Assessment of Design and Construction of the
Bulrush Plants Fleecing Machine by Ergonomics Method
วีรชัย มัฎฐารักษ์ 1 พิทยา ตุกเตียน 2 และ นิพนธ์ มณีโชติ 3
Weerachai Madtharak1 Pitthaya Tuktian2
Nipon Maneechot3
1,2,3 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา 90000
Faculty of Industrial Technology, Songkhla
Rajabhat University 90000
วัตถุประสงค์ : ประเมินผลทางการยศาสตร์ในการรีดกระจูดของกลุ่มตัวอย่างชุมชนทะเลน้อย
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
วิธีการ : โดยเปรียบเทียบผลประเมินการทำงานที่มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการรีดกระจูด
ก่อนและหลังการปรับปรุงการทำงานใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยวิธี RULA และ REBA
ผลการศึกษา : ผลการวิเคราะห์ก่อนปรับปรุงการทำงานด้วยวิธี
RULA พบว่า มีคะแนนเท่ากับ 7 ซึ่งหมายถึงว่ามีปัญหาทางการศาสตร์ในระดับที่ต้องได้รับการปรับปรุงการทำงาน
โดยทันที ซึ่งสอดคล้องกับวิธี REBA ซึ่ง พบว่ามีคะแนนเท่ากับ
11 ซึ่งหมายถึงการทำงานที่มีความเสี่ยงสูงมาก
ซึ่งต้องการการตรวจสอบและปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานในทันที
หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ปรับปรุงวิธีการทำงานโดยการออกแบบและสร้างเครื่องรีดกระจูดโดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเดิม
และวิเคราะห์ด้วยวิธี RULA และ REBA อีกครั้ง ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า วิธี RULA
มีคะแนนลดลงเหลือเท่ากับ 3 โดยสอดคล้องกันการวิเคราะห์ด้วยวิธี
REBA ซึ่งพบว่ามีคะแนนลดลงเหลือเท่ากับ 3 จากผลคะแนนดังกล่าวสรุปได้ว่าปัญหาทางการยศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างลดลงจากการออกแบบและสร้างเครื่องรีดกระจูด
คำสำคัญ : การประเมินผล
เครื่องรีดกระจูด การศาสตร์
Credit : วารสารวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับที่ 20(2)
ประจำเดือน พ.ค.-ส.ค. 2556