วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทความในวารสารวิจัย มข.(3)

ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน 2555 หน้า 325-337 


ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บซ้ำซากในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน  จังหวัดชลบุรี 
สุนิสา ชายเกลี้ยง วัชรากร  เรียบร้อย และรุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล



Risk Factors of Repetitive Strain Injuries among Workers of the Stone Sculpture Industry, Chonburi Province.
Sunisa Chaiklieng Watcharakorn Riabroi   and Rungthip Puntumetakul


       

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดการบาดเจ็บซ้ำซาก (RSIs) ในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี
รูปแบบ วิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic research)
การเก็บข้อมูล : ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วัดแรงบีบ และประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดย RULA ทดสอบปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิด RSIs โดย Multiple logistic regression analysis และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 
 ผลการวิจัย :
  • ในพนักงาน 82 คน พบว่าส่วนใหญ่มีแรงบีบมืออยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 57.32 และระดับดี ร้อยละ 42.68 
  •  ความเสี่ยงทางการยศาสตร์อยู่ในระดับ 4 คือ เสี่ยงสูงและงานนั้นต้องการการปรับปรุงทางการยศาสตร์ทันที ร้อยละ 59.76 พนักงานยกหินมีน้ำหนักเฉลี่ย >10 กิโลกรัม/ครั้ง ร้อยละ 41.46 ความชุกของ RSIs ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 36.59 (95% CI = 25.94 – 47.23) 
  • ปัจจัยสัมพันธ์ต่อการเกิด RSIs คือ พนักงานที่ยกหินมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน มีความเสี่ยงต่อการเกิด RSIs เป็น 25.89 เท่าของพนักงานที่ยกหินน้อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน (p-value = 0.018, 95% CI = 1.76 - 397.86) 
ข้อเสนอแนะ  : ควรมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ โดยจัดให้มีอุปกรณ์ หรือวิธีการช่วยลดความถี่ในการยกหิน เพื่อหลีกเลี่ยงการออกแรงโดยใช้อวัยวะช่วงรยางค์ส่วนบนที่ซ้ำซาก และให้พนักงานตระหนักด้านท่าทางการทำงานที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิด RSIs

       
  • This cross-sectional analytic study aimed to investigate risk factors of Repetitive Strain Injuries (RSIs) among workers of the stone sculpture industry, Chonburi province. 
  • Data were collected by the interviews using the structural questionnaire, hand grip strength measurement and Rapid Upper Limb Assessment (RULA). 
  • Risk factors were identified by multiple logistic regression analysis 
  • The six-month prevalence of RSIs was 36.59 (95% CI = 25.94 – 47.23). Multivariate analysis identified that the worker who lifted the stone >10 times per day had 25.89 times the higher risk of the development of RSIs than the workers who lifted the stone ?10 times per day (p-value=0.018, 95% CI = 1.76-397.86). 
  • These findings suggest that, there should be the improvement of worksite ergonomics, providing instruments or the methods to reduce the frequency for lifting the heavy rock stone to avoid the repetitive overuse of the upper limbs.  Moreover, workers have to learn of the right posture of working and lifting the heavy stone for RSIs protection.

คำสำคัญ:  แกะสลักหิน การบาดเจ็บซ้ำซาก  การยศาสตร์  ความเสี่ยง  แรงบีบมือ
Keyword: Stone sculpture, Repetitive Strain Injuries, Ergonomic, RULA, Hand grip strength