The prevalence of musculoskeletal disorders in the textile
occupation in Khon Kaen province
เพชรรัตน์ แก้วดวงดี1, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล2*, ยอดชาย
บุญประกอบ2,
สาวิตรี วันเพ็ญ2, วัณทนา ศิริธราธิวัตร2
1หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2กลุ่มวิจัยปวดหลัง ปวดคอ และปวดข้ออื่นๆ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
* ผู้รับผิดชอบบทความ
Petcharat Keawduangdee1, Rungthip Puntumetakul 2*,
Yodchai Boonprakob 2,
Sawitri Wanpen 2, Wantana Siritaratiwat2
1Physical Therapy Program, Graduate
School, Khon Kaen University
2Back, Neck and Other Joint Pain Research
Group, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในผู้ที่ประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ในจังหวัดขอนแก่น
กลุ่มตัวอย่าง : อาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้เป็นคนงานจากทุกแผนกในโรงงานอุตสาหกรรมแหอวน
จำนวน 323 คน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
:
แบบสอบถาม Standard Nordic Questionnaire ฉบับภาษาไทย
การวิเคราะห์ข้อมูล
:
วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และมัธยฐาน สำหรับข้อมูลต่อเนื่อง
และความถี่ ร้อยละ สำหรับข้อมูลแจงนับ โดยใช้โปรแกรม STATA 10.0 ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา
:
ความชุกของความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
3 อันดับแรกในรอบ 7 วัน คือ ข้อไหล่ ร้อยละ 39.7
(95 % CI: 34.3 – 45.1) หลังส่วนล่างร้อยละ 36.3 (95 % CI:
30.9 – 41.6) และข้อมือ/มือ ร้อยละ 33.1 (95 % CI: 27.9 –
38.3) ตามลำดับ
ความชุกของความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
3 อันดับแรก ในรอบ 12 เดือน คือ ข้อไหล่ ร้อยละ 49.8
(95 % CI: 44.3 – 55.3) หลังส่วนล่าง ร้อยละ 46.6 (95 % CI:
41.1 – 52.2) และคอ ร้อยละ 42.6 (95 % CI: 37.0 – 48.1) ตามลำดับ
ความผิดปกติที่ทำให้ต้องหยุดงาน 3 อันดับแรกคือ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 27.5 (95 % CI: 22.5 – 32.5) ข้อสะโพก/ต้นขา ร้อยละ 21.45 ( 95 % CI: 16.9 – 26.0) และข้อไหล่ ร้อยละ 21.4 (95 % CI: 16.8 – 26.0) ตามลำดับ
ผลการศึกษาแสดงว่า
อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นความผิดปกติที่พบได้มากที่สุดในคนงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ
และอาจส่งผลให้เกิดการหยุดงานได้ในลำดับต่อมา
ข้อจำกัด
:
ไม่ได้ทำการสุ่มตัวอย่างของประชากรในการศึกษา
นอกจากนี้ในการศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงความชุกของความผิดปกติของทุกข้อต่อในร่างกายและเป็นการศึกษานำร่องซึ่งอาจจะยังไม่ครอบคลุมถึงอาสาสมัครส่วนใหญ่ในโรงงาน
เนื่องจากอาสาสมัครในการศึกษานี้มีอาสาสมัครเป็นจำนวน 323 คน
ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 33.13 ของคนงานทั้งหมด
การศึกษาครั้งต่อไปจึงควรศึกษาถึงความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างรวมถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ
เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ : ความชุก, ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ, อุตสาหกรรมสิ่งทอ
Credit : วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553