วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย

A Study of Anthropometry of Male and Female Elementary School Students in the South of Thailand

สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์1* พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์2
1,2สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
อ.เมือง จ.สงขลา 90000
E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*
Surasit Rawangwong1* Panyos Worachetwarawat2
1,2Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology
Srivijaya, Muang, Songkhla 90000

E-mail: sitnong2@yahoo.co.th*

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 36 สัดส่วน

วิธีการ : ใช้เครื่องมือวัด 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 ได้จัดสร้างขึ้นคือ เครื่องมือวัดความสูง
แบบที่ 2 คือเครื่องมือวัดคาลิปเปอร์

กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนชายและหญิง ช่วงอายุ 7-12 ปี จำนวน 700 คน เป็นนักเรียนชาย 350 คน และหญิง 350 คน

ผลการศึกษา : นักเรียนชายมีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่านักเรียนหญิงเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้น ความสูงขณะยืน ความสูงระดับสายตาขณะยืน ความสูงระดับไหล่ขณะยืน ความสูงระดับสะโพก ความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวจากก้นถึงหัวเข่า ความยาวจากก้นถึงข้อพับเข่า ความสูงของเข่าขณะนั่ง ความกว้างของสะโพก ความหนาของหน้าอก ระยะจากไหล่ถึงข้อศอก ระยะจากต้นแขนถึงปลายนิ้ว ระยะจากไหล่ถึงจุดศูนย์กลางมือขณะกำ ระยะกางแขน ระยะกางศอก ระยะเอื้อมแขนขึ้นเหนือศีรษะในท่านั่ง และระยะเอื้อมแขนด้านหน้า ที่นักเรียนชายจะมีขนาดต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
การเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายและหญิง ที่ได้จากงานวิจัยนี้กับงานวิจัยใน
ต่างประเทศ ดังนี้
1)      เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศเม็กซิโกจำนวน 21 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนชายของประเทศเม็กซิโก เกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความสูงระดับนิ้วมือ ความกว้างของสะโพก ความยาวของศีรษะ ความกว้างของศีรษะ และความยาวของเท้า ที่งานวิจัยนี้จะมีขนาดต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05)
2)      เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนหญิงที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศเม็กซิโกจำนวน 21 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนหญิงของประเทศเม็กซิโก เกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความสูงระดับนิ้วมือ ความยาวของศีรษะ ความกว้างของศีรษะ ความกว้างของสะโพก ความกว้างของมือ ความกว้างของเท้า และความยาวของเท้า ที่งานวิจัยนี้จะมีขนาดต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
3)      เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชายที่ได้จากงานวิจัยนี้กับของประเทศอิหร่าน จำนวน 14 สัดส่วน สรุปได้ว่า งานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของนักเรียนชายของประเทศอิหร่านเกือบทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ยกเว้นความลึกของอก
4)      เปรียบเทียบขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนหญิงจากงานวิจัยนี้กับนักเรียนหญิงของประเทศอิหร่าน จำนวน 14 สัดส่วน สรุปได้ว่างานวิจัยนี้มีขนาดสัดส่วนร่างกายที่โตกว่าข้อมูลของเด็กนักเรียนหญิงของประเทศอิหร่านทุกสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

คำสำคัญ : การยศาสตร์ ขนาดสัดส่วนร่างกาย นักเรียนชายและหญิง

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2551 20-22 ตุลาคม 2551