The Study and
Comparison of Employees’ Low Back Pain in Service Industry
เอกรัตน์ โภคสวัสดิ์1 นภาพร รักบ้านเกิด2 ยุทธชัย บรรเทิงจิตร3* วิชัย วนดุรงค์วรรณ4
1สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ. ทุ่งสง จ. นครศรีธรรมราช
2,3ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เขตบางซื่อ
กรุงเทพฯ 10800
4ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพฯ 10702
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*
Eakkarat Phoksawat1 Napaporn Rukbankerd2 Yuthachai Bunterngchit3*
Vichai Vanadurongwan4
1Rajamangala University of Technology Srivijaya 109
M. 2 T. Thumyai A. Thungsong Nakhon sri thumara
2,3Department of Industrial Engineering, King
Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok, 1518 Pibulsongkram Rd.,
Bangsue, Bangkok 10800
4Department of Orthopaedic, Mahidol University,
Bangkoknoi, Bangkok 10702
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะระดับอาการปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บ (Oswestry : OSW) ในกลุ่มอาชีพพนักงานผู้ให้บริการ และวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการปวดหลังบริเวณดังกล่าว
วิธีการ : โดยทำการออกแบบแบบสอบถามภาวะอาการปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บ
แล้วทำการสำรวจพนักงานผู้ให้บริการทั้งหมด 12 อาชีพ อาชีพละ
100 คน รวม 1,200 คน
ผลการศึกษา : พนักงานผู้ให้บริการมีเปอร์เซ็นต์ของการปวดหลังสูงที่สุด 3 ลำดับแรกคือ (1) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
(89%) (2) พยาบาล (85 %) และ (3) พนักงานนวดแผนโบราณ (82 %) และค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์
OSW สูงสุด 3 อันดับแรก คือ (1) พนักงานนวดแผนโบราณ 15.8(±11.25)% (2) แม่บ้าน
15.1(±14.19)% และ (3) พนักงานขับรถ
13.3(±12.05)% ผลจากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่า
OSW โดยใช้ ANOVA สรุปได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่า
OSW ของพนักงานผู้ให้บริการหลายอาชีพอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ได้แก่ อายุตัว อายุงานระยะเวลาในการทำงานเฉลี่ยต่อวัน
ช่วงเวลาในการพักอิริยาบถในการทำงาน การเอี้ยวหรือบิดตัวและการก้มในขณะทำงาน และน้ำหนักของภาระที่ยก
จากการเปรียบเทียบวิธีการทำงานระหว่างพนักงานที่มีอาการปวดหลังมากกับพนักงานที่มีอาการปวดหลังน้อย
โดยการสัมภาษณ์และศึกษาวิธีจากวิธีทำงานจริงและสร้างแผนภูมิกระบวนการปฏิบัติงาน สรุปได้ว่า
พนักงานทั้ง 2 คนมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น
แม่บ้านที่มีอาการปวดหลังมากจะก้มหลังยกภาระ และมีการก้มหลังและหมุนตัวในขณะถูพื้น
ส่วนแม่บ้านที่มีอาการปวดหลังน้อยจะย่อเข่าเพื่อใช้แรงขาช่วยในการยกภาระและถูพื้นในแนวตรงไม่มีการหมุนตัว
เป็นต้น
คำสำคัญ : ภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บ อุตสาหกรรมบริการ ระดับความรุนแรงของการปวดหลัง
Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550