Occupational
Health Hazards and Health Status Related to Risk among Aging Workers in the
Seafood Canning Industry
เสาวลักษณ์
แก้วมณี*, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์**,
ธานี แก้วธรรมานุกูล**
*กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลสงขลา
**คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Saowalak
Kaewmanee*, Chawapornpan Chanprasit**, Thanee Kaewthummanukul**
*Occupational
Medicine, Songkhla hospital
**Faculty
of Nursing Chiang Mai University
วัตถุประสงค์
:
เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานสูงอายุในอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง
จังหวัดสงขลา
กลุ่มตัวอย่าง
:
แรงงานสูงอายุในอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง จังหวัดสงขลาจำนวน 285
ราย
การเก็บข้อมูล
:
โดยใช้แบบสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตท่าทางการทำงาน
วิธีวิเคราะห์
:
โดยใช้ใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา
:
ปัจจัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง คือ
ด้านการยศาสตร์และด้านจิตสังคมส่วนการสังเกตท่าทางการทำงานพบว่า
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.33 มีท่าทางการทำงานที่จำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงสำหรับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงในด้านความเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการทำงานที่พบบ่อย
คือ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ/ไหล่/แขน (ร้อยละ 57.89) และปวดหลัง/เอว
(ร้อยละ 47.02) การบาดเจ็บในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
พบเพียงร้อยละ 5.96
ส่วนแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพที่ต้องปรับแก้ไข
คือ พฤติกรรมการพักผ่อน/การจัดการความเครียด
ข้อเสนอแนะ
:
ทีมอาชีวอนามัยควรตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนเสริมสร้างความตระหนักและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านความเสี่ยง
ตลอดจนพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำงานในแรงงานสูงอายุ
คำสำคัญ
:
ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง
แรงงานสูงอายุ
Credit : วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2554