วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การพัฒนาแนวทางป้องกันอันตรายภายในสถานพยาบาลสัตว์เล็ก : กรณีศึกษาในชุมชนตลาดใหม่ ชุมชนบ้านสวน อำเภอเมือง และ ชุมชนเนินพลับหวาน อำเภอบางละมุง ของจังหวัดชลบุรี

Development of the Direction for Hazard Protection in Small Animal Medical Center : Case Study in Talad-Mai Community and Bansuan Community, Muang District and
Nuen-Plub-Wan Community, Banglamung District in Chonburi.

เตือนตา ชาญศิลป์ ศิริลักษณ์ มีสุวรรณ ธาริณี ทับทิม สมชาย โสมย์ไพศาลศิลป์ อธิคม ชินอ่อน
ปิติพัฒน์ กิตติ์พิภัทร์กุล และมนัน วงศ์เสรีพิพัฒนา
Tuonta Chansilpa Siriluk Mesuwan Tharinee Tubtim Somchai Sompaisarnsilp Athicom Chin-On
Pitipat Kitpipatkun and Manan Wongsereepipattana
คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ จังหวัดชลบุรี
Email: dvm_rmutto@hotmail.comโทร. 038-358201 ext 1027, 1020

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันอันตรายในสถานพยาบาลสัตว์เล็ก ในกรณีศึกษาชุมชนตลาดใหม่ ชุมชนบ้านสวน อำเภอเมือง และชุมชนเนินพลับหวาน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

วิธีการ : การดำเนินงานเริ่มจากคณะผู้วิจัยและเจ้าของโรงพยาบาลสัตว์เล็ก ในกรณีศึกษาประชุมร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน โดยเริ่มจากการประเมินจิตสำนึกของผู้ให้บริการในสถานพยาบาลสัตว์เล็กเหล่านี้ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน ดำเนินการออกแบบวิธีการค้นหาอันตรายแบบ What-if-Analysis ด้วยการใช้แบบสอบถาม แล้วประเมินความเสี่ยงในสถานพยาบาลสัตว์เล็กในกรณีศึกษาด้วยวิธี Risk Assessment

ผลการศึกษา : ผลจากการค้นหาอันตราย พบว่ามีจุดอันตรายทั้งหมด 59 จุด และหลังจากการนำไปประเมินความเสี่ยง พบว่าในภาพรวมมีความเสี่ยงในระดับปานกลาง แต่เมื่อวิเคราะห์ในแต่ละสถานพยาบาลสัตว์เล็ก พบว่า
-สถานพยาบาลสัตว์เล็กของชุมชนตลาดใหม่ มีความเสี่ยงด้านกายภาพสูงมาก 2 จุด และสูง 2 จุด และยังมีความเสี่ยงด้านความรู้สูง 1 จุด
-สถานพยาบาลสัตว์เล็กของชุมชนบ้านสวน พบว่ามีความเสี่ยงทุกด้านในภาพรวม
-ส่วนสถานพยาบาลสัตว์เล็กของชุมชนเนินพลับหวาน มีความเสี่ยงสูงด้านกายภาพ 2 จุด และความเสี่ยงด้านความรู้ 1 จุด
สำหรับการหาแนวทางป้องกันอันตรายในสถานพยาบาลสัตว์เล็ก ใช้การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยด้วยการจัดกิจกรรม และอบรมความรู้เกี่ยวกับอันตรายและการป้องกันอันตรายในสถานพยาบาลสัตว์เล็ก ผลการดำเนินงานพบว่า จิตสำนึกด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการในภาพรวมมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 2.24 ± 0.85 เป็น 4.00 ± 0.77 โดยจำแนกเป็นจิตสำนึกต่อด้านกายภาพมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 2.05 ± 0.76 เป็น 3.95 ± 0.72 ด้านความรู้มีค่าเพิ่มขึ้นจาก 2.29 ± 0.84 เป็น 3.88 ± 0.76 ด้านบุคคลมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 2.25 ± 0.93 เป็น 4.04 ± 0.89 และด้านพฤติกรรมเพิ่มขึ้นจาก 2.33 ± 0.83 เป็น 4.20 ± 0.64

คำสำคัญ: การป้องกันอันตราย สถานพยาบาลสัตว์เล็ก การประเมินความเสี่ยง จิตสำนึกด้านความปลอดภัย

Credit : วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ที่มา : http://ird.rmutto.ac.th/index.php?menu=shownews&page=TP1487