วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การประเมินการออกแบบภายในรถพยาบาลฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเครือข่ายโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่ง

An Assessment of Ambulance Interior Design for Safety Work in a Provincial Hospital Network

พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล* สิริกุล พิพิธแสงจันทร์**
ดุสิต สุจิรารัตน์*** พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์****
Pipat Luksamijarulkul* Sirikun Pipitsangjan**
Dusit Sujirarat*** Pisit Vatanasomboon****
* ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
** โรงพยาบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
*** ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
**** ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* Department of Microbiology, Faculty of Public Health, Mahidol University .
** Surin Hospital, Amphoe Maeng, Surin Province .
*** Department of Epidemiology, Faculty of Public Health, Mahidol University

**** Department of Environmental Health Science, Faculty of Public Health, Mahidol University

วัตถุประสงค์ : ประเมินความเหมาะสมของการออกแบบภายในรถและความพร้อมของอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน

วิธีการ : 
  1. ประเมินความเหมาะสมของการออกแบบภายในรถและความพร้อมของอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน จำนวน 47 คัน ของโรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่งและโรงพยาบาลเครือข่าย 
  2. สัมภาษณ์บุคลากรที่ปฏิบัติงานจำนวน 35 คน ถึงความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการออกแบบภายในรถ 
  3. ติดตามสังเกตในขณะที่มีการปฏิบัติการจริงจำนวน 30 คันๆ ละ 1 เที่ยวรอบวิ่ง

 ผลการศึกษา :
ร้อยละ 74.5 เป็นรถพยาบาลฉุกเฉินรุ่นใหม่ มีส่วนกั้นแยกช่วงหน้าห้องคนขับรถออกจากช่วงหลังซึ่งจัดเป็นห้องพยาบาลรวมทั้งช่องหน้าต่างที่เปิดเลื่อนได้เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ร้อยละ 83 มีระบบระบายอากาศไฟฟ้า
ร้อยละ 93.6 มีตู้เก็บอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่มิดชิด
ร้อยละ 97.9 มีเตียงผู้ป่วยแบบมีล้อเลื่อน
ร้อยละ 91.5 มีเวชภัณฑ์ยาอย่างพอเพียงแต่มากกว่า
ร้อยละ 50 ยังขาดอุปกรณ์กู้ภัยฉุกเฉินประจำในรถ
-เมื่อพิจารณาถึงอุปกรณ์มาตรฐานเพื่อการป้องกันการติดเชื้อและการบาดเจ็บในขณะปฏิบัติงาน พบว่า ร้อยละ 25.5 มีอุปกรณ์ป้องกันตา ร้อยละ 53.2 มีอุปกรณ์สำหรับรัดเพื่อความปลอดภัยขณะรถวิ่งหรือหยุดกะทันหัน
-ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรที่ปฏิบัติงาน พบว่า ร้อยละ 80 มีความเห็นด้วยกับการมีส่วนกั้นแยกระหว่างส่วนคนขับกับส่วนผู้ป่วย ร้อยละ 91.4 มีความเห็นว่าในส่วนผู้ป่วยควรสามารถรองรับผู้ป่วยและบุคลากรได้อย่างน้อย 3 คน เป็นต้น
-ข้อมูลจากการสังเกตขณะปฏิบัติงาน พบว่า รถพยาบาลฉุกเฉินเกือบทุกคัน (27/30 คัน) ภาชนะใส่ของมีคมและถังขยะติดเชื้อไม่มีการติดตั้งที่มั่นคง อาจทำให้เกิดอันตรายได้รถทุกคันผู้ปฏิบัติงานไม่มีการเปิดระบบระบายอากาศและไม่ได้ปรับอุณหภูมิภายในรถตามเกณฑ์

ข้อเสนอแนะ : ควรมีการปรับปรุงการออกแบบภายในรถพยาบาลฉุกเฉินให้มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานนอกจากนี้ต้องมีการดูแลและการเตรียมความพร้อมการใช้รถเพื่อความปลอดภัยและการลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานด้วย

คำสำคัญ: รถพยาบาลฉุกเฉิน, การออกแบบภายในรถ, ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน, การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2554; 41(3): 209 – 218