วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (TABLET) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจงานก่อสร้าง

Development application on tablet for increase construction inspection efficiency

กณพ วัฒนา1*, กุสุมา ผลาพรม1, สุทิติ ขัตติยะ2, สมิตร ส่งพิริยะกิจ3
Kanop Wattana1* Kusuma Palaprom1 Sutiti Kattiya2 and Smith Songpiriyakij3

1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
2 คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
3 ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม,วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
* ติดต่อผู้วิจัย , E-mail: kanop_tm03@hotmail.com

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Tablet) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจงานก่อสร้าง และประเมินหาประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่มผู้ตรวจงานก่อสร้างระหว่างผู้ที่ได้ใช้และไม่ได้ใช้เครื่องมือนี้

วิธีการ : โดยเครื่องมือที่ได้สร้างขึ้นนั้นได้แบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วน คือ ฐานข้อมูลออนไลน์ และในคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (Tablet) โดยผู้ใช้สามารถตรวจติดตามงานก่อสร้างได้จากเวบไซต์ และสามารถบันทึกข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อบกพร่อง การปรับปรุงแก้ไขในงวดงานก่อสร้างในแต่ละงวดงานได้ เนื้อหาบนเครื่องมือนี้ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นโดยนำหลักการตรวจงานก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) มาใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการตรวจงานด้วย โดยมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการตรวจงานก่อสร้างและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมออกแบบโดยผ่านแบบประเมิน และนำไปประเมินหาประสิทธิภาพในการทำงานด้านการตรวจงานก่อสร้าง จากกลุ่มกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างจำนวน 30 คน ในโครงการก่อสร้างประเภทอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีหัวข้อการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน 5 ด้าน

ผลการวิจัย : ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพแต่ละด้าน พบว่าด้านประสิทธิภาพด้านความสะดวกและการติดต่อประสานงานในการตรวจงานก่อสร้างมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยรองลงมาคือด้านความสามารถในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจ และความโปร่งใสของบุคลากรในการตรวจงานก่อสร้าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เครื่องมือนี้ทำให้เกิดความสะดวก ความคล่องตัวในการตรวจงานก่อสร้างมากยิ่งขึ้นโดยคำนึงถึงการมีเวลาว่างในการไปตรวจงานที่ไม่ตรงกันของผู้ตรวจงาน และเครื่องมือนี้ยังทำให้ผู้ตรวจงานก่อสร้างโดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้ในด้านการตรวจงานก่อสร้าง ให้สามารถเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในงานก่อสร้างมากยิ่งขึ้น จากข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ เมื่อผู้ตรวจงานสามารถตัดสินใจในการตรวจงานเองได้จะส่งผลให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจงานตามไปด้วย

คำสำคัญ : การตรวจงานก่อสร้าง, โปรแกรมตรวจงานก่อสร้าง, คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาในการตรวจงาน


Credit : วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี ที่ 9 ฉบับที่ 2 พฤษภาคมสิงหาคม 2556