ ค่าความเข้มของแสงสว่าง เป็นไปตามมาตรฐาน และระดับเสียงดัง บริเวณเจาะ มีค่า 84.3- 85.6 เดซิเบลเอไม่เกินค่ามาตรฐานตามกฎกระทรวงแรงงาน 
  • ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในรอบ 1เดือนที่ผ่านมา พบร้อยละ 92.7 ( 95%CI : 89.2– 96.1 )
  • ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ 3 ตำแหน่งแรก สูงสุดได้แก่ ไหล่ ร้อยละ 79.4 (95%CI : 74.5 – 85.3 ) คอ ร้อยละ 75.0 ( 95%CI : 69.0 – 81.7 ) และหลังส่วนบน ร้อยละ 70.6 (95%CI : 64.5 – 77.6 )
  • ความรุนแรงของอาการปวดตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปพบความชุกสูงสุด 3 อันดับแรกในตำแหน่งเดียวกันนี้ 
ข้อเสนอแนะ : พบความชุกของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อที่ สูงในพนักงาน ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับสภาพของงาน จึงควรมีการเฝ้าระวังโรคทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ในพนักงาน โดยพนักงานควรมีความรู้ทางการยศาสตร์เพื่อการปฏิบัติตนและมีท่าทางที่ถูก ต้องในการทำงาน สถานประกอบการควรมีการตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงานอย่างต่อเนื่องและจัดให้มี ช่วงเวลาพักจากการทำงานที่เหมาะสมของพนักงาน
  • This cross-sectional survey study aimed to investigate the musculoskeletal disorders (MSDs) among workers of the electronic industry. 
  • There were 204 workers selected from production department in one electronic industry in Udon Thani province participated in this study. 
  • Data were collected by the interview using the structural questionnaires and work environmental survey for lighting intensities and sound level measurement.
  • Among the 204 workers, 88.7% were female. The average age was 26.6 years. For working position, 50.0% of those being used microscope to inspection while 49.0% used drill cutting. The working time was 6 days per week and 10 hours per day (100%). Most of them had the repetitive works (97.5%). There were 54.3% of worker being prolonged sitting posture at work over 2 hours per days while 47.2% also were prolonged standing posture at work over 2 hours per day. Light intensities at 6 areas of working: were followed the standard requirement. Sound level at punching area was 84.3 – 85.6 dB(A) which was followed the standard. 
  • The prevalence of MSDs during the last one month period were predominantly found in the following three anatomical areas: shoulder (79.4%, 95%CI : 74.5 – 85.3 ), neck ( 75.0%, 95%CI : 69.0 – 81.7 ) and upper back ( 70.6%, 95%CI : 64.5 – 77.6 ). 
  • When the severity was considered, severity of MSDs at level of moderate pain at least showed that MSDs during the last one month were predominantly found in the same anatomical areas. 
  • These findings of high prevalence of MSDs suggest that, there should be the surveillance of MSDs among electronic workers. Moreover, workers have to learn of basic ergonomics, the right posture of to avoid MSDs. The monitoring program of work environment and management of optimum work period should be considered.
  •  
คำสำคัญ:   ความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ, พนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สภาพแวดล้อมในการทำงาน
Keywords: Musculoskeletal disorders, electronic workers, work environment