Predictors of Hearing Protection Device Usage Among Workers in
Potato Chips Factory
จันทร์จีรา
ยารวง *, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์**,
ธานี แก้วธรรมานุกูล**
*สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
**คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Janjeera
Yaruang*, Chawapornpan Chanprasit**, Thanee Kaewthummanukul**
*Schook
of Nursing, Naresuan University Phayao
**Faculty
of Nursing Chiang Mai University
วัตถุประสงค์
:
เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้ประโยชน์
การรับรู้อุปสรรคการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง อิทธิพลระหว่างบุคคลและสถานการณ์เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงในคนงานโรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ
กลุ่มตัวอย่าง
: คนงานโรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ แผนกการผลิต จำนวน
347 คน
การเก็บข้อมูล
:
ตามแบบสัมภาษณ์ที่ดัดแปลงมาจากเครื่องมือที่พัฒนาโดย สุริสา
ตันชุมพรและคณะ ตามแนวคิดของลัสค์และคณะ
วิธีวิเคราะห์
:
วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
(Pearson correlation cocfficiency) และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
(Stepwise multiple
regression analysis)
ผลการวิจัย
:
อิทธิพลระหว่างบุคคลเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง
การรับรู้อุปสรรค์ต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง
และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงสามารถร่วมทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงได้ร้อยละ
30.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.1)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า
อิทธิพลระหว่างบุคคล โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้ร่วมงาน หัวหน้างาน บุคลากรทางด้านสุขภาพ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในสถานประกอบการ
ร่วมกับความเชื่อมั่นในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นแรงเสริมสำคัญต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง
ข้อเสนอแนะ
: พยาบาลอาชีวอนามัยและทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรตระหนักในความสำคัญดังกล่าว
เสนอแนะผู้บริหารสถานประกอบการให้เห็นความสำคัญของการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ปลอดภัยเสริมความตระหนักให้เกิดการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงต่อเนื่องในกลุ่มคนทำงาน
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน
คำสำคัญ
:
อาชีวอนามัย อุปกรณ์ป้องกันเสียง
ปัจจัยทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง
Credit : วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2553