วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การปวดหลังจากการทำงาน : เครื่องมือประเมินของ NIOSH เพื่อการป้องกัน

Occupational back pain: NIOSH assessment tool for prevention

ศักดิ์สิทธิ์ กุลวงษ์
คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
Saksith Kulwong
Faculty of Public Health, Burapha University

วัตถุประสงค์ : เพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับลักษณะปัญหา สาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศึกษาถึงการนำวิธีมาตรฐานของ NIOSH มาใช้ประเมินความเสี่ยงเพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดโรคปวดหลังจากการทำงานในการยกและเคลื่อนย้ายวัตถุ

วิธีประเมิน : วิธีการประเมินตามมาตรฐานของ NIOSH  
1.เริ่มตั้งแต่การเลือกงานที่จะนำมาทำการวิเคราะห์
2. เก็บรวบรวมข้อมูลค่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องกทั้งหมดที่จะเป็นตัวกำหนดค่าขีดจำกัดของน้ำหนักที่ยอมให้ยกได้ (Recommended Weight Limit: RWL) ตามสภาพงานนั้นๆ
3. ค่า RWL จะถูกนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าน้ำหนักจริงที่ผู้ปฏิบัติงานต้องยกและเคลื่อนย้ายในรูปของค่าดัชนีการยก (Lifting Index: LI)
4. นำผลการวิเคราะห์มาพิจารณาเพื่อคาดประมาณระดับความเสี่ยงและพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขทางการยศาสตร์ต่อไปในกรณีที่ผลการประเมินอยู่ในระดับที่เกินค่าแนะนำ (LI>1.0)

ข้อจำกัด : สมการนี้ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ได้แก่ งานที่ทำการยกด้วยมือข้างเดียว งานยกที่มีระยะเวลาทำงานเกินกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน งานยกในท่านั่งหรือคุกเข่ารวมทั้งในสถานที่แคบ งานยกสิ่งของที่ไม่มั่นคง งานยกในลักษณะที่มีการดึงหรือลาก งานยกที่ใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหวสูง งานยกที่มีลักษณะของการที่เท้าต้องทำงานบนพื้นไม่เหมาะสมหรือไม่ราบเรียบ รวมทั้งการยกในบริเวณที่มีสภาพอุณหภูมิและความชื้นที่ไม่เหมาะสม

คำสำคัญ : อาชีวอนามัย การประเมินความเสี่ยง การปวดหลัง การยศาสตร์ สมการการยก

Credit : วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา  ปีที่ ฉบับที่ กรกฎาคม-ธันวาคม 2551