วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผลของโครงการคนไทยไร้พุงต่อการลดค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

Effects of Thais without Big Belly Project to Reduce BMI and Waist Circumference of Participants in Project in Area of Lower Northern Region

ถาวร มาต้น* ปัทมา สุพรรณกุล*
Tavorn Maton* Pattama Suphanakul*

* คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
* Faculty of public Health, Naresuan University


ความเป็นมา : ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลให้เกิด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้หลายโรค

วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการ วิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดผลสองครั้งก่อนและหลัง เพื่อศึกษาระดับความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการ ส่งเสริมสุขภาพ และผลของโครงการคนไทยไร้พุง ที่ดำเนินการโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

วิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการด้านการส่งเสริม สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่ง จำนวน 300 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และให้การอบรมโปรแกรมกิจกรรม 3 . 1 วัน

ผลการวิจั: พบว่า กิจกรรม 3 . ของโครงการฯ มีผลทำให้กลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีความรู้และการปฏิบัติ ในเรื่อง การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และ การป้องกันโรคดีขึ้นกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.001)
ส่วนความรู้ และการปฏิบัติ ในเรื่อง การจัดการความเครียด ก่อนและหลังการ อบรม ไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.497 และ 0.072 ตามลำดับ)
ค่า BMI ของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลัง การอบรมพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.127)
ส่วนขนาดรอบเอว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.001)
ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุข จึงควรให้ความรู้ และเทคนิคการจัดการความเครียด แก่กลุ่มที่มีน้ำหนักเกินให้มากขึ้น เพราะกลุ่มนี้มักจะ มีปัญหาความเครียดร่วมด้วย

คำสำคัญ: ดัชนีมวลกาย, ขนาดรอบเอว, พฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพ, ความรู้, พฤติกรรม การปฏิบัติ, โครงการคนไทยไร้พุง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล


Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3 (..-.. 2555)