วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาผลกระทบจากการทำงานของคนงานตัดหญ้า

A Study of Work Strain of Lawn Mowing Operators

นพฉัตร วิริยานุกูล, ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.พรศิริ จงกล
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา 3000
E-mail : pornsiri@sut.ac.th
Noppachat Wiriyanukul, Asst.Prof.Dr.Pornsiri Jongkol
School of Industrial Engineering, Institute of Engineering, Suranaree University of
Technology, Nakhon Ratchasima 3000
E-mail: pornsiri@sut.ac.th

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการตอบสนองภาระของคนงานตัดหญ้าในทางสรีรวิทยา และศึกษาความเจ็บปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายของคนงานตัดหญ้าที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน

กลุ่มตัวอย่าง : ในงานวิจัยนี้มีผู้ถูกทดสอบเป็นเพศชายจำนวน 16 คน ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานตัดหญ้าเฉลี่ย 2 ปี

เครื่องมือที่ใช้ : 1) เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate Monitor) 2) เครื่องอิเล็คโตรไมโอแกรม (Electromyogram, EMG) และ 3) แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตัดหญ้า และระดับความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายที่เกิดขึ้นจากการทำงานตัดหญ้า

ผลการศึกษา :
·       ค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจในขณะพักเท่ากับ 72 ครั้งต่อนาที
·       ค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจในขณะปฏิบัติงานเท่ากับ 111 ครั้งต่อนาที
·       ภาระงานเฉลี่ยของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง (อิเร็คเตอร์สไปนี) เท่ากับ 15.6% ของค่าการหดตัวสูงสุด (Maximum Voluntary Contraction,%MVC)
·       ภาระงานเฉลี่ยของกล้ามเนื้อหลังส่วนบน (ทราพีเชียส) เท่ากับ 28.4%MVC
·       ผลจากการสำรวจ พบว่า คนงานมีอาการเจ็บที่บริเวณหลังส่วนล่างมากที่สุด และรองลงมาคือเจ็บที่บริเวณหลังส่วนบน ผลที่ได้จะนำไปใช้ในการปรับปรุงวิธีการทำงานต่อไป

คำสำคัญ : อัตราการเต้นของหัวใจ อิเลคโตรไมโอแกรม กล้ามเนื้อหลัง

Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24 – 26 ตุลาคม 2550