วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เก้าอี้การยศาสตร์

Ergonomic Chair

นงค์นุช กลิ่นพิกุล
Nongnuch Klinpikul
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Lecture, Program in Industrail Product Design, Faculty of Scince and Technology, Rajamunagala Krungthep University
Corresponing author E-mail: nongnuch.k@rmutk.ac.th

วัตถุประสงค์ : ศึกษาแนวโน้มการออกแบบเก้าอี้ที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคโดยพิจารณาสุขภาพความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงาน

เนื้อหา :
1) ความรู้ทั่วไปและประโยชน์ของเก้าอี้การยศาสตร์
2) สาเหตุที่ต้องมีการออกแบบเก้าอี้การยศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคคือการนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้องหรือนั่งโค้งงอเป็นเวลานานๆโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถซึ่งจะนำไปสู่อาการปวดหลังไหล่และคอการปวดหลังเกิดจากการที่กระดูกสันหลังเกิดการกดทับเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดแรงดันภายในกระดูกสันหลังเมื่อเจลระหว่างข้อต่อถูกกดทับเวลานานๆ ก็จะนำไปสู่การเสื่อมของกระดูกสันหลังตามมา
3) การออกแบบและพัฒนาที่มุ่งเน้นในเรื่องของการตอบสนองความต้องการและ ปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้บริโภคในเรื่องสุขภาพความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงานโดยการออกแบบเก้าอี้การยศาสตร์ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้ให้มีความสะดวกสบายในการใช้งานซึ่งในการออกแบบผลิตภัณฑ์ควรแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยนำหลักการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการออกแบบและผลิต

คำสำคัญ : การออกแบบและพัฒนา, เก้าอี้การยศาสตร์, การปวดหลัง

Credit : วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2555 – มีนาคม 2556