วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ระยะเวลาการทำงานและหยุดพักที่เหมาะสมเพื่อลดความล้าในพนักงาน ตรวจสอบคุณภาพขวดกะกลางคืนของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม

Appropriate working and rest period to relieve fatigue of night shift bottle
inspection staff in beverage factory

ธนชิต ขันทราช , นิวิท เจริญใจ
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
E-mail: Tan28516@rocketmail.com and Nivit@chiangmai.ac.th
Tanachit Khuntarat Nivit Charoenchai
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chiangmai University, Muang,
Chiangmai 50200
E-mail: Tan28516@rocketmail.com and Nivit@chiangmai.ac.th

ความเป็นมา : งานตรวจสอบคุณภาพขวดในโรงงานผลิตเครื่องดื่มเป็นงานที่ต้องใช้สายตาในการเพ่งมองและใช้ความคิดในการตัดสินใจคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพออกจากสายการผลิต การทำงานในเวลากลางคืนที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องจะทำให้พนักงานเกิดความล้าทางจิตใจ (Mental fatigue) ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และเพิ่มโอกาสการเกิดอุบัติเหตุในเวลางาน หนึ่งในวิธีการลดความล้าทางจิตใจคือการจัดเวลาการทำงานและเวลาพักที่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลถึงระดับของการลดความล้าทางจิตใจที่มีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและคัดเลือกระยะเวลาทำงานและหยุดพักที่ทำให้ความล้าทางจิตใจลดลงมากที่สุดในพนักงานตรวจสอบคุณภาพสินค้าเครื่องดื่มในสายการบรรจุกะกลางคืนจากช่วงเวลาพักที่สามารถปฏิบัติได้จริง

วิธีการ : ทำการวัดความล้าทางจิตใจโดยใช้แบบสอบถามทางจิตพิสัยและวัดค่าเวลาตอบสนอง (Reaction time) ในพนักงานตรวจสอบคุณภาพขวดของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม โดยทำการวัดก่อนและหลังการพักของการทำงานของพนักงานกะกลางคืน 12 คน และทำการวิเคราะห์ผลโดยวิธีทางสถิติเพื่อหาระยะเวลาทำงานและหยุดพักที่ทำให้ความล้าลดลงมากที่สุด

ผลการวิจัย : ระยะเวลาทำงานและพักที่เหมาะสมที่สุดคือทำงาน 60 นาทีและหยุดพัก 60 นาที

คำสำคัญ : Ergonomics, mental fatigue, shift work, inspection, reaction time, work rest

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น