วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทความในวารสารวิจัย มข.(1)

Musculoskeletal disorders among dental personnel of government sector in Khon Kaen province.
รัชติญา นิธิธรรมธาดา1สุนิสา ชายเกลี้ยง2,*รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล3
Rachatiya  Nithithamthada1, Sunisa  Chaiklieng2*Rungthip Puntumetakul3
1สาขาวิชาวิทยาระบาด  คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3กลุ่มวิจัยปวดหลัง ปวดคอ และปวดข้ออื่นๆ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*Correspondent author: csunis@kku.ac.th

  • การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของทันตบุคลากรในสถานบริการของรัฐ จังหวัดขอนแก่น 
  • จำนวน 282 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาความชุก และช่วงความเชื่อมั่น  95% CI 
  •  ผลการวิจัย  ทันตบุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.9 มีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 32.8 ปี (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=9.4) มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (18.5 – 22.9 กิโลกรัม/เมตร2ร้อยละ 55.3    ทันตบุคลากรส่วนใหญ่เป็นทันตาภิบาล ร้อยละ 46.4 รองลงมาคือทันตแพทย์ ร้อยละ 22.0 และผู้ช่วยเหลือคนไข้ ร้อยละ 18.1 
  •  ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา และรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาโดยไม่คำนึงถึงระดับความรุนแรงและความถี่ พบร้อยละ 57.8 (95%CI= 51.8-63.6) และ ร้อยละ 93.6 (95%CI = 90.0–96.2)  ตามลำดับ 
  • ความชุกในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาความรุนแรงอยู่ที่ระดับรู้สึกมาก 3 ตำแหน่งแรกที่มีอาการสูงสุด คือบริเวณไหล่ขวาหรือซ้าย ร้อยละ 24.6 เอวหรือหลังส่วนล่าง  ร้อยละ19.3 และคอ ร้อยละ 16.7 ตามลำดับ 
  • ความถี่ของการเกิดอาการที่ระดับมีอาการทุกวัน  พบสูงสุด 3ตำแหน่งแรก คือบริเวณไหล่ขวาหรือซ้าย ร้อยละ 13.6 คอ ร้อยละ 11.7 และเอวหรือหลังส่วนล่าง ร้อยละ 7.6ตามลำดับ 
  • ในจำนวนที่มีอาการปวด จำนวน 264 ราย พบว่าอาการปวดส่งผลกระทบต่อการทำงานแต่สามารถทำกิจกรรมได้ปกติ ร้อยละ 76.1 โดยอาการเหล่านี้เกิดจากการทำงาน ร้อยละ 71.2 ช่วงเวลาที่มีอาการปวดรุนแรงที่สุดคือตอนเย็นหลังเลิกงาน ร้อยละ 41.3 ต้องใช้ยาระงับอาการปวดหรือพบแพทย์แผนไทย ร้อยละ 64.6 ผลการศึกษานี้บ่งชี้ปัญหาด้านการปวดคอ ไหล่ หลัง 
  • ในทันตบุคลากรซึ่งพบว่ามี ระดับความรุนแรงและความถี่ที่สูงจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังความผิด ปกติของคอ ไหล่ หลังในทันตบุคลากรต่อไป รวมทั้งหาแนวทางป้องกันโดยทำการการศึกษาเชิงลึกแบบติดตามไปข้างหน้าเพื่อค้น หาปัจจัยเสี่ยง
  • This cross-sectional descriptive study aimed to determine the prevalence of musculoskeletal disorders (MSDs) among dental personnel of government sector in Khon Kaen province.  
  • There were 282 dental personnel enrolled into this study. Data were collected by interviews with thestructural questionnaires. 
  • Descriptive statistics were used to describe characteristics of participantsand MSDs prevalence and 95% confidence interval (95%CI) were calculated. 
  • The results showed that most participants were female (81.9%), the mean age was 32.8 years (S.D. = 9.4 years) and body mass index was normal level (18.5 – 22.9 kg/m2) for 55.3%. 
  • Most work positions were dentalnurses (46.4%), followed by dentists (22.0%) and patient assistants (18.1%), respectively. The last 7-day and 1- month prevalence of MSDs were  57.8 (95%CI=51.8-63.6) and 93.6% (95% CI = 90.0-96.2), respectively. At severe level of pain, the top three prevalences were found at shoulder (24.6 %), lower back  (19.3%), and neck (16.7%), respectively. 
  • When the frequency of pain at everyday occurrence was considered, the top three prevalence of pain were found at areas of shoulder (13.6%), neck (11.7%) and lower back (7.6%), respectively. 
  • Among MSDs cases (n=264), 76.1% of cases reported that pain impacted on working but normal daily life activity and 71.2% of cases reported that MSDs were caused by working. Cases reported the most severe symptoms occurring in the evening  after work ( 41.3%).  There were 64.4% of cases intakedpainkillers or asked treatment by Thai traditional medicine program
  • The  findings identify the high prevalences of neck, shoulder and back pain among dental personnels at the severity level and the high frequency of pain occurrence. Therefore, there should be the health surveillanceprogram of neck- shoulder- back pain among dental personnels. These results are very useful for the planning of the prevention of MSDs among dental personnel by further study with prospective cohort study to identify the risk factors of neck-shoulder-back pain.

คำสำคัญความชุก ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ทันตบุคลากร
Keywords: Prevalence, musculoskeletal disorders, dental personnel