วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

Factors Related to Computer Game Addiction among Elementary School Students

ประกายเพชร สุภะเกษ* สุธรรม นันทมงคลชัย** มัณฑนา ดำรงศักดิ์ *
Prakaipetch Supaket* Sutham Nanthamongkolchai** Mantana Damrongsak*
* กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* Department of Community Health Nursing, Faculty of Nursing, Thammasat University.
** Department of Family Health, Faculty of Public Health, Mahidol Unversity

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน256 คน

การเก็บข้อมูล : การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำแนกตามโรงเรียนและระดับชั้น เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบทดสอบการติดเกม ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2554

วิธีวิเคราะห์ : โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยแบบโลจีสติก

ผลการศึกษา :
1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาติดเกมคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 52.7
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ การคล้อยตามกลุ่มเพื่อน สัมพันธภาพในครอบครัว และการเห็นคุณค่าในตนเอง
3. โดยตัวอย่างที่มีการคล้อยตามกลุ่มเพื่อนมากมีโอกาสที่จะติดเกมคอมพิวเตอร์เป็น 2.44 เท่า ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการคล้อยตามกลุ่มเพื่อนน้อย
4. กลุ่มตัวอย่างที่มีสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดีมีโอกาสที่จะติดเกมคอมพิวเตอร์มากขึ้น 0.56 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีสัมพันธภาพในครอบครัวดี
5. กลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ มีโอกาสที่จะติดเกมคอมพิวเตอร์มากขึ้น 0.35 เท่า ของกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูง

ข้อเสนอแนะ : ให้ครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วม สังเกตการเล่นคอมพิวเตอร์ของนักเรียนเพื่อป้องกันการติดเกมคอมพิวเตอร์ มีการติดตามทำความรู้จักกับเพื่อนของนักเรียน เสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองรวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว เพื่อนำไปสู่การดูแลเรื่องการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อไป

คำสำคัญ: การติดเกมคอมพิวเตอร์, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง/การคล้อยตามกลุ่มเพื่อน, สัมพันธภาพในครอบครัว, นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2555)