An Investigation into Taxi
Drivers’ Musculoskeletal Pain and Work-Related Risk Factors
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.
พรศิริ จงกล
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีปีงบประมาณ
2553
วัตถุประสงค์
:
1) เพื่อสำรวจการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดขึ้นของคนขับรถแท็กซี่
2)
เพื่อบ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงอันเนื่องจากการทำงาน
ขอบเขตการวิจัย
: งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกระดูกของคนขับรถแท็กซี่และปัจจัยเสี่ยงอันเนื่องจากการทำงาน
การเก็บข้อมูลทำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดนครราชสีมา
การเก็บข้อมูล
: โดยการใช้แบบสอบถามและการสังเกต เพื่อเก็บข้อมูลดังนี้คือ
1) ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อายุ
น้ำหนักส่วนสูง การออกกำลังกาย
2)
ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการทำงาน เช่น ระยะเวลาการทำงานและพัก
3)
ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของรถและสภาพการขับขี่ เช่น ความยากง่ายในการปรับเบาะที่นั่ง
ความยากง่ายในการใช้อุปกรณ์ต่างๆภายในรถ สภาพถนนในบริเวณที่ให้บริการผู้โดยสาร
การเกิดอาชญากรรมและอุบัติเหตุ
4)
ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกระดูก
วิธีวิเคราะห์
: การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิตินั้นทำได้โดยการนับความถี่ และวิเคราะห์สหสัมพันธ์
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ขับรถแท็กซี่จำนวนทั้งหมด 363 คน
ผลการวิจัย
:
พบว่าเป็นเพศหญิงจำนวน 12 คน และเป็นเพศชายจำนวน 351 คน โดยมีอายุเฉลี่ย
43.87 ปี ผู้ขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่มาจากภาคอีสาน(ร้อยละ 53.7)
ผู้ขับรถแท็กซี่มีประสบการณ์โดยเฉลี่ย 7.26 ปี
ระยะเวลาเฉลี่ยในการขับรถแต่ละวันเท่ากับ 12.34 ชั่วโมง
ผู้ขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่ช่วยผู้โดยสารยกสัมภาระ 1-2
ครั้งต่อวันและไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการบาดเจ็บผู้ขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่เคยเจ็บปวดบริเวณหลังส่วนล่างและคอ
มีร้อยละ 7.4 ที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ในขณะที่อีกร้อยละ 12.7
เคยไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
การวิเคราะห์สหสัมพันธ์
พบว่าความเจ็บปวดบริเวณหลังส่วนล่างมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการขับรถแต่ละวันอย่างมีนัยสำคัญความเจ็บปวดบริเวณเข่าและข้อเท้ามีความสัมพันธ์กับความถี่ในการช่วยยกสัมภาระของผู้โดยสารในแต่ละวันอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้นการลดระยะเวลาการขับรถในแต่ละวันและการลดความถี่ในการยกสัมภาระของผู้โดยสารอาจช่วยลดความเจ็บปวดบริเวณหลังส่วนล่าง
เข่า และข้อเท้าได้
ข้อเสนอแนะ :
1. ผู้ขับรถแท็กซี่ควรจัดช่วงเวลาหยุดพักเพื่อทำธุระส่วนตัว เช่น เข้าห้องน้ำ
ทานอาหาร เพื่อให้ระบบขับถ่ายและย่อยอาหารเป็นไปอย่างปกติ
2. ผู้ขับรถแท็กซี่ควรเปลี่ยนอิริยาบถในการนั่งขับรถ เพื่อลดการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกระดูก
เช่น การขยับขาและแขน การหมุนคอเบาๆ
3. ผู้ขับรถแท็กซี่ควรปรับเบาะและพนักพิงหลังให้เหมาะสม
หากระยะระหว่างลำตัวกับพวงมาลัยมากไปจะทำให้ผู้ขับรถต้องเหยียดแขนและมีโอกาสที่จะปวดไหล่ได้
4. ในการยกสัมภาระของผู้โดยสาร ผู้ขับรถแท็กซี่จะต้องระมัดระวัง
โดยการย่อเข่าลงและให้หลังตรงทั้งตอนยกและวางสัมภาระ
5. ผู้ขับรถแท็กซี่ควรออกกำลังกายบริหารเป็นประจำเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย