Preliminary Study
for Low Back Pain Reduction in Farmers : A Case Study of
the Paddy Farmers
in 3 Sub-Districts of Ranode Districts, Songkla Province
อดุลย์ โอวสุวรรณกุล
ภาณุเดช แสงสีดำ ยุทธชัย บรรเทิงจิตร *
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สาทร กทม 10120
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*
Adul O-Suwankul Panudech Sangseedam
Yuthachai Bunterngchit*
Rajamangala University of
Technology Krungthep Sathorn, Bangkok 10120
Department of Industrial
Engineering, Faculty of Engineering,
King Mungkut’s University of
Technology North Bangkok, Bangsue, Bangkok 10800
E-mail: ytc@kmitnb.ac.th*
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดระดับอาการปวดหลัง ส่วนล่างของชาวนาใน 3 ตำบลของอำเภอระโนด
จังหวัดสงขลา จากการใช้แบบสัมภาษณ์กับชาวนาชายที่ มีปัญหาการปวดหลัง 10 คน พบว่าค่าดัชนีความไม่ปกติ (AI) สูงสุดมีค่า
3.8 และค่าเฉลี่ยเป็น 2.96(±0.5) จึง สมควรหาวิธีแก้ไขปัญหา
ผลจากการศึกษา : ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนสัญญาณของกล้ามเนื้อที่วัดโดยวิธี มาตรฐานคือ
Erector Spinae (L), Erector Spinae (R), Multifidus (L), และ
Multifidus (R) มีค่าเฉลี่ยเป็น 1.84, 1.86, 1.67 และ1.81 ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ ท่าทางการทำงานมีค่า
RULA เฉลี่ย 7(±0.0) ในขณะยก กระสอบข้าวหนัก
100 กิโลกรัม ได้ค่าแรงกดที่หมอนรอง กระดูก L5/S1 เฉลี่ยสูงสุด 7,243.7(±491.8) N
วิเคราะห์หาสาเหตุของการปวดหลังพบว่ามาจากท่าทางการยกที่ไม่ถูกต้องมีการก้มหลังในการยกจึงได้กำหนดให้
มีการฝึกอบรมวิธีการยกที่ถูกวิธีโดยการย่อเข่าซึ่งมีผลทำให้สัดส่วนของสัญญาณ EMG ที่กล้ามเนื้อดังกล่าวมีค่า 0.91, 1.07, 1.33 และ1.47(μν) ตามลำดับ โดยสัดส่วน ของ 3 ค่าแรกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
(p<0.05) สำหรับค่า RULA เฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
และสำหรับค่าเฉลี่ยของแรง กดที่หมอนรองกระดูก L5/S1 มีค่าลดลงเป็น
5,920.8(±631.9) N หรือลดลงร้อยละ 18.3 และจากการ
ใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ถูกทดลอง 10 คน ได้ค่า AI สูงสุด เป็น 3.3 และค่าเฉลี่ยเป็น 2.5(±0.4) ลดลงร้อยละ 15.2
คำสำคัญ
: กล้ามเนื้อหลัง สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
แรง กดที่หมอนรองกระดูก
Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ
ประจำปี พ.ศ. 2551
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น