The Study and
Comparison of Employees’ Low Back Pain in
Manufacturing
Industries
เจษฎา กาญจนภัทรานนท์
จรรยา จิตราพิเนตร วิชัย วนดุรงค์วรรณ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร*
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สาทร กทม. 10120
แผนกการบริหารความเสี่ยง
ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กลุ่มโรงพยาบาลศรีวิชัย 240/1-7 จรัญสนิทวงศ์ บางกอกน้อย กทม. 10700
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*
Chetsada Kanchanapatthanon
Janya Jitrapinate Vichai Vanadurongwan Yuthachai Bunterngchit*
Rajamangala University of
Technology Krungthep Sathorn, Bangkok 10120
Srivichai Hospital Group
240/1-7 Charunsanitwong Rd., Bangkoknoi, Bangkok
King Mungkut’s University of
Technology North Bangkok, Bangsue, Bangkok 10800
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบภาวะปวดหลัง บริเวณกระเบนเหน็บของพนักงานที่ทำงานในโรงงาน
อุตสาหกรรม
วิธีการ : พนักงานที่ทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรม 12 กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพละประมาณ
100 คน โดยทำ การสำรวจด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและ
การตรวจสอบความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม
ผลการศึกษา : ค่าระดับความรุนแรง (Oswestry; OSW) ของอาการปวดหลังบริเวณดังกล่าว
สูงสุด 3 อันดับแรก คือ (1) พนักงานปั่นทอด้ายโดยเครื่องจักร
23.7(±16.8)% (2) พนักงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนัก
16.5(±15.7)% และ (3) พนักงานผลิต และขนถ่ายวัสดุ
ก่อสร้าง 16.5(±11.6)% โดยมีค่าเฉลี่ย 12 กลุ่มอาชีพ 14.9(±12.1)% ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงไม่มากนัก
เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บโดยใช้สถิติ
ไค-สแควร์ สรุปได้ว่าปัจจัยหลักที่ ส่งผลกระทบต่อจำนวนพนักงานที่ปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บหลายกลุ่มอาชีพอย่างมีนัยสำคัญ
(p<0.05) ได้แก่ การบิดตัว ความสูงเก้าอี้ การยกภาระหนัก พื้นที่
การทำงาน
เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความ
รุนแรงของอาการปวดหลัง
(OSW) โดยใช้ ANOVA สรุป ได้ว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบหลายกลุ่มอาชีพอย่างมี
นัยสำคัญ (p<0.05) ได้แก่ การก้มขณะทำงาน การยก ภาระหนัก
อิริยาบถในการทำงาน การบิดตัว และจาก การเปรียบเทียบระดับความรุนแรงอาการปวดหลังบริเวณ
กระเบนเหน็บของพนักงาน ทั้ง 12 กลุ่มอาชีพพบว่ามี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
(p<0.05) สำหรับแต่ละ อาชีพที่ศึกษา
คำสำคัญ
: ภาวะปวดหลังบริเวณกระเบนเหน็บ
ระดับ ความรุนแรงของการปวดหลัง พนักงานปั่นทอด้ายโดย เครื่องจักร
Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ
ประจำปี พ.ศ. 2551
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น