Psychosocial Work
Environment Factors Relating to Psychological Health Problems and Job
Satisfaction of Thai Workers in large-sized Garment Factories
อาภรณ์ทิพย์
บัวเพ็ชร์ * สุรินธร กลัมพากร** สุนีย์ ละกำปั่น**
Aporntip Buapetch*
Surintorn Kalampakorn** Sunee Lagampan**
* ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
** ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* Department of
Public Health Nursing, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University (Hat
Yai Campus)
** Department of
Public Health Nursing, Faculty of Public Health, Mahidol University
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตและความพึงพอใจในงาน
โดยใช้กรอบแนวคิดการทุ่มเทในการทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล
กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานที่ทำงานเต็มเวลา โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 417
คน จากโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่ 3 แห่ง
ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครสมุทรปราการ และสมุทรสาคร
การเก็บข้อมูล : โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง
ผลการวิจัย :
1) กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดทางจิตใจจนเกิดอาการเจ็บป่วยทางกาย
ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับเสี่ยงและระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 24.9,
23.7, และ 18.2 ตามลำดับ และมีความพึงพอใจในงานในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ
39.0
2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ
พบว่า
ผลตอบแทนจากงานเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดปัญหาสุขภาพจิตทั้งหมด
และความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ในขณะที่ปัจจัยด้านจิตสังคมในการทำงานทุกตัวแปร (การทุ่มเทในการทำงาน
ผลตอบแทนจากงาน และความมุ่งมั่นที่มากเกินไปต่องานที่รับผิดชอบ)
สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการเกิดภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะ : บุคลากรที่ร่วมรับผิดชอบดูแลสุขภาพของพนักงานควรตระหนักและคำนึงถึงการจัดให้พนักงานได้รับผลตอบแทนจากการทำงานในรูปแบบต่างๆ
โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ
คำสำคัญ:
ปัญหาสุขภาพจิต , ความพึงพอใจในงาน,แนวคิดการทุ่มเทในการทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล
Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2555)