Workstation Improvement Utilizing
Principles of Ergonomics : A Case Study of
A Plastic Production Factory
นพพร
บุญประดับ1* ธนพล บุปผา2 ยุทธชัย บรรเทิงจิตร3
1,2,3ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เขตบางซื่อ
กรุงเทพ 10800
E-mail: tanapon_bp@yahoo.com *
Nopphon Bunpradub1* Tanapon Buppha2 Yuthachai
Bunterngchit3
1,2,3Department of
Industrial Engineering, King Mongkut’s Institute of Technology
North Bangkok, Bangsue, Bangkok 10800
E-mail: tanapon_bp@yahoo.com *
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดระดับอาการปวดหลังอัน เนื่องมาจากการทำงานของพนักงานโรงงานผลิตภัณฑ์
พลาสติกตัวอย่าง
ผลการวิจัย
:
จากการสำรวจสุขภาพพนักงานหญิง ส่วนล่าง 60 คน พบว่าพนักงานในหน่วยงานเครื่องเป่า
ขึ้นรูปพลาสติกมีอาการปวดหลังมากที่สุดถึงร้อยละ 72.7 และมีค่าดัชนีความไม่ปกติ
(AI) สูงที่สุดคือมีค่าเฉลี่ย 4.0(±0.2) โดยการคำนวณจากอาสาสมัคร
5 คน จึง จำเป็นต้องลดอาการปวดหลังของพนักงานที่สถานีงาน เครื่องเป่าขึ้นรูปพลาสติก
จากการศึกษารายละเอียดการ
ทำงานของผู้ถูกทดลองและประเมินค่าคะแนนท่าทางการ ทำงานหรือ RULA ได้ค่าเฉลี่ย 6.4(±0.6) และจากการวัด ค่า EMG
ที่กล้ามเนื้อหลัง 4 จุด ได้แก่
Infraspinatus ด้านซ้ายและขวา Erector spinae ด้านซ้ายและขวามีค่า
47.2(±4.6)%, 55.5(±5.3)%, 39.8(±1.8)% และ 47.6(±4.1)% ของ MVE ตามลำดับ จึงปรับปรุงสถานีงาน โดยออกแบบและสร้างสถานีงานใหม่
และให้ทดลองใช้ 8 สัปดาห์ แล้ววัดค่าตัวแปรต่างๆหลังปรับปรุงสถานีงาน
พบว่าผู้ถูกทดลองมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความไม่ปกติ 1.1(±0.1) มีค่าเฉลี่ยคะแนน
RULA 2.2(±0.5) และมี ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ของ EMG ที่กล้ามเนื้อหลังเมื่อ เปรียบเทียบกับค่า MVE เป็น
29.4(±2.5)%, 33.7(±0.9)%, 19.4(±1.1)% และ 22.5(±1.6)% ตามลำดับ
ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่างๆ
ก่อนและหลังปรับปรุงสถานีงาน โดยใช้สถิติ t พบว่า ค่าเฉลี่ยของดัชนีความไม่ปกติ
ค่าเฉลี่ยของคะแนน RULA และค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ของ
EMG ที่กล้ามเนื้อทั้ง 4 จุด เมื่อเปรียบเทียบกับค่า
MVE ลดลงอย่างมี นัยสำคัญ (p<0.05)
คำสำคัญ : อาการปวดหลังส่วนล่าง ดัชนีความผิดปกติ สถานีงาน
Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550