วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การลดอาการปวดหลังส่วนล่างของพนักงานเตรียมผ้า..กรณีศึกษาโรงงานย้อมผ้าถัก

The Study and Comparison of Employees’ Low Back Pain in Manufacturing
Industries

นิธิดา จิรโชคนุเคราะห์ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร*
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*

วัตถุประสงค์ : เพื่อลดระดับอาการปวดหลังอันเนื่องมาจากการทำงานของพนักงานในโรงงานย้อมผ้าถักตัวอย่าง

ผลการวิจัย : แผนกโกดังผ้าดิบ มีดัชนีความไม่ปกติ (AI) สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น ๆ คือมีค่าเฉลี่ย 3.4 ซึ่งหมายถึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข จากนั้นสุ่มตัวอย่างพนักงานในแผนกโกดังผ้าดิบ 5 คนและศึกษาค่า RULA, EMG และแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 ในขณะทำงานปกติคือยกม้วนผ้าหนัก 40 กก. คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 7 การวิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ได้ค่าเฉลี่ยกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างด้านซ้ายและขวา คิดเป็น 68.8% และ 59.1% ของสัญญาณไฟสูงสุดของกล้ามเนื้อ ตามลำดับ
จากการคำนวณค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 ได้ค่าสูงสุด 6,025.5 N. จึงได้ปรับปรุงการทำงานโดยการใช้โต๊ะปรับระดับและทำการทดลอง 2 วิธี คือ (1) ให้อาสาสมัครดึงม้วนผ้าออกจากพาลเล็ทแทนการก้มยก (2)ให้อาสาสมัครดึงม้วนผ้าออกจากพาลเล็ทและใช้แผ่นพลาสติกรองระหว่างม้วนผ้าผลการทดลองวิธีแรกได้สัญญาณ EMG 58.2% และ 49.1% ตามลำดับ คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6 ค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูกL5/S1 มากที่สุด 5,835.9 N.
ผลการทดลองวิธีหลังได้สัญญาณ EMG 34.9% และ 27.8% ตามลำดับ คำนวณค่า RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6 ค่าแรงกดที่หมอนรองกระดูกL5/S1 มากที่สุด 3,748.8 N.

สรุป : การเปลี่ยนท่าทางการทำงานใหม่และนำแผ่นพลาสติกมารองระหว่างม้วนผ้ามีผลทำให้ลดการบาดเจ็บหลังส่วนล่างลงได้

คำสำคัญ : สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) หมอนรองกระดูก L5/S1 โต๊ะปรับระดับ


Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550