วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การวัดสัดส่วนร่างกายเบื้องต้นของนักเรียนหญิงไทยระดับประถมศึกษา


วัตถุประสงค์ : เพื่อวัดขนาดร่างกายเด็กนักเรียนหญิงไทยระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในช่วงอายุ 7-13 ปี

กลุ่มตัวอย่าง : สุ่มวัดเด็กนักเรียนจำนวน 240 ใน 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในแต่ละภาคได้ทำการวัดเด็กนักเรียน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนที่อยู่ในเมืองและโรงเรียนที่อยู่นอกเมือง โรงเรียนละ 30 คน

วิธีวิเคราะห์ : สัดส่วนที่ทำการวัดทั้งหมด 37 สัดส่วน ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 5 และ 95

ผลการศึกษา :
เด็กนักเรียนหญิงช่วงอายุ 7-13 ปี มีความสูงเฉลี่ย คือ 120.8(±3.56), 125.6(±3.97), 131.7(±4.14), 139.7(±2.54), 143.8(±2.89), 148(±2.46) และ 151.4(±3.82) ซ.ม. ตามลำดับ นักเรียนในแต่ละระดับอายุมีความแตกต่างกันของทุกสัดส่วนร่างกายอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
เมื่อวิเคราะห์ขนาดของเด็กนักเรียนหญิงในแต่ละภาค พบว่า มีสัดส่วน 5 สัดส่วนที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) คือ ความสูงจากพื้นถึงปลายนิ้วกลาง ความหนาของท้อง ความกว้างศีรษะ ระยะกางศอกและความยาวของมือ
การวิเคราะห์ความแตกต่างของขนาดของเด็กนักเรียนในโรงเรียนนอกเมืองและในเมืองพบว่า มีสัดส่วน 21 สัดส่วน ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เช่น ความสูงขณะยืนและความสูงขณะนั่ง เป็นต้น
เมื่อเปรียบเทียบขนาดร่างกายของเด็กนักเรียนหญิงไทยกับเด็กนักเรียนหญิงเม็กซิโกจำนวน 21 สัดส่วน พบว่า ขนาดของเด็กนักเรียนหญิงไทยมีแนวโน้มของร่างกายที่เล็กกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในทุกสัดส่วน ยกเว้น ความสูงขณะยืน ความสูงขณะนั่ง ความยาวจากก้นถึงข้อพับเข่าและความยาวเท้า
เมื่อเปรียบเทียบขนาดร่างกายของเด็กนักเรียนหญิงไทยกับเด็กนักเรียนอิหร่านจำนวน 14 สัดส่วน พบว่า ขนาดของเด็กนักเรียนหญิงไทยมีแนวโน้มของร่างกายที่โตกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในทุกสัดส่วน ยกเว้น ความหนาของหน้าอก

Credit : นางสาววิลาส เชาวรักษ์,วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2546