A Study of Anthropometry of Male
and Female Kindergarten
in the South of Thailand
สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์1* จักรนรินทร์ ฉัตรทอง2
1,2สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
อ.เมือง จ.สงขลา 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*
Surasit Rawangwong1*
Jaknarin Chatthong2
1,2Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering,
Rajamangala University of Technology
Srivijaya, Muang, Songkhla 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนอนุบาลชายและหญิงในภาคใต้
วิธีการ : นักเรียนอนุบาลชายและหญิงในภาคใต้ จำนวน 36สัดส่วน โดยใช้เครื่องมือวัด 2 แบบ คือแบบที่
1 เป็นเครื่องมือที่จัดสร้างขึ้นคือ เครื่องมือวัดความสูง และแบบที่
2 เป็นเครื่องมือวัดคาลิปเปอร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนอนุบาลชายและหญิง
ช่วงอายุ 4-6 ปี จำนวน 600 คน เป็นนักเรียนอนุบาลชาย
300 คน และหญิง 300 คน
ผลการวิจัย : วัดความสูงและชั่งน้ำหนักนักเรียนอนุบาลชาย มีความสูงเฉลี่ย 110.31(±3.87) 115.11(±1.95) 120.61(±3.27) ซม. ตามลำดับ และน้ำหนักเฉลี่ย 19.21(±3.11) 22.27(±3.83) 25.49(±5.44)
กก.ตามลำดับ วัดความสูงและชั่งน้ำหนักนักเรียนอนุบาลหญิง
มีความสูงเฉลี่ย 109.12(±3.12) 114.80(±2.96) 121.00(±4.12) ซม.ตามลำดับ และน้ำหนักเฉลี่ย 18.46(±3.77) 21.26(±4.59) 23.11(±3.84)
กก. ตามลำดับ
จากการเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนอนุบาลชายและหญิง
ช่วงอายุ 4-6 ปี ในภาคใต้ ที่ได้จากงานวิจัยนี้
จำนวน 36 สัดส่วน สรุปได้ว่านักเรียนอนุบาลชายมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนอนุบาลหญิงเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ
(p<0.05) ยกเว้น ความสูงระดับสะโพกความสูงระดับข้อนิ้วมือ ความสูงระดับนิ้วมือ
ความยาวจากก้นถึงหัวเข่า และความยาวจากก้นถึงข้อพับเข่า
เมื่อเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายนักเรียนอนุบาลชาย
อายุ 6 ปี ในภาคใต้ของประเทศไทยกับนักเรียนอนุบาลชาย
อายุ 6 ปี ของประเทศตุรกี จำนวน 15สัดส่วน
สรุปได้ว่า นักเรียนอนุบาลชายในภาคใต้ของประเทศไทยมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนอนุบาลชายของประเทศตุรกีเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ
(p<0.05) ยกเว้นระยะจากข้อศอกถึงปลายนิ้วมือ ระยะจากต้นแขนถึงปลายนิ้ว
ความหนาของหน้าอกความสูงขณะนั่ง และความสูงระดับสายตาขณะนั่ง
คำสำคัญ : การยศาสตร์ ขนาดสัดส่วนร่างกาย นักเรียนอนุบาลชายและหญิง
Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ
ประจำปี พ.ศ. 2551
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น