Prevalence
of Metabolic Syndrome in personnel at Royal Irrigation Hospital, Nonthaburi
Province
สมชาย สุขอารีย์ชัย*
Somchai
Sukareechai*
*แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ประจำโรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของกลุ่มอาการอ้วนลงพุง หรือภาวะ Metabolic
syndrome ในบุคลากรโรงพยาบาลที่มารับการตรวจสุขภาพประจำปี
การเก็บข้อมูล : เก็บข้อมูลในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550
ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 ที่โรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี บุคลากรที่มารับการตรวจสุขภาพประจำปี
จำนวนทั้งสิ้น 719 คน สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ 474
คน คิดเป็นร้อยละ 65.92
วิธีวิเคราะห์ : วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติไค-สแควร์
ผลการศึกษา :
อัตราความชุกของกลุ่มอาการอ้วนลงพุงมีค่าร้อยละ
15.2
เพศหญิง มีอัตราความชุกมากกว่าเพศชายเล็กน้อย (ร้อยละ 15.4 เทียบกับ 14.1)
เมื่อแบ่งบุคลากรโรงพยาบาลเป็นกลุ่มพยาบาลและกลุ่มที่ไม่ใช่พยาบาล
พบว่า กลุ่มที่ไม่ใช่พยาบาล มีอัตราความชุกร้อยละ 17.5 ซึ่งมากกว่ากลุ่มพยาบาลที่มีอัตราความชุกเพียงร้อยละ
9.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระยะ 0.05 ดังนั้น
ข้อเสนอแนะ : ควรเร่งให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการเกิดกลุ่มอาการอ้วนลงพุง
การป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุง ผลเสียที่ตามมาของกลุ่มอาการอ้วนลงพุง
ตลอดจนถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม
เพื่อส่งเสริมและป้องกันการเกิดกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในบุคลากรโรงพยาบาลชลประทานต่อไป
คำสำคัญ : ความชุก, กลุ่มอาการอ้วนลงพุง, บุคลากรโรงพยาบาล
Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์
ประจำเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2553 ปีที่ 40 ฉบับที่ 2