วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานโดยมาตรฐาน RULA ในแรงงานนอกระบบ กลุ่มรายงานทำไม้กวาดร่มสุข

Ergonomic Risk Assessment by RULA among Informal Sector Workers of Rom Suk Broom Weaving
สุนิสา ชายเกลี้ยง1, ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ2
1ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2งานกิจกรรมบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี
Sunisa Chaiklieng1, Thanyawat Homsombat2
1Department of Environmental Health Sciences, Faculty of Public Health, Khon Kean University
2Occupational Therapy Unit, Rehabilitation Department, Udon Thani Hospital


วัตถุประสงค์ : คนงานต้องทำงานบางประเภทนั่งทำงานติดต่อกันนาน 8 ชั่วโมงต่อวัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์การทำงานต่อความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังและรยางค์ส่วนบนในกลุ่มรายงานทำไม้กวาด

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และการประเมินความเสี่ยงตามมาตรฐาน RULA ในกลุ่มทำไม้กวาดร่มสุขจำนวน 80 รายจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ความถี่ และสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์โดยใช้ Chi- square และ Fisher’s-exact test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

ผลการศึกษา :
                          1. อัตราความชุกของความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังและรยางค์ส่วนบนช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีร้อยละ 83.7  อาการปวดคือปวดเมื่อยธรรมดา ร้อยละ 90.0 สาเหตุมาจากนั่งในท่าเดียวนานๆ ร้อยละ 92.5 การทำงานมีระดับหน้างานที่ต่ำกว่าระดับข้อศอกร้อยละ 51.2
                          2. ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ พบว่าพนักงานมีท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงในระดับ 2 และระดับ 3 เท่ากันคือ ร้อยละ 41.2 รองลงมาคือความเสี่ยงในระดับ 4 ร้อยละ 17.5 โดยพบว่าท่าทางการยกแขนส่วนบนและแขนส่วนล่าง การยกสูงของมือและข้อมือ การเบี่ยงข้อมือ การใช้แรงแบบสถิต การเคลื่อนไหวซ้ำๆ และการโน้มลำตัวไปด้านหน้า มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังและรยางค์ส่วนบนของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

ข้อเสนอแนะ :
                        1. ควรนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการแนะนำหรือให้ความรู้สำหรับ พนักงาน เจ้าของสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับการยศาสตร์การทำงาน และสถานีงานที่เหมาะสมกับสรีระของแต่ละบุคคล และควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น การปรับระดับหน้างานเพื่อหลีกเลี่ยงท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้รายงานลดความเสี่ยงจากการมีท่าการทำงานที่ไม่เหมาะสมตามหลักวิชาการ
                      2. ควรมีการศึกษาในขนาดตัวอย่างจำนวนมากกว่า จะมีประโยชน์มากขึ้นเพื่อการอ้างอิงกลุ่มแรงงานนอกระบบและศึกษาแบบการติดตามผลในระยะยาว (prospective cohort study) อย่างต่อเนื่องในกลุ่มแรงงานที่มีการทำงานในลักษณะคล้ายๆ กันเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง

คำสำคัญ : การยศาสตร์ RULA ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ

Credit : วารสารศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1)